พฤติกรรมเสี่ยงและวิธีป้องกัน มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายของผู้หญิง!!


ผู้หญิงทุกคนควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับตัวเองในเรื่องของโรคภัย เพราะว่านอกจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังมีมะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ถือว่าเป็นโรคที่มีอัตราเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ในอันดับต้นๆของตระกูลมะเร็งเลยด้วย เพราะเรามักจะไม่ค่อยตรวจเจอมะเร็งรังไข่ในระยะต้น ๆ แต่อาจจะมารู้ตัวอีกทีก็พบว่าเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะท้าย ๆ แล้ว วันนี้เราเลยขอพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักกับพฤติกรรมความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เราเป็นมะเร็งรังไข่ และการป้องกัน

แนวทางการป้องกันมะเร็งรังไข่ที่ได้ผลที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ซึ่งคุณผู้หญิงจะต้องปรับพฤติกรรมและเฝ้าระวังมะเร็งชนิดนี้ในทุกช่วงของชีวิต เริ่มต้นตั้งแต่วัยสาวไปจนถึงช่วงที่เข้าสู่วัยทองเลยทีเดียว

วัยสาว : ปรับพฤติกรรม - ลดความเสี่ยง
เริ่มต้นจากการกินอาหาร คุณสาวๆ ควรกินอาหารสุขภาพที่มีสัดส่วนของผักผลไม้มากขึ้น โดยเฉพาะผักที่มีสารคาร์โรทีนอยด์ เช่น มะเขือเทศ หรือแครอท เพราะสารคาร์โรทีนอยด์มีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งรังไข่รวมถึงอาหารประเภทอื่นๆ เช่น โปรตีนประเภทเนื้อปลาและถั่วเหลือง, อาหารที่มีกากไย ธัญพืชที่มีแคลเซียมและไฟโตเอสโตรเจน (เอสโตรเจนที่ได้จากพืช), ผักผลไม้ที่มีวิตามิน A, C, D, E และน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันจากเมล็ดพืช ก็ช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่ได้เช่นกัน

นอกจากจะกินอาหารเพื่อสุขภาพให้มากขึ้นแล้ว ก็อย่าเผลอปล่อยตัวให้อ้วนเกินไป เพราะผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) มากกว่า 30* จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้นเกือบ2 เท่า (*วิธีคำนวณ คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)2) สิ่งสำคัญอีกอย่าง ควรหลีกเลี่ยงบุหรี่ ทั้งแบบสูบเองและแบบควันบุหรี่มือสอง (การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่เป็นประจำ) เพราะสารพิษในบุหรี่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ส่วนผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนงานนี้รอดตัวค่ะ ยังสามารถดื่มได้ ไม่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็ง แต่ก็ไม่ควรดื่มมากเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพนะคะ



พฤติกรรมเสี่ยงและวิธีป้องกัน มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายของผู้หญิง!!


วัยครอบครัว : วางแผนการมีบุตร
การตั้งครรภ์และการให้นมบุตรเป็นการป้องกันมะเร็งรังไข่ตามธรรมชาติ เพราะช่วงที่อุ้มท้องและให้นม รังไข่จะไม่มีการตกไข่จึงลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งไปโดยปริยาย นอกจากนี้การทำหมันถาวรเมื่อมีบุตรเพียงพอแล้วก็เป็นการคุมกำเนิดที่ช่วยลดความเสี่ยงของของการเป็นมะเร็งรังไข่ได้ถึง 0.4-0.7 เท่าคุณผู้หญิงที่แต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีพร้อมมีบุตร หากเลือกวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่เหมาะสม ก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ได้เช่นกัน อาทิเช่น การกินยาเม็ดคุมกำเนิดจะช่วยป้องกันการตกไข่ เมื่อรังไข่ไม่มีไข่ตกก็จะลดโอกาสการเกิดมะเร็งรังไข่อย่างไรก็ตาม หากไม่ต้องการคุมกำเนิดก็ไม่ควรกินยาคุมกำเนิดเพื่อให้ออกฤทธิ์ป้องกันมะเร็งรังไข่อย่างเดียวเพราะถ้ากินยาคุมกำเนิดติดต่อกันนานเกินกว่า 5 ปี อาจมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบ ซ้ำยังเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ค่ะ

