รู้หรือไม่? เราทิ้งขว้างอาหารกันกว่าปีละ 2,000 ล้านตัน

รู้หรือไม่? เราทิ้งขว้างอาหารกันกว่าปีละ 2,000 ล้านตัน

รู้หรือไม่? เรา"ทิ้งขว้าง"อาหารกันกว่าปีละ 2,000 ล้านตัน


ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดชี้ว่า มากกว่าครึ่งของอาหารทั้งโลก หรือคิดเป็นกว่า 2,000 ล้านตัน ถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์
 
สถาบันวิศวกรรมเครื่องกลอังกฤษ เปิดเผยว่า อาหารเน่าเสียเกิดจากการจัดเก็บที่ไม่มีประสิทธิภาพ การซื้อเพื่อกักตุน และความสับสนของผู้บริโภค การศึกษายังพบว่า มากกว่า 30% ของผักในอังกฤษ ไม่ได้ถูกซื้อไป เพราะหน้าตาของมันดูไม่น่ารับประทาน และราว 30-50% ของอาหารจำนวน 4 พันล้านตันที่ผลิตได้ทั่วโลก ลงเอยด้วยการถูกทิ้งขว้าง รายงานยังชี้ว่า อาหารกว่าครึ่งที่มีการซื้อในยุโรปและสหรัฐฯถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์

ดร.ทิม ฟ็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของสถาบันวิศวกรรมเครื่องกล เปิดเผยว่า ปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งขว้างทั่วโลกกำลังเข้าขั้นอันตราย อาหารดังกล่าวสามารถนำไปใช้เลี้ยงประชากรของโลกที่กำลังเติบโต ซึ่งรวมถึงประชากรที่กำลังหิวโหย

พฤติกรรมการบริโภคดังกล่าว ก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งด้านที่ดิน ทรัพยากรน้ำ และพลังงานที่ใช้ในการผลิตอาหารโดยเปล่าประโยชน์ รวมถึงกระบวนการผลิตและการแจกจ่าย

โดยเหตุผลที่ก่อให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้ มีตั้งแต่กระบวนการวิศวกกรมและการเกษตรที่ไม่มีประสิทธิภาพ การขนส่งที่ไม่เพียงพอ และสาธารณูปโภคด้านการจัดเจ็บสินค้าผ่านไปยังแหล่งจำหน่าย รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตที่ต้องการเฉพาะสินค้าที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม การกระตุ้นและจูงใจผู้บริโภคให้ซื้อสินค้าเกินความจำเป็น
 
เขากล่าวว่า หากเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา ความสูญเสียเช่นนี้ถือเป็นช่วงต้นของห่วงโซ่อุปทานด้านอาหาร ระหว่างแหล่งผลิตและซูเปอร์มาร์เก็ต

รายงาน Global Food; Waste Not, Want Not ยังพบว่า น้ำปริมาณมหาศาล หรือกว่า 550,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ถูกใช้ในการเพาะปลูกพืช ที่ไม่ได้ถูกบริโภค ขณะที่ความต้องการน้ำเพื่อการเกษตรกรรม อาจเพิ่มเป็น 10-13 ล้านล้านลบ.ม.ต่อปี ภายในปี 2050

สหประชาชาติคาดการณ์ว่า จะมีประชากรที่ต้องเลี้ยงดูเพิ่มขึ้นถึง 3 พันล้านคน ภายในปี 2075 ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 9.5 พันล้านคน

ดร.ฟ็อกซ์เสริมว่า ขณะที่สถานการณ์ด้านทรัพยากรน้ำ ดิน และพลังงาน ตกอยู่ในภาวะกดดันจากความต้องการของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น  กลไกด้านวิศวกรรมจะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการสูญเสียอาหาร โดยจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ขนส่ง และกักเก็บอาหาร


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์