รู้หรือไม่?ออเจ้าอยุธยาไม่ ‘จูบปาก’ เพิ่ง ‘จ๊วบ’ ยุคหลัง ยันเป็นวัฒนธรรมตะวันตก


รู้หรือไม่?ออเจ้าอยุธยาไม่ ‘จูบปาก’ เพิ่ง ‘จ๊วบ’ ยุคหลัง ยันเป็นวัฒนธรรมตะวันตก

ออเจ้าทั้งหลายในขณะนี้ คงหัวใจเต้นระรัว รอชมฉากสุดฟินระดับจิกหมอนขาดแล้วขาดอีกเป็นสิบๆใบ นั่นคือซีน ‘จูบในตำนาน' ระหว่างคุณพี่ ขุนศรีวิสารวาจา หนุ่มยุคอยุธยา และเกศสุรางค์ในร่างแม่หญิงการะเกด

แต่ช้าก่อน ออเจ้าทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า ชายหญิงยุคกรุงศรีอยุธยานั้น ยังไม่มีการ ‘จูบปาก' เพื่อการแสดงความรักเชิงชู้สาว รวมถึงความหฤหรรษ์ทางเพศ โดยนักวิชาการเชื่อว่า เพิ่งมาจากวัฒนธรรมตะวันตกในภายหลัง

อติภพ ภัทรเดชไพศาล นักวิชาการอิสระ เจ้าของบทความอันลื่อลั่น ‘ข้อสังเกตว่าด้วยการ ราดหน้า ในภาพยนตร์ AV ญี่ปุ่น' ที่ถูกแชร์แล้วแชร์อีกไม่ว่าผ่านไปกี่ปี เปิดเผยกับ ‘มติชนออนไลน์' ว่า การจูบปากระหว่างชายหญิง เดิมไม่มีในสยาม แต่เป็นวัฒนธรรมที่เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลัง โดยเชื่อว่ามาจากวัฒนธรรมตะวันตก แต่จะแพร่หลายเมื่อใดนั้น ไม่แน่ชัด ต้องค้นคว้าอย่างลึกซึ้งอีกที

ในขณะที่ ปติสร เพ็ญสุต นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากรให้ข้อมูลเสริมว่า จากการศึกษาหลักฐานด้านจิตรกรรมฝาผนัง จะพบภาพวาดของการมีเพศสัมพันธ์ในท่วงท่าต่างๆมากมาย ทั้งการร่วมเพศจากด้านหลัง หรือ ท่าด๊อกกี้ , ท่าผู้หญิงนอนหงาย ผู้ชายคว่ำหน้า หรือท่ามิชชันนารี, ท่าผู้หญิงอยู่ด้านบน ผู้ชายนอนหงาย หรือหนุมานขย่มตอ เป็นต้น แต่จะเห็นได้ว่า ไม่มีการ ‘จูบปาก' อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน อย่างมากมีแค่ ‘หอมแก้ม' หรือ ‘จูบแก้ม'นอกจากนี้ ในวรรณคดีโบราณ ซึ่งมีบทอัศจรรย์ บรรยายการร่วมเพศในเชิงสัญลักษณ์ ก็ไม่มีการจูบปากในลักษณะที่เข้าใจกันในปัจจุบัน

"จิตรกรรมโบราณ ไม่มี ไม่มีเลย (เน้นเสียง) ไม่มีการวาดรูปหญิงชายจูบปากกัน ในขณะที่ภาพสังวาสมีหลากหลายท่วงท่า ทั้งท่าด๊อกกี้ เหมือนสุนัข เคยพบที่อุโบสถในวัดแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี, ท่าที่ผู้หญิงขึ้นคร่อมผู้ชาย รวมถึงท่าสามัญ ที่เรียกในภายหลังว่า ท่ามิชชันนารี เพราะคนในยุคกลางของยุโรปเคร่งศาสนาจนไม่ร่วมเพศท่าอื่นกับผู้ชาย เนื่องจากคัมภีร์ไบเบิ้ลระบุว่า ลิลิธ เป็นผู้หญิงคนแรกของโลก ร่วมเพศกับอดัมโดยการขึ้นคร่อม แสดงนัยยะของการที่เพศหญิงเป็นใหญ่เหนือผู้ชาย ซึ่งคนในยุคนั้นยังไม่สามารถยอมรับได้"

ก่อนจะขยายประเด็นไปถึงเรื่องบนเตียง ขอกลับมาที่ประเด็นการ ‘จูบปาก'
ผศ.ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง บอกว่า ถ้าเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน จะพบความหมายของคำว่า ‘จูบ' คือ ‘เอาจมูกสัมผัสสูดแสดงความรักหรือความใคร่' ส่วนจุมพิตคือจูบด้วยปาก แต่ปัญหาคือ จูบปากในที่นี่ จะเป็นการจูบแบบนี้เรารู้จักในปัจจุบันหรือไม่


---
มาดูบทอัศจรรย์ในเรื่องราชาพิลาป แต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ การจูบ ก็แค่จูบที่ ‘ไรโอษฐ์’ ไม่ใช่การแลกลิ้นดูดดื่มแต่อย่างใด

ดังความตอนหนึ่งว่า

“ป่างเรียมแรกสมสอง          วรราชเทวี
รมเยศสุขเลศฤดี                 รศราคปรีดา
เคยพาดพระหัตถ์เหนือ         อุรราชกัญญา
  
กอกเกี้ยวคือกาญจนลดา       อันโอบอ้อมทุมามาลย์
พิศพักตรมณฑล                 ศศิสุทธิเปรมปราณ
เปรมร่วมมฤธุรศบันดาล       ฤดิดัศบรรเจิดใจ
อุรบรรทับอุร                     ราขอนงค์ชงค์ไกล
จุมพิตณนงคริมไร             โอษฐคันธกัลยา
ปริสังคกรคององค์             อรอนงค์วนิดา
สมสุขเสนหา                    วรภาคย์ไกวกร”  สิ่งที่ปรากฏยังคงเป็นการจุมพิตริมไรโอษฐ์

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

--
ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ยังชวนให้คิดว่า ในอดีต คนไทยทั้งชายและหญิง นิยมกินหมาก แถมไม่ได้แปรงฟัน แต่ใช้แค่ ‘ข่อย' ถูฟันเท่านั้น

ทั้งนี้ ส่วนการจูบปากของคนไทยเคยมีผู้สันนิษฐานว่า เริ่มขึ้นเมื่อมีการแปลงานเขียนจากต่างประเทศ อย่างเร็วคือในสมัยรัชกาลที่ 6 หรืออาจมีในแวดวงนักเรียนไทยที่เคยไปศึกษาต่างประเทศในสมัย ร.5

สำหรับฉากในละครนั้น อย่าลืมว่า แม่หญิงการะเกด จริงๆคือ เกศสุรางค์ ซึ่งเป็นหญิงยุคใหม่ ย่อมรู้จักการ ‘คิส' เป็นอย่างดี อีกทั้งคุณพี่ขุนศรีวิสารวาจา ก็เคยเดินทางไปยังเมืองฝรั่งคี แม้ยืนยันว่ามิได้ชายตาแลหญิงใด แต่ก็ย่อมรู้จักวัฒนธรรมดังกล่าวมาแล้ว การจะมีฉากนี้ในละคร จึงถือว่าสมเหตุสมผลนะออเจ้า

จิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรีจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

>>>>>
Cr:::matichon.co.th

จิตรกรรมวัดหน่อพุทธางกูร อ.เมือง จ.สุพรรณบุรีจิตรกรรมวัดหน่อพุทธางกูร อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์