ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


หากจะพูดถึงภาษาไทย ที่เราได้เคยเรียน ศึกษาสมัยเด็ก เราคงจะรู้จักกันดี กับ มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นตัวละครที่อยู่ในชุดแบบเรียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 รวมทั้งสิ้น 12 เล่ม เป็นหนังสือที่มั่นใจได้ว่าทุกคนจะมีความหลัง กับการเรียนวิชาภาษาไทย

โดยหนังสือแบบเรียนภาษาไทย เขียนโดย รัชนี ศรีไพรวรรณ มีหลักการในการเขียน โดยมุ่งหมายสอนให้ความรู้ทางภาษา ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน ด้วยจำนวนคำ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ชั้น ประถมศึกษาที่ 1 กำหนดไว้ 150 คำ และเพิ่มขึ้นเป็นพันๆ คำ เมื่อเลื่อนชั้นจนสิ้นสุดที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนมาถึงปี พ.ศ. 2537 ได้ถูกถอดออกจากแบบเรียนเพราะเนื้อหาไม่ทันยุคทันสมัย

รื้อฟื้นความทรงจำอันแสนสุขอีกครั้งกับพวกเขาเหล่านี้ มานะ มานี ปิติ ชูใจ เพชร วีระ เจ้าแก่ …


ชื่อจริงของตัวละคร

มานี รักเผ่าไทย ——–>แพทย์หญิงมานี รักเผ่าไทย
มานะ รักเผ่าไทย———> พันโทมานะ รักเผ่าไทย
ปิติ พิทักษ์ถิ่น
วีระ ประสงค์สุข
ดวงแก้ว ใจหวัง
ชูใจ เลิศล้ำ



ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


มานะ มานี ปิติ ชูใจ

ตัวละครเก่า ๆ ในแบบเรียนภาษาไทยยุคก่อน ก็เป็นอีกหนึ่งความทรงจำที่เปรียบเสมือนเป็นชิ้นส่วนของอดีตชิ้นเล็ก ๆ ที่ทำให้ใครหลายคนอมยิ้มได้อยู่เสมอ

มานะ มานี ปิติ ชูใจ เพื่อนเก่าในวัยเด็กของคนในยุคปี พ.ศ. 2521 ถึง 2537 คือตัวละครที่มาทักทายสร้างความรู้จักกับพวกเราตั้งแต่ แรกเข้าเรียนประถม 1 จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถมศึกษา

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรักความผูกพัน ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละครเหล่านั้น ช่วยเติมแต่งจินตนาการให้พวกเขากลายมาเป็น“เพื่อน” สมัยประถมของเด็กนับล้านคน

พวกเขาเติบโตขึ้นตามวัยทุกปีพร้อม ๆ กับเรา เรื่องราวสนุกสนานที่ได้อ่าน กลายเป็นความทรงจำอันแสนประทับใจที่ยากจะลืมเลือน

หลายสิบปีผ่านไป อยากรู้ไหมว่า เพื่อนเก่าของพวกเราเติบโตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

มานะ มานี ยังคงน่ารัก มองโลกในแง่ดี หรือจะกลายเป็นหนุ่มสาวยุคใหม่ผู้แคล่วคล่อง

เจ้าโต และสีเทา จะยังมีชีวิตอยู่หรือจากลาพวกเราไปแล้วตามกาลเวลา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้เขียนแบบเรียนภาษาไทยชุดมานะ มานี ปิติ ชูใจ

ตำนานเด็กดี

“นี่ชูใจนะโต ชูใจจะเป็นเพื่อนมานี เป็นเพื่อนโต สีเทาแมวของฉันก็จะเป็นเพื่อนโตด้วย”

เสียงเจื้อยแจ้วของเด็กหญิงที่เปรียบเหมือนเป็นเพื่อนวัยเด็กของพวกเรา มาพร้อม ๆ กับความรู้สึกผูกพันอ่อนหวานกับมิตรภาพอันบริสุทธิ์ของพวกเขา

มานะ มานี ปิติ ชูใจ เพชร จันทร เจ้าโต สีเทา และเจ้าแก่ เดินทางกลับมาย้ำเตือนความทรงจำวัยเยาว์ของเรา ผ่านเรื่องราวที่ อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้แต่งบทเรียนภาษาไทยในครั้งก่อน ได้บรรจงร้อยเรียงเรื่องราวของเด็ก ๆ ให้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง

นับจากเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 “ทางช้างเผือก” ได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารอะเดย์เป็นจำนวนทั้งหมด 12 ตอน เริ่มตั้งแต่วันพบกันครั้งแรกของผองเพื่อนวัยเด็ก ผู้เขียนได้สร้างให้เรื่องราวดำเนินไปพร้อม ๆ กับวันเวลาที่ไม่เคยหยุดยั้ง เรื่องราวมากมายที่เข้ามาสั่งสมประสบการณ์ให้เด็กน้อยได้เรียนรู้ จวบจนกระทั่ง ตอนอวสาน… ในที่สุดพวกเขาก็กลับมาพบกันอีกครั้ง

“จริง ๆ แล้ว ตอนสมัยเป็นแบบเรียนภาษาไทย เรื่องนี้ไม่มีชื่อ แต่ว่าก็มีคนเคยเรียกเล่น ๆ ว่าเรื่องนี้เป็น ตำนานเด็กดี…” อาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้เขียนแบบเรียนชุดมานะ มานี เล่าความทรงจำครั้งที่ได้เริ่มต้นเขียนแบบเรียนภาษาไทยให้เด็กไทยนับล้านคนได้สัมผัสกับเรื่องราวอันน่าประทับใจ

อาจารย์เล่าว่า สาเหตุที่มีคนเรียกว่าตำนานเด็กดีคงเป็นเพราะเรื่องนี้มีแต่เด็กดี มีแต่เด็กน่ารัก ซึ่งนี่คือความตั้งใจของอาจารย์ ที่อยากให้เด็ก ๆ ได้เริ่มต้นเรียนรู้ในสิ่งที่ดี

“เริ่มต้นที่ได้เขียนเรื่องนี้ เป็นเพราะตอนนั้นกระทรวงศึกษาธิการต้องการเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ แบบเรียนภาษาไทยชุดเก่าโบราณเกินไป โดยเงื่อนไขข้อแรกของแบบเรียนชุดนี้คือ ต้องอ่านสนุก เด็ก ๆ ต้องติดใจและอยากเรียนภาษาไทย” อาจารย์รัชนีกล่าว

แบบเรียนปีแล้วปีเล่าได้ถูกร้อยเรียงผ่านตัวละครตัวน้อย ซึ่งกว่าจะไปปรากฏเป็นเรื่องราวอยู่บนหนังสือเล่มที่พวกเราได้อ่านนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

อาจารย์รัชนีเล่าว่า แบบเรียนภาษาไทยชุดนี้ เมื่อเขียนเสร็จครั้งแรกก็ต้องนำไปผ่านการปรับปรุงและทดลองใช้จนกว่าจะแน่ใจว่าเรื่องราวที่จะออกไปสู่สายตาเด็กนับล้านคนทั่วประเทศ เป็นเรื่องที่ดี บริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษเป็นภัย

“เด็กแต่ละชั้นก็จะได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้ถึงสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเช่นเมื่อถึงเวลาที่หลักสูตรภาษาไทยกำหนดมาว่าจะต้องให้เด็กรู้จัก ความหมายของคำว่าตาย ครูก็ต้องมานั่งคิดแล้วคิดอีกว่าจะให้ใครตายดี ถ้าเป็นคนก็จะทำร้ายจิตใจเด็กเกินไป ก็เลยสรุปกลายเป็นเจ้าแก่ ม้าของปิติตาย เพราะมันแก่แล้ว ซึ่งขนาดเขียนให้ม้าตาย ครูยังโดนเด็ก ๆ ร้องห่มร้องให้ต่อว่า ว่าทำไมต้องให้เจ้าแก่ตาย พวกเขาสงสารมัน” อาจารย์รัชนีกล่าวพร้อมรอยยิ้ม

สำหรับอาจารย์รัชนีแล้วเสน่ห์ของตัวละครเหล่านี้ที่ทำให้คนนับล้านตกหลุมรักก็คือ

“พวกเขามีความเป็นเด็ก มีความบริสุทธิ์แจ่มใส ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความประทับใจให้ใครต่อใครได้รักตัวละคร
เหล่านี้ไปโดยไม่รู้ตัว”


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ความทรงจำที่ดี ย้อนกลับมาได้เสมอ...ถ้าเราต้องการ

มา นี มี ตา
ตา มี นา มา นี มา นา
นา มี รู งู นา มี รู ปู
มานี พา โต มา หา อา
มานี พา โต มา นา
มานี พา โต หา ปู
มานี พา โต ดู ปู

ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา


ย้อนรำลึก มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ “เพื่อนวัยเด็ก” ของเรา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์