บำเพ็ญกุศล-เข้าพรรษา

บำเพ็ญกุศล-เข้าพรรษา


บำเพ็ญกุศล-เข้าพรรษา


"พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้ง หลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน"

ข้อความในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวถึงประเทศไทยได้มีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันเข้าพรรษา อยู่ถัดจากวันอาสาฬหบูชา การเข้าพรรษาจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ ตลอด 3 เดือนในฤดูฝน เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริงๆ ช่วงจำพรรษา จะอยู่ในระหว่างฤดูฝน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี

สืบเนื่องจากในพุทธกาลพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จะจาริกไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝน บางครั้งก็ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ในขณะที่พวกนิครนถ์ นักบวช ในศาสนาอื่น และฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยวในฤดูฝน พระพุทธเจ้าได้ทราบถึงความเดือดร้อนของชาวนา จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันและทรงบัญญัติ เรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า...

"อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง อุปะคันตุง" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"

โดยกำหนดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา (ปุริมพรรษา) แต่ถ้าปีใดเป็นอธิกมาส มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ก็ได้ ไปสิ้นสุดเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เรียกว่า วันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา)

การบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ยังมีประเพณีสำคัญอยู่ 2 ประเพณี คือ

- ประเพณีแห่เทียนพรรษา สมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนปัจจุบัน พระสงฆ์จำพรรษาจะต้องทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมต้องอาศัยแสงสว่างจากเทียนที่พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัย ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่เพื่อจะจุดได้ตลอด 3 เดือน ไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ๆ บ้าน เรียกว่า เทียนจำนำพรรษา ในปัจจุบันการแห่เทียนก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป แต่บางแห่งก็จะถวายไฟนีออน หลอดไฟฟ้าแทนก็มี

- ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขา ได้ทูลขอพระบรมพุทธา นุญาตให้พระสงฆ์ได้มีผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้พุทธานุญาตให้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระสงฆ์

สำหรับการทำผ้าอาบน้ำฝน พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าผืนยาว 6 คืบ พระสุคตกว้าง 2 คืบครึ่ง คิดโดยประ มาณของช่างไม้ปัจจุบันยาวรวม 4 ศอก กับ 3 กระเบียด กว้างราว 1 ศอก 1 คืบ กับ 4 นิ้ว กระเบียดเศษ ถ้าทำให้ยาวหรือกว้างเกินประมาณนี้ พระภิกษุใช้สอยต้องอาบัติ ต้องตัดส่วนที่กว้างหรือยาวเกินประมาณนั้นออกเสีย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์