ปวดหลัง...ภัยเงียบของคนทำงาน

  หนุ่มสาววัยทำงานเกือบทุกคน

คงต้องเคยเผชิญกับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่นปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือหลัง ถ้าอาการดังกล่าวสามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน เมื่อพักผ่อน ทายา หรือทานยา อาการปวดดังกล่าว ก็ไม่เป็นปัญหา


แต่ถ้าอาการปวดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

มีการเพิ่มความรุนแรงและความถี่ขึ้นเรื่อยๆ ให้สงสัยได้เลยว่าคุณได้มีอาการ ของ ”โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ Myofascial Pain Syndrome” แล้ว ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา ให้ถูกวิธี จะทำให้มีอาการมากขึ้น จนเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคความดัน โลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เป็นต้น


ปวดหลัง...ภัยเงียบของคนทำงาน


แพทย์อายุรเวท แวร์สมิง แวหมะ แพทย์อายุรเวทประจำศูนย์รักษาไมเกรน และโรคปวดเรื้อรัง Doctor Care ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังว่า

ปัจจุบันมี ประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน ที่ต้องนั่งทำงานและใช้ คอมพิวเตอร์นานๆ โดยสาเหตุที่ทำให้มีการปวดมีอาการเรื้อรัง เกิดจากการหดเกร็ง สะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. ที่เรียกว่า Trigger Point หรือจุดกดเจ็บ จำนวนมาก ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อ พังพืด การเกิด Trigger Point ทำให้กล้ามเนื้อนั้นขาดเลือดและออกซิเจน เข้าไปเลี้ยง จนทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณที่มี Trigger Point โดยการอักเสบ ของ Trigger Point จะส่งอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณจุดรวมของ Trigger Point และบริเวณใกล้เคียง


การรักษาด้วย การทานยา ทายา การนวด หรือการใช้ความร้อน เพียงทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนมีการ คลายตัว แต่ไม่สามารถสลายจุด Trigger Point ได้ ดังนั้นอาการปวดเพียงดีขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้น 2-3 วัน ก็จะกลับมาปวดอีก เนื่องจากยังมีการอักเสบของจุด Trigger Point ภายในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืดยังมีอยู่


อาการที่แสดงออกเด่นชัดของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ

  1. มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยอาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
  2. ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่ สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
  3. บางกรณีมีอาการชา มือและขาร่วมด้วย
  4. บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ
  5. มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่นไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ

  1. ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม
  2. ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ เช่นการใช้คอมพิวเตอร์
  3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ
  4. การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
  5. การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
  6. การขาดดูแลและการบริหารกล้ามเนื้อ

ในปัจจุบัน การรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ MPS สามารถรักษาได ้ โดยวิธีการรักษา ที่เรียกว่า “Trigger Point Therapy” ซึ่งใช้การรักษาเพียงอาทิตย์ละครั้ง ประมาณ 4-6 ครั้ง ก็สามารถทำให้อาการปวดเรื้อรังที่รบกวนอยู่ทุกวันหายได้


ปวดหลัง...ภัยเงียบของคนทำงาน


หลักในการรักษาแบบ Trigger Point Therapy คือ

  1. ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  2. รักษาที่สาเหตุของการปวดแบบเรื้อรัง โดยการสลาย Trigger Point
  3. ป้องกันการกลับมาของ Trigger Point โดยการให้ความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง และการดูแลกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี

การรักษาแบบ Trigger Point Therapy แบ่งการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

  1. การสอบถามประวัติการปวด และตรวจหาจุด Trigger Point ที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด
  2. การทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนเหนือ Trigger Point ที่มีการหดเกร็ง คลายตัวลงเพื่อลดอาการปวด
  3. เมื่อการเกร็งคลายลง แพทย์จะใช้การกดจุด กดไปที่จุด Trigger Point ที่อยู่ในบริเวณที่ปวด เพื่อทำให้เกิดการคลายตัว และเพื่อนำเลือดและออกซิเจน ไปที่จุด Trigger Point เพื่อลดการอักเสบ

หลังการรักษา 4-6 ครั้ง จุด Trigger Point จะคลายตัวลง เป็นกล้ามเนื้อปกติ จนไม่สามารถใช้มือตรวจเจอได้ จะทำให้วัฐจักรการปวดสิ้นสุดลง


อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง กลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยต้องดูแลและบริหาร กล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และมาพบแพทย์อายุรเวทเพื่อตรวจสภาพกล้ามเนื้อ ปีละครั้ง ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

ที่มา: คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ DOCTOR CARE


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์