ภัยย้อนรอยในเครื่องปรับอากาศ


ยิ่งอากาศร้อนจัดขึ้น เราก็ยิ่งหันมานิยมใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้นทั้งในกลางวัน และตอนกลางคืน เรียกได้ว่า ชีวิตของใครหลายคนทบจะอยู่ในไอเย็นของเครื่องปรับอากาศกันแทบ 24 ชั่วโมง และนี่คือสิ่งที่น่ากลัวมากมาย เพราะได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เรามีโรคแปลก ๆ หรือร่างกายอ่อนแอร์ติดต่อเชื้อง่ายนั้น มาจากเครื่องปรับอากาศทั้งในรถยนต์ บ้าน และออฟฟิศนั่นเอง

สาเหตุสำคัญคือ ความไม่สะอาดถูกสุขอนามัยของเครื่องที่สะสมฝุ่น และเชื้อโรค อาจดูน่ากลัว แต่ที่จริงแล้วภัยเหล่านี้กำจัดได้ง่ายดาย คำตอบไม่ใช่การหยุดใช้งาน แต่คือการรู้จักทำความสะอาด และนี่คือ 9 เรื่องที่คุณควรอ่าน

แอร์ในบ้าน...เครื่องปล่อยสารพัดเชื้อร้าย 24 ชั่วโมง


เครื่องปรับอากาศ คือภัยที่หลายคนมองข้ามในฐานะแหล่งเพาะเชื้อโรคหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะเชื้อที่มีการแพร่ทางอากาศ ยิ่งเปิดนาน ก็ยิ่งรับการสะสมภัยอันตรายมาก และนี่คือ 5 เรื่องที่คุณไม่รู้ที่ควรอ่าน

 แพทย์ยืนยันชัดเจนว่ามีเชื้อโรคนานาชนิดอยู่ในเครื่องปรับอากาศ
และเชื้อโรคที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา มักเป็นเชื้อโรคที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และแพร่เชื้อผ่านทางอากาศ ส่งผลให้คนที่ใช้เครื่องปรับอากาศสุขภาพเสื่อมโทรม และเป็นโรคต่าง ๆ มากมาย ทั้ง วัณโรค เชื้อไวรัส โรคสุกใส งูสวัด โรคภูมิแพ้ หืดหอบ ปอดบวม และหัดเยอรมัน

 อาการโรคภูมิแพ้ จากเครื่องปรับอากาศ
คือ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการคันจมูก คันตา จามบ่อย แน่นจมูก และเมื่อตื่นนอนขึ้นมาจะมีอาการระคายคอ และหากมีอาการป่วยรุนแรงมาก จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ควรสังเกตว่า เวลาที่เปิดเครื่องปรับอากาศถ้ามีกลิ่นอับชื้นที่มากับความเย็น กลิ่นอับชื้นเหล่านี้มักมาจากเชื้อโรคที่ออกมาจากช่องระบายความเย็น และแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ โดยความชื้นจะเป็นแหล่งสะสมเพาะพันธุ์อย่างดีของเชื้อโรค และเมื่อสะสมมาก ๆ เข้า เชื้อโรคก็จะหลุดลอยออกมาปะปนกับอากาศเย็นภายในห้อง

 ควรล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยดูตามความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน ด้วยวิธีการล้างแผ่นกรองอากาศอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยใช้น้ำฉีดแรง ๆ ที่ด้านหลัง ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออก และในแต่ละปีควรล้างเครื่องปรับอากาศแบบเต็มระบบ

 ควรปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม โดยทั่วไปควรตั้งไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส และเปิดพัดลมระบายอากาศ เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้อย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษ ในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ เช่น การสูบบุหรี่ การปรุงอาหาร ที่สำคัญ ควรดูแลสิ่งแวดล้อมในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ โดยกำจัดฝุ่น กำจัดแหล่งที่อยู่ของแมลงสาบ ละอองเกสรพืช ไรฝุ่นในที่นอน ขนสัตว์ และแมลงอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ หมั่นทำความสะอาดบ่อย ๆ และควรทำความสะอาดเพดาน ม่าน กำแพง ทุก ๆ 2 -3 เดือน กำจัดแหล่งเชื้อรา อย่าให้เกิดความชื้น หรือกลิ่นอับขึ้นภายในบ้านหรือในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ
ตู้แอร์ในรถยนต์...เครื่องปล่อยเชื้อโรคเคลื่อนที่

ตู้แอร์รถยนต์ ไม่เพียงแค่เป็นแหล่งรวมของฝุ่นละออง แต่ยังเป็นที่อยู่ของเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคุณและครอบครัว เพื่อสุขภาพอนามัย เราจึงควรล้างตู้แอร์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และนี่คือ 4 เรื่องที่คุณไม่รู้ที่ควรอ่าน

 ฝุ่น จากภายนอกรถจะเข้ามาในระบบแอร์ทุกครั้งที่เปิดแอร์
เมื่อฝุ่นละอองมาเกาะอยู่ตามแผงคอยล์เย็นในตู้แอร์ ทุกครั้งที่เปิดแอร์ ลมแอร์ก็จะพัดเอาฝุ่นเล็ก ๆ เข้ามาในตัวรถ ยิ่งนั่งอยู่ในรถนาน ก็ยิ่งสูดฝุ่นเข้าไปในร่างกาย สะสมไปเรื่อย ๆ นานวันก็จะกลายเป็นสาเหตุของปัญหาโรคภูมิแพ้ โรคเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจ

 ซากแมลงที่เน่าเปื่อยตายอยู่ในตู้แอร์ เป็นสิ่งที่พบได้เสมอ และนับเป็นอันตรายที่มองไม่เห็นและส่งผลต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง นอกจากคุณจะสูดฝุ่นละอองเข้าไป คุณยังสูดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย นั่นทำให้ร่างกายรับสารและก่อให้เกิดโรคแปลก ๆ ที่ไม่คาดคิดมากมาย โดยเฉพาะโรคจากการติดเชื้อในปอด และอวัยวะภายในร่างกาย

 เครื่องฟอกอากาศส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหลัง แต่ตัวคุณขับรถอยู่ด้านหน้า ลมแอร์ที่เป่าออกมา จึงเหมือนส่งตรงเข้าจมูก ปอด ให้สูดก่อนที่เครื่องฟอกอากาศจะฟอกอากาศ ในขณะที่การหาซื้อเครื่องฟอกอากาศคุณภาพดีมาติดตั้ง ต้องใช้เงินมากกว่ามาก ดังนั้นการกำจัดที่สาเหตุ ด้วยการล้างตู้แอร์จึงเป็นทางหลีกเลี่ยงโรคภัยที่ดี และประหยัดกว่า

 หนึ่งในการล้างตู้แอร์ที่ได้รับการตรวจสอบ และรับรองโดยองค์การอาหารและยา คือการนำตู้แอร์มาทำความสะอาด ผ่านการล้างน้ำยาด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถแวะทำความสะอาดได้กับศูนย์บริการใกล้บ้าน

เพียงเท่านี้คุณก็จะมีความสุขในบรรยากาศแสนสบาย กับเครื่องปรับอากาศคู่ใจแล้วค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Twenty-four Seven


ภัยย้อนรอยในเครื่องปรับอากาศ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์