ฟิตร่างกายวันนี้ ห่างไกลพาร์กินสันในวันหน้า

ฟิตร่างกายวันนี้ ห่างไกลพาร์กินสันในวันหน้า


เมื่อเอ่ยถึงโรคพาร์กินสันนั้น หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่ในขณะเดียวกันกันอีกหลาย ๆ คนเลยที่ไม่ทราบว่าโรคพาร์กินสันนี้เป็นอย่างไร



ซึ่งจะว่าไปแล้วโรคพาร์กินสันนี้ถือเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุมากทีเดียว แม้ว่าคนไทยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีโอกาสเกิดโรคนี้เพียงร้อยละ 1 - 5 ก็ตาม แต่สำหรับผู้สูงอายุนั้นแค่เจ็บไข้ธรรมดาก็ถือว่าลำบากมากแล้วนะคะ ถ้าอย่างนั้นเราไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่า



โรคพาร์กินสันเป็นโรคสั่นสันนิบาต
ร่างกายขาดสารโดปามีนในสมอง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิง เกิดจากการเสื่อมและตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย


ฟิตร่างกายวันนี้ ห่างไกลพาร์กินสันในวันหน้า


ในอดีตแพทย์เข้าใจว่าโรคพาร์กินสันนี้มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง แต่ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแน่นอนแล้วว่าพยาธิสภาพของโรคนี้เกิดขึ้นที่ในส่วนลึก ๆ ของตัวสมองเอง โรคพาร์กินสันนี้เป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ. 2360หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว โดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษเป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสันเป็นคนแรก

อาการของโรคพาร์กินสัน


ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการมากน้อยแตกต่างกันได้มาก ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โรคพาร์กินสันทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3
 ประการ ได้แก่อาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า

นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของท่าทาง และการทรงตัว เช่น หลังค่อม แขนงอ หกล้มง่าย นั่งตัวเอียง ท่าเดินผิดปกติ แสดงสีหน้าเฉยเมย ไม่มีอารมณ์เหมือนคนใส่หน้ากาก เสียงพูดเครือ ๆ และยิ่งพูดนาน ๆ ไป เสียงจะค่อย ๆ หายไป ในลำคอ เขียนตัวหนังสือยากขึ้น การกลอกตากระตุก น้ำลายไหล
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีน้ำลายไหลบ่อย ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักมีอาการซึมเศร้า และนอนไม่หลับ


ฟิตร่างกายวันนี้ ห่างไกลพาร์กินสันในวันหน้า


แต่ทั้งนี้นั้นก็มีการรักษาโรคพาร์กินสันนี้ถึงสามด้วยกันคือ

รักษาด้วยการให้ยา ซึ่งเป็นเพียงเสมือนการทำให้สารโดปามีนในสมองมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเท่านั้นก็ตาม ซึ่งการรักษาด้วยยานั้นในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการข้างเคยงตามมาด้วย


รักษาด้วยกายภาพบำบัด ซึ่งวิธีนี้นั้นเปรียบเสมือนเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้มากกว่า เพราะการทำกายภาพบำบัดนั้นเป็นการช่วยปรับการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของผู้ป่วยให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด


และรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งถือเป็นวิธีการที่เพิ่งคิดค้นกันเมื่อไม่นานมานี้เอง ซึ่งผู้ป่วยอาจะจะไม่ต้องรับยาอีกต่อไป หรืออาจจะรับยาในขนาดที่น้อยลงได้ แต่ทั้งนี้นั้นวิธีการนี้ก็อาจจะมีอาการข้างเคียงกับผู้ป่วยในบางรายได้ และสามารถรักษาได้เฉพาะผู้ป่วยที่อายุไม่เยอะมากและมีอาการไม่รุนแรงนักเท่านั้น



การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยป้องกันการเกิดโรคพาร์กินสันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายที่ฟิตร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย จากการคำนวณทางสถิติและวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้มากถึงร้อยละ 50


ฟิตร่างกายวันนี้ ห่างไกลพาร์กินสันในวันหน้า


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์