วัยทอง : การใช้ฮอร์โมนทดแทน
สำหรับคุณผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยทอง หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรใช้ฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนเพศเพราะการใช้ฮอร์โมนทดแทน อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ได้ ยกเว้นในรายที่มีข้อบ่งชี้ว่า ได้รับประโยชน์จากการใช้ฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนจริงๆ เช่น ใช้ป้องกันกระดูกหัก, ช่วยให้มีเพศสัมพันธ์ได้ ไม่เกิดปัญหาช่องคลอดแห้งจนส่งผลต่อสัมพันธ์รักและเกิดปัญหาครอบครัวตามมา, หรือช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิต ลดความเครียดหรือภาวะซึมเศร้า ฯลฯ หากเกิดปัญหาเหล่านี้ ฮอร์โมนทดแทนอาจเป็นทางออกที่ดีแต่ก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง ภายใต้การวินิจฉัยของแพทย์ รวมถึงคุณผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพทุก 6-12 เดือน



พฤติกรรมเสี่ยงและวิธีป้องกัน มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายของผู้หญิง!!


จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็น มะเร็งรังไข่ อาการ และสัญญาณเตือน?

อย่างที่บอกว่ามะเร็งรังไข่จะตรวจพบได้ค่อนข้างยาก จนกระทั่งมารู้ตัวอีกทีก็เจอมะเร็งรังไข่ในระยะลึก ๆ แล้ว ดังนั้นสาว ๆ ต้องหมั่นเช็กอาการของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะหากมีอาการต่อไปนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนเลย

- ท้องอืดเป็นประจำ

- มีก้อนในช่องท้องหรือช่องเชิงกราน จึงอาจทำให้เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง

- ก้อนเนื้ออาจกดเบียดลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้รู้สึกปวดถ่วง ถ่ายอุจจาระไม่สะดวกหรือลำบาก

- เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้น จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยและขัด

- เมื่อเซลล์มะเร็งมีการกระจายไปในช่องท้อง อาจทำให้เกิดน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนอ้วนขึ้น

ได้ ท้องโตขึ้นกว่าเดิม

- เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด

- อาจมีประจำเดือนผิดปกติ บางรายอาจพบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น มีเสียงห้าว มีหนวด

หรือขนขึ้นตามลำตัวคล้ายผู้ชายได้ เนื่องจากผลของมะเร็งรังไข่ที่ทำให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติไป

- ในบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการเลย แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญว่ามีก้อนในท้องน้อย


พฤติกรรมเสี่ยงและวิธีป้องกัน มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายของผู้หญิง!!


วิธีการป้องกันมะเร็งรังไข่

เนื่องจากรังไข่เป็นอวัยวะภายใน ซึ่งอาจตรวจเช็กความผิดปกติได้ยาก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคคือควรหมั่นตรวจภายในด้วยคลื่นความถี่สูง อย่างน้อยปีละครั้งซึ่งนอกจากการตรวจภายในปีละครั้งแล้ว สาว ๆ ยังสามารถป้องกันมะเร็งรังไข่ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ด้านต้านมะเร็งรังไข่ตามลิสต์ต่อไปนี้ได้ด้วยนะคะ


และทางด้านคุณหมอผู้เชียวชาญ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ "ซึ่งได้ให้การยืนยันว่ามีการวิจัยมาแล้วอย่างชัดเจนว่ากลุ่มผู้หญิงที่ใช้แป้งฝุ่นโรยตัวทาบริเวณจุดซ่อนเร้น มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าผู้ที่ไม่ใช้แป้งสูงถึง 40 %"

พฤติกรรมเสี่ยงและวิธีป้องกัน มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายของผู้หญิง!!


พฤติกรรมเสี่ยงและวิธีป้องกัน มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายของผู้หญิง!!

ขอบคุณที่มา > > pswhospital , สถาบันมะเร็งแห่งชาติ , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์