น้ำเกลือ คืออะไร ?

น้ำเกลือ คืออะไร ?


หลายคนสงสัยว่า น้ำเกลือ คือ อะไร ใช่น้ำผสมกับเกลือหรือไม่ 

จริงๆ แล้วน้ำเกลือนั้นมีองค์ประกอบเกลือแร่ต่างๆ เช่น โซเดียม คลอไรด์ ไบคาร์บอนเนต ฟอสเฟตบางชนิดจะมี โพแตสเซียม น้ำตาล ในปริมาณสัดส่วนต่างๆกัน ขึ้นกับชนิดของน้ำเกลือ โดยที่น้ำเกลือมีหลายชนิดแต่ละชนิดก็ความเข้มข้นต่างกัน

ชนิดของน้ำเกลือ ที่ใช้บ่อยได้แก่

1. นอร์มัลซาไลน์ (Normal saline solution/NSS)

หมายถึง น้ำเกลือเกลือธรรมดาที่มีความเข็มข้น 0.9% ซึ่งเท่ากับกับความเข้มข้นของเกลือในกระแสเลือดของ

คนปกติ มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

2. 5% เดกซ์โทรส ( 5% Dextrose in water หรือ 5%D/W) หมายถึงน้ำตาลเดกซ์โทรสที่มีความเข้นข้น

5% ไม่มีเกลือแร่ผสม มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

3. 5% เดกซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in NSS หรือ 5% D/NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรส

เข้มข้น 5% ผสมกับน้ำเกลือธรรมดา

4. 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น

5 % ผสมกับน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.3% (เข้มข้นเพียง 1/3 ของน้ำเกลือธรรมดา) มีอย่างขนาด 500 มล.

และ 1,000 มล.

ข้อบ่งใช้น้ำเกลือจะให้ในผู้ป่วยที่มีอาการ ดังนี้

1. ขาดน้ำ (Dehydration) เนื่องจากท้องเดิน, อาเจียนรุนแรง (เช่น กระเพาะลำไส้อุดตัน ก้อนในสมอง), หอบ

(เช่น หืด ปอดอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ) ควรให้น้ำเกลือที่มี NSS ผสม เช่น NSS, 5%D/NSS, 5% D

in 1/3 NSS

2. ช็อก (Shock) เนื่องจากเสียเลือด เสียน้ำ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ ควรให้น้ำเกลือที่มี NSS ผสมเช่นเดียวกับข้อ 1

3. หมดสติ หรือกินข้าวและน้ำไม่ได้นาน ๆ ควรให้น้ำเกลือที่มีเดกซ์โทรสผสมกับน้ำเกลือ เช่น 5%D/NSS, 5%

D in 1/3 NSS

4. น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เนื่องจากอดอาหารนาน ๆ, ดื่มเหล้าจัด, ใช้ยารักษาเบาหวานเกินขนาด

ควรให้น้ำเกลือที่มีเดกซ์โทรสผสม เช่น 5%D/W, 5% D/NSS, 5% D in 1/3 NSS

5. ผู้ป่วยที่อดอาหารและน้ำก่อนและหลังผ่าตัด ควรให้น้ำเกลือที่มีเดกซ์โทรสผสมกับน้ำเกลือเช่นเดียวกับข้อ 3

6. ผู้ป่วยที่ต้องฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ วันละหลาย ๆ ครั้ง เลือกให้น้ำเกลือชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ โดยให้ช้า ๆ

เพียงเพื่อให้มีสายน้ำเกลือคากับหลอดเลือดดำ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการฉีดยา

ผลข้างเคียง

1. ถ้าเครื่องใช้และน้ำยาไม่สะอาด หรือเทคนิคการให้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้

2. ถ้ามีฟองอากาศ เพราะไล่อากาศจากสายน้ำเกลือไม่หมด ฟองอากาศจะเข้าไปในหลอดเลือดดำ และเข้าสู่หัวใจ

อาจเป็นอันตรายได้

3. มีอาการไข้และหนาวสั่น จากการแพ้น้ำเกลือ

4. ถ้าใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าความเข้มข้นของเกลือในเลือด อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ โดย

เฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก

5. ถ้าให้น้ำเกลือมากหรือเร็วเกินไป อาจทำให้บวม มีน้ำคั่งในปอด หรือหัวใจวายถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน

