มนุษย์เราสามารถหลับและตื่นภายในเวลาเดียวกันได้หรือไม่

มนุษย์เราสามารถหลับและตื่นภายในเวลาเดียวกันได้หรือไม่


ผลการวิจัยระบุว่าเมื่้อใดที่สมองเหนื่อยล้า บางส่วนของสมองก็อาจจะหลับไปเป็นเวลาเีสี้ยววินาที แม้ว่าส่วนนั้นจะดูภายนอกเหมือนกับกำลังตื่นเต็มตัวอยู่ก็ตาม

หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่มักจะนึกไม่ออกว่าตัวเองเอากุญแจบ้านไปวางไว้ที่ไหน หรือเดินหาแว่นตาทั่วบ้านแต่สุดท้ายก็เพิ่งนึกได้ว่าตั้งอยู่บนจมูกของตัวเอง แล้วมักจะยกให้เป็นความผิดของอาการเฟอะๆ ฟะๆ หรือขี้หลงขี้ลืมแล้วล่ะก็มันอาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกายของคุณได้ เพราะอันที่จริงแล้วร่างกายของคุณอาจจะแค่ขาดการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอเท่านั้นเอง

ผลการทดลองกับหนูระบุว่า เมื่อใดก็ตามที่สมองเหนื่อยล้า บางส่วนของร่างกายอาจจะผล็อยหลับไปเป็นเวลาเศษเสี้ยวของวินาทีได้ ถึงแม้ว่าอวัยวะส่วนนั้นๆ จะดูตื่นเต็มที่ในสายตาของคนทั่วไปในเวลานั้นๆ ก็ตาม

ผลการทดลองนี้ทำให้เราต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ทำงานประเภทที่การนอนหลับไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดอันตรายได้

Chiara Cirelli ศาสตราจารย์ผู้ชำนาญด้านโรคจิต จากมหาวิทยาลัย University of Wisconsin ที่ Madison กล่าวว่า ถึงแม้ว่าคุณจะยังไม่รู้สึกอ่อนเพลียเลย แต่จะมีสัญญาณในสมองว่าคุณควรจะเลิกทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยการตื่นอย่างเต็มตัว โดยที่เซลล์ประสาทบางกลุ่มอาจจะหลับได้ และจะก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ขณะนั้น

ผลการทดลองที่ตีพิมพ์ลงในเจอร์นัลของอังกฤษ Nature ได้ท้าทายความเชื่อที่มีมานานว่าการนอนหลับไม่เพียงพอนั้นจะส่งผลต่อสมองทั้งหมด โดยที่ทฤษฎีนี้ได้รับการสนับสนุนด้วยหลักฐานจากการทำ electro-encephalograms หรือ EEGs ซึ่งแสดงให้เห็นรูปแบบของกิจกรรมอิเล็คทริคของเซลล์สมอง ที่เรียกว่า เซลล์ประสาท

อย่างไรก็ตาม EEGs ก็มีข้อจำกัดเช่นกัน ขั้วไฟฟ้าของมันถูกนำไปวางไว้บนหนังศีรษะ ซึ่งนั่นหมายความว่ามันจะสามารถตรวจจับสัญญาณที่ใกล้กับกระโหลกได้ดีกว่าสัญญาณที่มาจากข้างในหัวกระโหลกลึกๆ และ EEGs มักจะสรุปผลกิจกรรมจากเซลล์ประสาทหลายต่อหลายร้อยล้านเซลล์ และไม่สามารถแยกย่อยเป็นปัจจักเซลล์ได้

Cirelli และทีมงาน สอดเครื่องแหย่ที่มีขนาดบางมากเข้าไปในสมองของหนูที่โตเต็มวัยแล้ว 11 ตัว เพื่อคอยสังเกตกิจกรรมด้านกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเซลล์ประสาทกลุ่มย่อยในมอเตอร์ คอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมความเคลื่อนไหวแบบกึ่งอัตโนมัติ

จากนั้นขั้นตอนต่อไปก็คือการทำให้หนูทั้ง 11 ตัว ตื่นจนเลยเวลาเข้านอนปกติไป 4 ชั่วโมง ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์บางอย่างเข้าไปในกรงของพวกมันและทำให้พวกมันตื่นอยู่ตลอดเวลา

ผลที่แสดงอยู่บนหน้าจอทำให้เห็นว่า แม้ว่าหนูเหล่านั้นจะมีลักษณะภายนอกเหมือนตื่นและแอคทีฟอยู่เต็มที่ แต่เซลล์ประสาทในบางที่กลับไม่ทำงาน หรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือ เซลล์ประสาทเหล่านั้นกำลังนอนหลับ แม้ว่าส่วนอื่นๆ จะตื่นอยู่ก็ตาม

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังค้นพบว่า การนอนหลับที่เรียกว่า"local sleep" นี้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของหนู โดยที่หนูกลุ่มนี้ถูกฝึกสองชั่วโมงเพื่อให้ทำภารกิจที่ซับซ้อน คือการใช้อุ้งเท้าอุ้งเดียวหยิบก้อนน้ำตาลขึ้นมา แต่เมื่อหนูรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นเท่าไหร่ พวกมันก็จะทำภารกิจนี้ยากขึ้นเท่านั้น หนูเริ่มจะทำก้อนน้ำตาลหล่น หรือบางครั้งก็เอื้อมอุ้งเท้าไปหยิบพลาด

Cirelli เขียนเอาไว้ในจดหมายแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อเซลล์ไม่กี่เซลล์หยุดทำงานไป ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดอาการเซ่อซ่าได้เพียงแค่ช่วงหนึ่งในสามวินาทีเท่านั้น

เธอกล่าวไว้ว่า จากเซลล์ประสาท 20 เซลล์ ที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เฝ้าสังเกตการณ์ในระหว่างทดลองนั้น มี 18 เซลล์ที่ตื่นตัว ส่วนเซลล์อีก 2 เซลล์ที่เหลือนั้น มีสัญญาณว่ากำลังหลับอยู่

ส่วนการวิจัยทางด้านการนอนหลับที่ผ่านมา ซึ่งใช้ EEGs เช่นกันนั้น ได้เน้นย้ำความเสี่ยงของการหลับในเอาไว้ การหลับในแม้เพียงแค่ไม่กี่วินาที มักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้

อย่างไรก็ตาม การวิจัยครั้งใหม่ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าผลการวิจัยในหนูสามารถนำมาใช้กับมนุษย์ได้นั้น ได้สรุปเอาไว้ว่าพฤติกรรมต่างๆ สามารถได้รับผลกระทบตั้งแต่ก่อนที่อาการหลับในจะเกิดขึ้นเสียด้วยซ้ำ


voicetv

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์