“มนุษย์กลางคืน” ควร “ปรับนาฬิการ่างกายเร็วขึ้น 2 ชม.” เพื่อสุขภาพ


“มนุษย์กลางคืน” ควร “ปรับนาฬิการ่างกายเร็วขึ้น 2 ชม.” เพื่อสุขภาพ


คนที่มักตาสว่างเวลากลางคืน และชอบอยู่โยงจนดึกดื่นกว่าจะเข้านอน หากมีเหตุให้ต้องตื่นเช้าเหมือนกับคนส่วนใหญ่ ก็จะเกิดอาการนอนไม่พอ สมองไม่แจ่มใส อ่อนเพลีย นำไปสู่การเกิดสารพัดโรคติดตามมาในระยะยาวได้

ปัญหานี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนไม่น้อย แต่ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากอังกฤษและออสเตรเลียพบว่า สามารถจะแก้ไขปัญหาสุขภาพนี้ได้ ด้วยการปรับวงจรระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ หรือ "นาฬิการ่างกาย" ของเหล่ามนุษย์ค้างคาวให้เดินเร็วขึ้นสัก 2-3 ชั่วโมง





“มนุษย์กลางคืน” ควร “ปรับนาฬิการ่างกายเร็วขึ้น 2 ชม.” เพื่อสุขภาพ


ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์และมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของสหราชอาณาจักร รวมทั้งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโมนาชของออสเตรเลีย ตีพิมพ์ผลการศึกษาข้างต้นในวารสารการแพทย์ Sleep Medicine หลังทำการทดลองกับกลุ่มคนที่นอนดึกจนเป็นนิสัย 21 คน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคนเหล่านี้มักเข้านอนในเวลา 2.30 น. และตื่นนอนในเวลา 10.00 น. เป็นประจำ



“มนุษย์กลางคืน” ควร “ปรับนาฬิการ่างกายเร็วขึ้น 2 ชม.” เพื่อสุขภาพ


กลุ่มผู้เข้ารับการทดลองต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้วิจัยเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อปรับนาฬิการ่างกายให้เดินเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยมีข้อบังคับดังต่อไปนี้

- ตื่นนอนให้เร็วขึ้นกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมง และต้องออกไปกลางแจ้งเพื่อรับแสงแดดยามเช้าให้เพียงพอ
- เมื่อตื่นแล้วให้กินอาหารเช้าโดยเร็วที่สุด
- ออกกำลังกายในตอนเช้าเท่านั้น
- กินอาหารกลางวันให้ตรงเวลาทุกวัน และไม่กินอะไรอีกหลังเวลา 19.00 น.
- ไม่รับกาเฟอีนเข้าร่างกายหลังเวลา 15.00 น.
- ไม่งีบหลับหลัง 16.00 น.
- เข้านอนเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมง ไม่เปิดไฟสว่างจ้าหรือจ้องมองแสงจ้าในยามค่ำคืน
- พยายามรักษาวงจรการหลับและตื่นให้คงที่ตามเวลาเดิมทุกวัน



“มนุษย์กลางคืน” ควร “ปรับนาฬิการ่างกายเร็วขึ้น 2 ชม.” เพื่อสุขภาพ


เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง ทีมผู้วิจัยพบว่าบรรดามนุษย์ค้างคาวประสบความสำเร็จในการปรับนาฬิการ่างกายให้เดินเร็วขึ้นกว่าเดิม 2 ชั่วโมง แต่ยังสามารถนอนหลับได้นานเป็นจำนวนชั่วโมงเท่าเดิม คือ 7.5 - 8 ชั่วโมงต่อคืน

อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนในตอนกลางวันของคนกลุ่มนี้ลดลงอย่างมาก ระดับความเครียดและอาการซึมเศร้าที่มีมาก่อนลดน้อยลง ทั้งยังมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้ว่องไวขึ้นด้วย

ศ. เดบรา สกีน ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมบอกว่า "แม้วิธีนี้จะฟังดูเหมือนคำแนะนำเพื่อปรับปรุงคุณภาพการนอนโดยทั่ว ๆ ไป แต่ก็ช่วยให้สุขภาพกายและจิตของคนนอนดึกดีขึ้นอย่างมาก ทั้งยังป้องกันการเกิดโรคร้ายเช่นมะเร็ง เบาหวาน หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการนอนไม่พอและนาฬิการ่างกายรวน"


เครดิตแหล่งข้อมูล : bbc.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์