รู้เท่าทัน กลโกงเงิน

 รู้เท่าทัน กลโกงเงิน





การหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์




มิจฉาชีพจะใช้โทรศัพท์ หรือบริการเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต  (Voice over international protocol หรือ VolP) แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน หรือเจ้าพนักงานในหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ เพื่อหลอกลวงเราให้เกิดความตกใจ

และกลัว แล้วจึงเสนอความช่วยเหลือโดยให้เราไปทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกลุ่มมิจฉาชีพ เมื่อเราโอนเงินเสร็จ พวกเขาก็จะถอนเงินออกจากบัญชีนั้นทันที วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในกลุ่มมิจฉาชีพจากต่างประเทศ



มิจฉาชีพทำให้เราตกใจ และกลัวได้อย่างไร

> อ้างว่า บัญชีของเราถูกนำไปใช้กับขบวนการค้ายาเสพติด และจะถูกอายัดโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) จึงขอให้เราไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็มเพื่อยืนยันตัวตนและปลดรายการอายัด หรืออาจให้เราโอนเงินไปยังหน่วยงานของรัฐ อาทิ ธนาคารแงประเทศไทย หรือ ให้โอนเงินไปยังบุคคลที่มีการอ้างถึงว่าเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่น่าเชื่อถือ เช่น นายตำรวจ เจ้าหน้าที่ธนาคาร เป็นต้น

> อ้าง
ว่า โทรมาจากศูนย์กลางการอายัดบัตร หรือฝ่ายตรวจสอบจากแบงก์ชาติ โดยบอกเราว่าบัตรเครดิตหรือบัญชีของเรา
ถูกอายัด และขอให้เรายืนยันเลขที่บัญชี เลขที่บัตรเครดิตและรหัสเพื่อปลดอายัดบัตร หรือบัญชีของเรา

> อ้างว่า ข้อมูลของเราได้สูญหายไปกับน้ำท่วม จึงขอให้เราแจ้งรายละเอียดบัญชี ข้อมูลส่วนตัว แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้
เบิกถอนเงิน

> แจ้ง หรือ ข่มขู่เราว่า เรามีหนี้บัตรเครดิต ค่าโทรศัพท์ หรือบริการอื่นๆ ที่ต้องชำระทันที ไม่เช่นนั้น จะถูก
ดำเนินการตามกฎหมาย

> หลอกเอาผลตอบแทนสูงมาล่อ โดยการชักชวนเราไปลงทุนหรือเก็งกำไรในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงในการลงทุน เราจึงอาจถูกหลอกได้

ป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของ
แก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงทางโทรศัพท์กันเถอะ

> หากมีคนโทรศัพท์มาแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการเงิน ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นผู้ไม่หวังดีเพราะสถาบันการเงิน และหน่วยงานของรัฐ ไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัวและไม่มีนโยบายแจ้งให้ลูกค้าหรือประชาชนโอนเงินผ่านทางโทรศัพท์ให้กับสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานของรัฐ

> เมื่อได้รับโทรศัพท์จากคนไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคย ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัว อย่าตกใจและหลงเชื่อไปทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็ม

> อย่าโทรกลับเบอร์ที่ได้รับการแจ้ง แต่ควรเช็คเบอร์หน่วยงานที่ถูกอ้างถึงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น หรือ ติดต่อ 1133 เพื่อสอบถามเบอร์โทรของหน่วยงานที่ถูกอ้างถึง

> อย่าหวังผลกำไรจากการลงทุน หรือเก็งกำไรในธุรกิจใด ๆ ที่สูงเกินจริง เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของธุรกิจค้าเงินเถื่อนได้

แก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงทางโทรศัพท์มีวิธีเลือกเหยื่ออย่างไร

> ใช้วิธีสุ่มโทรศัพท์เข้าเบอร์มือถือที่ขึ้นต้นด้วย 08....09.....โดยวิธีการโทร.สุ่มตัวอย่างไปเรื่อยๆ เช่น 0818200000, 0818200001...เนื่องจากเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้งานมานาน และไม่ใช่หมายเลขที่ใช้งานชั่วคราว

> มักจะหลอกลวงว่าได้มีการอายัดบัญชีเงินฝากหรือบัตรเครดิตของเหยื่อ ที่มีอยู่กับธนาคารขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกร ฯลฯ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ใช้บริการกับธนาคารขนาดใหญ่

...หากไม่แน่ใจ ควรติดต่อหรือโทรศัพท์สอบถามไปยังสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างจะดีกว่า...



กลลวงผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking : e - banking) และบัตรกดเงินต่าง ๆ

1. ใช้เครื่องบันทึกข้อมุลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer)

มิจฉาชีพจะทำการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer) ไว้ที่ช่องเสียบบัตรเพื่อคัดลอกข้อมูลในบัตรหรือนำแป้นกดตัวเลขปลอมครอบแป้นกดตัวเลขของตู้เอทีเอ็ม และทำการแอบดูรหัสผ่านจากการติดตั้งกล้องไว้ ณ ตู้เอทีเอ็ม หรือ แอบดู แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปทำบัตรปลอมและถอนเงิน โอนเงิน หรือซื้อสินค้าและบริการในนามของเรา


 รู้เท่าทัน กลโกงเงิน



2. ใช้อุปกรณ์คัดลอกข้อมุล (Scanner)

มิจฉาชีพจะทำการขโมยบัตรเดบิตหรือเครดิตของเรา แล้วนำไปรูดกับอุปกรณ์คัดลอกข้อมูลที่อยู่ในบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปผลิตบัตรปลอมสำหรับใช้ซื้อสินค้าและบริการ


 รู้เท่าทัน กลโกงเงิน


3. ปลอมอีเมล์ และสร้างเว็บไซต์ธนาคารพาณิชย์ปลอม (Phishing)

มิจฉาชีพจะส่งอีเมล์แอบอ้างว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ คนรู้จัก หรือเพื่อนสนิท เพื่อขอข้อมูลทางการเงิน หรือให้ทำการโอนเงินให้



ติดต่อใครดี เมื่อถูกโกง

ด้านสินเชื่อ การโกงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ท่านสามารถแจ้งเรื่อง หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในเวลาทำการ 08.30 – 16.30 น. ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
...

o สายด่วน ศคง. โทร. 1213 หรือ โทรสารหมายเลข 0-2283-6151
o Email address: fcc@bot.or.th
o ส่งจดหมาย หรือติดต่อเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาด้วยตนเองที่

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) อาคาร 3 ชั้น 5
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่
273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา
เขตพระนคร กรุงเทพ 10200

ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
68/3 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงหนือ
393 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
472 ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดหใญ่
จังหวัดสงขลา 90110


ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ ตั้งใจเสริมสร้างความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน เพื่อเป็นวัคซีนคุ้มกันตัวเอง ให้ทันรู้ ฉลาดคิด ปกป้องตนเองให้พ้นภัยจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พิเศษไปกว่านั้น แบงก์ชาติได้พลิกมิติการให้บริการเพื่อให้ประชาชนสามารถ...

เข้าถึงแบงก์ชาติได้ง่ายขึ้น ด้วยการเปิดให้บริการรับเรื่องร้องเรียนโดยจัดตั้งหน่วยงานใหม่ของแบงก์ชาติ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน (ศคง.) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและตอบข้อสงสัยแก่ประชาชน

ยังมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเงินที่น่าสนใจอีกมากมาย ซึ่งสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จากในเว็บไซต์ ของ ศคง
www.bot.or.th เลือก ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) หรือสาหรับท่านที่ยังมีคำถามหรือข้อข้องใจที่อยากรู้ ขอคำแนะนำ ร้องเรียนบริการทางการเงิน หรือคำแนะนำติชม สามารถติดต่อผ่าน ศคง. ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1213 โทรสารหมายเลข 02-283-6151 email: fcc@bot.or.th หรือ ทางเว็บไซต์ที่ www.bot.or.th ศคง. ยินดีดูแลทุกปัญหาและให้คำปรึกษาทุกท่าน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์