รู้จักกันหรือยัง โรคชิคุนกุนยา

รู้จักกันหรือยัง โรคชิคุนกุนยา



โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก



แรกเริ่มเดิมทีนั้นโรคชิคุนกุนยานั้น เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาในพรมแดนระหว่างประเทศโมแซมบิกและแทนซาเนียในปัจจุบัน
จากนั้นก็พบการระบาดของเชื้อชิคุนกุนยาเป็นครั้งคราวในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับในทวีปแอฟริกานั้นมีการแพร่เชื้อ 2
วงจร คือ ชนิด วงจรชนบท คน-ยุง-ลิง ซึ่งมีลิงบาร์บูนเป็นโฮสต์ และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็ก ๆ ได้เป็นครั้งคราว และวงจรในเมือง คน-ยุง จากคนไปคน โดยยุงลายเป็นพาหะ


รู้จักกันหรือยัง โรคชิคุนกุนยา



อาการของโรค


 ผู้ป่วยจะ มีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน
มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่


 ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคือ อาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้
ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็ก ๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า

 อาการปวดข้อจะพบได้หลาย ๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ

อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1 - 12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2 - 3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี


 ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test
ให้ผลบวก และจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังได้


ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจงสำหรับโรคชิคุนกุนยา

ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง เช่น ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน ซึ่งการป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารไล่ยุง สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร



นอกจากนี้อย่าลืมหมั่นตรวจตราบริเวณบ้าน ไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง และต้องหมั่นกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงภายในบริเวณบ้านก็จะช่วยได้ค่ะ


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์