ย้อนรอย อุบัติภัยเชอร์โนบิล

ย้อนรอย  อุบัติภัยเชอร์โนบิล



         เมื่อ 20 กว่าปีผ่านมาแล้ว ทั้งโลกต้องตื่นตะลึงกับเหตุการณ์ที่ไม่เคยมีใครอยากให้มันเป็นความจริงๆ นั่นคือ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล ที่มีโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ติดตั้งอยู่ ได้เกิดระเบิดขึ้นเนื่องจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ในการจัดการระบบน้ำ หล่อเย็น ทำให้ความร้อนในปฏิกิริยาสูงเกินกว่าที่โครงสร้างทั้งหมดจะทนทานต่อไปได้


        จากเหตุการณ์ในวันนั้น 26 เมษายน 1986 (พ.ศ. 2529) ได้คร่าชีวิตของพลเมืองชาวเชอร์โนบิลนับไม่ถ้วน ตัวเลขที่ไม่มีใครกล้ายืนยันคือ 400,000 คน สิ่งที่ยังเป็นเครื่องหมายแห่งความหายนะในครั้งนั้น ยังปรากฏชัดอยู่ในเมืองเชอร์โนบิลจนถึงทุกวันนี้ ... เพราะมันได้กลายเป็นเมืองที่ไร้ชีวิต แตกต่างจากก่อนหน้าเหตุการณ์ที่มันเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนับ ย้อนได้เป็นกว่า 600 ปี แต่วันนี้ ... ชื่อของเมืองคือ Ghosttown


ย้อนรอย  อุบัติภัยเชอร์โนบิล



เกิดอะไรขึ้นที่เชอร์โนบิล

ต่อไปนี้เป็นสาเหตุของระเบิดทำลายล้างที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล วิธีการดำเนินการเก็บกวาดที่มีผลกระทบต่อผู้คนมากมาย และ สถานะปัจจุบันของเชอร์โนบิล

 ในวันที่ 26 เมษายน 2529 ได้เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ขึ้นที่หน่วยที่ 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน อดีตสหภาพโซเวียตโซเชียลลิส

ทีมปฏิบัติการวางแผนที่จะทดสอบว่ากังหันจะสามารถผลิตพลังงานเพียงพอที่จะทำให้เครื่องปั๊มความเย็นทำงานเมื่อสูญเสียพลังงานหรือไม่ ก่อนที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซลฉุกเฉินจะเริ่มทำงาน

เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าของเครื่องปฏิกรณ์ขัดข้อง ระบบรักษาความปลอดภัยได้ถูกปิดโดยเจตนา และมีการลดกำลังไฟฟ้าของเครื่องปฏิกรณ์ลง 25% ซึ่งกระบวนการนี้ไม่เป็นไปตามแผน โดยกำลังไฟฟ้าของเครื่องปฏิกรณ์ลดลงเหลือต่ำกว่า 1% ดังนั้นจึงต้องเพิ่มกำลังไฟฟ้าขึ้นอย่างช้าๆ แต่ 30 วินาทีหลังเริ่มทดสอบ กำลังไฟฟ้าได้พุ่งสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิด และระบบหยุดทำงานฉุกเฉินของเครื่องปฏิกรณ์ (ซึ่งใช้สำหรับหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่) ล้มเหลว

ธาตุของเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์ปะทุออก ทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ฝาปิดสนิทน้ำหนัก 1,000 ตันของเครื่องปฏิกรณ์ระเบิดออก อุณหภูมิมากกว่า 2,000 องศาเซลเซียสทำให้แท่งเชื้อเพลิงหลอมละลาย ตะกั่วดำที่ใช้เคลือบเครื่องปฏิกรณ์ติดไฟ และลุกไหม้เป็นเวลา 9 วันทำให้รังสีปริมาณมหาศาลกระจายสู่สิ่งแวดล้อม อุบัติเหตุครั้งนี้ปล่อยรังสีออกมามากกว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลงบนฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 2488


ย้อนรอย  อุบัติภัยเชอร์โนบิล



การเก็บกวาด

ความพยายามในช่วงแรกๆ ที่จะดับไฟที่กำลังลุกไหม้เครื่องปฏิกรณ์ คือ การฉีดน้ำเย็นไปที่เครื่องปฏิกรณ์ หลังฉีดน้ำ 10 ชั่วโมง ไม่มีการดำเนินการใดต่ออีก ในวันที่ 27 เมษายน - 5 พฤษภาคม เฮลิคอปเตอร์ของทหารมากกว่า 30 ลำบินขึ้นเหนือเครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังลุกไหม้ และทิ้งตะกั่ว 2,400 ตัน และทราย 1,800 ตันลงไป เพื่อพยายามดับไฟและดูดซับรังสี

ความพยายามดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ แท้จริงแล้วกลับทำให้สถานการณ์แย่ลง เพราะความร้อนได้ทับถมใต้วัสดุที่ถูกทิ้งลงไป ทำให้อุณหภูมิของเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นอีกครั้ง รวมถึงรังสีปริมาณมากถูกปล่อยออกมา ในช่วงสุดท้ายของการดับไฟ แกนของเครื่องปฏิกรณ์ถูกทำให้เย็นลงด้วยไนโตรเจน ไฟที่ลุกไหม้และการปล่อยกัมมันตภาพรังสีไม่สามารถถูกควบคุมได้จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม

แม้จะเป็นอันตรายอย่างเ้ห็นได้ชัด แต่การรับมือกับหายนะครั้งนี้ต้องใช้คน ไม่ใช่คนจำนวนน้อย แต่เป็นหลายพันคน ที่ต้องเสียสละชีวิตและสุขภาพเพื่อความพยายามที่เปล่าประโยชน์ในการควบคุมหายนะครั้งนี้ คนเหล่านี้ถูกเรียกว่า "นักกู้ภัย"

นักดับเพลิง 600 คน ของหน่วยดับเพลิงของโรงไฟฟ้า และทีมปฏิบัติการของโรงไฟฟ้าคือกลุ่มผู้ได้รับรังสีรุนแรงที่สุด โดยในกลุ่มนี้ 130 คนได้รับรังสีในปริมาณเท่ากับขีดสูงสุดต่อปีของการได้รับรังสีของคนงานรวม 650 ปี บุคลากรทางการทหารหลายพันคนและคนงานจากที่อื่นๆ ถูกเกณฑ์ไปช่วยเคลื่อนย้ายวัสดุกัมมันภาพรังสีที่อันตรายถึงชีวิต โดยมีการป้องกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

คนงาน 31 คนเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน 600,000 - 800,000 คนมีส่วนในการปฏิบัติการเก็บกวาดที่เชอร์โนบิลจนถึงพ.ศ. 2532 ในกลุ่มนี้ 300,000 คนได้รับรังสีเกินขีดสูงสุดสำหรับประชาชน 500 เท่าเป็นเวลา 1 ปี ปัจจุบันผู้ที่รอดชีวิตยังทุกข์ทรมานกับสุขภาพที่ถูกทำลาย

คำถามที่ว่า จนถึงปัจจุบันคนเหล่านั้นได้เสียชีวิตไปกี่คนเป็นคำถามที่เป็นที่โต้เถียงกันมาก หน่วยงานรัฐบาลในอดีตประเทศในสหภาพโซเวียต 3 ประเทศที่มีประชาชนได้รับผลกระทบระบุว่า จนถึงปัจจุบัน "นักกู้ภัย" ประมาณ 25,000 คน ได้เสียชีวิตลง แต่สมาคมเพื่อนักกู้ภัยทั้งหลายใน 3 ประเทศนี้ได้ประมาณการตัวเลขที่มากกว่าตัวเลขของทางการมาก ในทางตรงกันข้าม รายงานจากการประชุมเชอร์โนบิลในพ.ศ. 2548 ระบุตัวเลขของการเสียชีวิตของนักกู้ภัยที่น้อยกว่ามาก

ตัวเลขที่ไม่ตรงกันนี้เกิดจากวิธีการในการประเมินที่ต่างกัน นอกจากนี้สถิติของนักกู้ภัย (จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและปริมาณรังสีที่ได้รับ) ถูกบิดเบือนโดยหน่วยงานต่างๆ ของโซเวียต ดังนั้นจึงอาจไม่มีวันทราบตัวเลขที่น่าเชื่อถือที่สุดได้


ย้อนรอย  อุบัติภัยเชอร์โนบิล


การสิ้นสุดของหายนะ?

ในวันที่ 22 ธันวาคม 2531 นักวิทยาศาสตร์ของโซเวียตประกาศว่า "โลงศพโบราณ" ที่ปัจจุบันใช้ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์นั้นถูกออกแบบให้มีอายุเพียง 20-30 ปี

3 ปีหลังเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล รัฐบาลโซเวียตสั่งหยุดสร้างเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 5 และ 6 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครบวงจรเชอร์โนบิล และหลังการเจรจาระหว่างประเทศที่ยืดเยื้อหลายครั้ง โรงไฟฟ้าทั้งพื้นที่ถูกปิดตัวลง 14 ปีหลังเกิดอุบัติเหตุในวันที่ 12 ธันวาคม 2543


ย้อนรอย  อุบัติภัยเชอร์โนบิล


โลงศพโบราณคืออะไร

หลังเกิดเหตุระเบิด มีการสร้าง "โลงศพโบราณ" (สิ่งห่อหุ้ม) ขนาดใหญ่ ที่ทำด้วยคอนกรีต เพื่อปกคลุมเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 ที่ถูกทำลาย โลงศพนี้ถูกออกแบบมาเพื่อหยุดการปล่อยรังสีเพิ่มขึ้นขึ้นสู่บรรยากาศ

ภาระกิจแรกในการควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ที่ลูกทำลายคือการสร้าง "แผ่นหินหนาสำหรับทำความเย็น" ใต้เครื่องปฏิกรณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเพลิงที่ยังร้อนอยู่เผาไหม้ผ่านหลุมที่ฐานเครื่องปฏิกรณ์ คนงานเหมืองถ่านหินถูกเกณฑ์ไปเพื่อขุดอุโมงค์ใต้เครื่องปฏิกรณ์ และภายในวันที่ 24 มิถุนายน คนงานเหมือง 400 คนสามารถสร้างอุโมงค์ยาว 168 เมตรใต้เครื่องปฏิกรณ์ได้สำเร็จ

ภายในเดือนพฤศจิกายน 2529 โลงศพโบราณที่ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ได้สร้างเสร็จสิ้น โดยใช้เหล็กกล้ามากกว่า 7,000 ตัน และคอนกรีต 410,000 ลูกบาศก์เมตร

โลงศพโบราณถูกออกแบบมาให้มีอายุ 20-30 ปี ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือความไม่มั่นคง เพราะมันถูกสร้างอย่างรีบเร่ง เหล็กที่เป็นคานหนุนถูกกัดกร่อน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อบูรณาการของโครงสร้างทั้งหมด น้ำได้รั่วซึมเข้าไปในโลงศพผ่านทางรูบนหลังคา และถูกปนเปื้อนด้วยกัมมันตภาพรังสี จากนั้นจึงไหลซึมผ่านพื้นเครื่องปฏิกรณ์ลงสู่ดินข้างใต้

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าหายนะจากนิวเคลียร์ครั้งต่อไปในระดับความรุนแรงเท่ากับที่เชอร์โนบิลจะเกิดขึ้นอีกที่เชอร์โนบิล เนื่องจากมีเกราะป้องกันที่บอบบาง



ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ในเครื่องปฏิกรณ์มีปริมาณเท่าใด แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากประมาณการว่าเหลือมากกว่า 95% ของเชื้อเพลิงทั้งหมด นอกจากนี้ สิ่งที่ถูกทิ้งไว้ในโลงศพ คือ กากนิวเคลียร์เป็นพันคิวบิกเมตรที่เกิดจากชิ้นส่วนของเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ดินที่ปนเปื้อนยังถูกทิ้งไว้ในโลงศพด้วย 

ขอบคุณ บทความจาก 
... greenpeace
ภาพจากpantip/atcliud

จดหมายที่อยู่ในกล่องรับจดหมายนี้อยู่มาตั้งแต่เกิดระเบิดขึ้นมา และไม่มีใครแตะต้องมันอีกเลย.jpgจดหมายที่อยู่ในกล่องรับจดหมายนี้อยู่มาตั้งแต่เกิดระเบิดขึ้นมา และไม่มีใครแตะต้องมันอีกเลย.jpg


ฉากของเมืองกับภาพของโรงไฟฟ้าในเฟรมเดียวกัน.jpgฉากของเมืองกับภาพของโรงไฟฟ้าในเฟรมเดียวกัน.jpg


ทุกอย่างยังอยู่ที่เดิมตลอด ทั้งๆที่ผ่านไปมากถึง 10~20ปีแล้ว.jpgทุกอย่างยังอยู่ที่เดิมตลอด ทั้งๆที่ผ่านไปมากถึง 10~20ปีแล้ว.jpg


ด้านหน้าของอพาตเมนต์แถวๆนั้น.jpgด้านหน้าของอพาตเมนต์แถวๆนั้น.jpg


โรงแรงเพียงแห่งเดียวของเมืองแห่งนี้ ซึ่งแน่นอน...ไม่มีใครอาศัยอยู่มานานแล้วตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุขึ้น.โรงแรงเพียงแห่งเดียวของเมืองแห่งนี้ ซึ่งแน่นอน...ไม่มีใครอาศัยอยู่มานานแล้วตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุขึ้น.


ลานเด็กเล่นในตัวเมืองที่มีทั้งรถดัมพ์และชิงช้าสวรรค์...แน่นอน ห้ามจับต้องเด็ดขาด เพราะยังมีกัมมันตภาพรังสีหลงเหลืออยู่ทุกอนูลานเด็กเล่นในตัวเมืองที่มีทั้งรถดัมพ์และชิงช้าสวรรค์...แน่นอน ห้ามจับต้องเด็ดขาด เพราะยังมีกัมมันตภาพรังสีหลงเหลืออยู่ทุกอนู


ปั๊มแก๊สร้างก่อนถึงตัวเมือง.ปั๊มแก๊สร้างก่อนถึงตัวเมือง.


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์