เด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตอยู่ก่อน

ข้อควรระวัง

1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคไตวาย หรือมีอาการบวมทั่วตัว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรหลีกเลี่ยงการใช้

น้ำเกลือที่มีความเข้นข้นของเกลือมาก เพราะอาจทำให้หัวใจวาย หรือเกิดภาวะน้ำคั่งในปอด หรือปอดบวมน้ำ

(pulmonary edema) ได้

2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของเกลือมาก (เช่น NSS,

5%D/NSS) ยกเว้นในรายที่มีภาวะขาดเกลือร่วมด้วย

3. ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กไม่ควรใช้น้ำเกลือที่มี NSS ผสม ควรใช้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นน้อย ได้แก่ น้ำเกลือที่มี

ความเข้มข้น 0.3% เช่น 5% D in 1/3 NSS

4. ควรให้น้ำเกลือเฉพาะในรายที่มีความจำเป็น (มีข้อบ่งใช้) จริง ๆ เท่านั้น น้ำเกลือไม่ใช่ยาบำรุง ยาเพิ่มเลือด

หรือยาเพิ่มแรง และก็ไม่ใช่ยาที่ใช้แทนอาหาร จึงไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ

5. ควรเตรียมเครื่องใช้ให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค และทำตามเทคนิคที่ถูกต้อง

6. ควรให้น้ำเกลือช้า ๆ หรือ น้อย ๆ ไว้ก่อน เมื่อเห็นว่าน้อยไปก็เพิ่มเติมในภายหลังได้ อย่าให้เร็วเกินไป (ยกเว้นใน

กรณีที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง หรือช็อก ควรให้เร็ว ๆ ใน 1-2 ชม.แรก) มิฉะนั้นอาจทำให้บวม น้ำคั่งในปอด

หรือหัวใจวายได้

7. หมั่นตรวจดูผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด (โดยเฉพาะในเด็กเล็ก คนสูงอายุ คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตวาย) ถ้าหากมี

อาการบวม หายใจหอบ และฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) แสดงว่ามีน้ำคั่งในปอด เนื่องจากให้

น้ำเกลือมากเกินไป ต้องหยุดน้ำเกลือ และฉีดยาขับปัสสาวะ เช่น ลาซิกซ์ 1-2 หลอดเข้าหลอดเลือดดำทันที

หากยังหอบอยู่ให้รีบพาไปโรงพยาบาล

8. ถ้ามีอาการหนาวสั่น ระหว่างให้น้ำเกลือ แสดงว่าผู้ป่วยแพ้น้ำเกลือ ให้ถอดเข็มน้ำเกลือออก และฉีดยาแก้แพ้ เช่น

คลอร์เฟนิรามีน 1/2-1 หลอดเข้ากล้ามทันที ถ้าจำเป็นต้องให้น้ำเกลือต่อ ควรเปลี่ยนขวดใหม่

เสริมความเข้าใจ  อาการแสดงว่าให้น้ำเกลือแล้วดีขึ้น

ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำหรือช็อก เมื่อให้น้ำเกลือแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าอาการดีขึ้น

1. มีความรู้สึกตัวดีขึ้น พูดคุยได้ดีขึ้น หน้าตาดูอิ่มขึ้น ผิวหนังเต่งตึงขึ้น หอบน้อยลง และกระสับกระส่ายน้อยลง

2. ความดันเลือดที่เคยตก เริ่มกลับคืนสู่ระดับปกติ

3. ชีพจรที่เคยเต้นเบาและเร็ว กลับเต้นแรงขึ้น และช้าลง

4. มีปัสสาวะออกมากขึ้น โดยให้ผู้ป่วยปัสสาวะลงกระโถน หรือขวด แล้วตวงดู จะพบว่าปัสสาวะออกอย่างน้อย

1 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อชั่วโมง เช่น ผู้ป่วยหนัก 30 กก. ใน 1 ชั่วโมง ควรมีปัสสาวะออกอย่างน้อย 30 มล.

น้ำเกลือไม่ใช่ยาบำรุง ยาเพิ่มเลือด หรือยาเพิ่มแรง ควรใช้เมื่อยามจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์