รู้แนวคิดพิชิตข้อสอบ ก.พ.

รู้แนวคิดพิชิตข้อสอบ ก.พ.


เป็นแนวคิดของการออกข้อสอบของ ก.พ. ในแต่ละปี มาดูกันว่าใครคือเจ้าของแนวคิดนี้ และแต่ละข้อของแนวคิดมีอะไรบ้าง

               
โฮเวิร์ด  การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ได้ทำการทดสอง และวิจัยด้านอัจฉริยะภาพของมนุษย์ และค้นพบทฤษฎี  พหุปัญญา  จากการศึกษาผู้ใหญ่และเด็กจำนวนมากและได้เขียนหนังสือ  Frames  of  mind  ในปี 1983   ปัญญา นั้นการ์ดเนอร์อธิบายว่า คือความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหาหรือการทำอะไรสักอย่างที่มีคุณค่าในสังคมเดียวหรือหลายสังคม การออกแบบผลผลิต ที่ทันสมัยในสถานการณ์ธรรมชาติ โดยความสามารถนั้นมีสมองเป็นฐานรองรับ

ทฤษฎีพหุปัญญา กล่าวว่า คนเรามีอัจฉริยะภาพหรือปัญญาอย่างน้อย  8 ด้าน และในคนหนึ่งก็มีครบทั้ง 8 ด้าน เพียงแต่ว่าจะมีบางด้านที่เด่นกว่าด้านอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชีววิทยาของบุคคล สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ครอบครัว  และการฝึกฝนแต่วัยเยาว์ ปัญญา 8 ด้านมีดังต่อไปนี้

1. ปัญญาด้านภาษาและการสื่อสาร คือมีความสามารถสูงในการใช้ภาษาอย่างที่ใจต้องการ เช่นการพูด การเขียน การใช้คำ การใช้ภาษที่ซับซ้อน รวมถึงความสามารถในการจัดทำเกี่ยวกับโครงสร้างของภาษา เสียง ความหมาย และเรื่องเกี่ยวกับภาษา เช่นสามารถใช้ภาษาในการหว่านล้อม อธิบายและอื่นๆ มีทักษะในการรับข้อมูลผ่านทางภาษาได้ดี

 กิจกรรมเสริมทักษะ ฝึกเขียน อ่าน บทกวี  คำประพันธ์ จดบันทึก ฝึกผสมคำให้เกิดคำใหม่ๆ ฝึกออกเสียงให้ชัดเจนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ฝึกบรรยาย อภิปรายกลุ่ม เล่นเกมภาษา โต้วาที เล่านิทาน เล่าเรื่องขำขัน ทำหนังสือ  เป็นต้น 

อาชีพ ได้แก่ บรรณารักษ์ นักเขียน นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ วิทยุ โทรทัศน์ นักหนังสือพิมพ์นักเขียน นักกฎหมาย นักพูด  เลขานุการ ครูภาษา

2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ หมายถึงความสามารถเข้าใจของเหตุและผล หรือความสามารถในการใช้ตัวเลข ความไวในการเห็นความสัมพันธ์แบบแผนตรรกวิทยา การคิดเชิงนามธรรม ออกแบบและทำการทดลอง การคิดเชิงเหตุผล การคาดการณ์ รู้จักจัดหมวดหมู่ จัดประเภท สันนิฐาน สรุป คิด คำนวณ ตั้งสมมุตติฐาน 

กิจกรรมเสริมทักษะ ฝึกคิดเลขในใจ ฝึกการคิดแบบต่างๆ ทำโครงงาน เล่นเกมคณิตศาสตร์ อ่านหนังสือข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สิ่งประดิษฐ์  จัดหมวดหมู่สิ่งของ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

อาชีพ ได้แก่ นักบัญชี นักวิทยาศาสตร์  นักคณิตศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักสถิติ นักเศรษฐศาสตร์  ครูวิทยาศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ วิศวกร

3. ปัญญาด้านมิติและการจินตภาพ หมายถึงความสามารถในการสร้างภาพ 3 มิติ ของโลกภายนอกขึ้นในจิตใจของตนเอง มีความสามารถในการมองพื้นที่   มองอะไรก็เห็นภาพในจินตนาการของเขามีความคิดสร้างสรรค์  

กิจกรรมเสริมทักษะ วาดรูป สเก็ตรูป  พ่นสี ฝึกจัดดอกไม้ ใช้กราฟ แผนภูมิ แผนผัง จัดโต๊ะ จัดบ้าน ให้เป็นระเบียบ ค้นหารูปภาพจากอินเตอร์เนต  การแสดงภาพถ่าย ภาพเขียน 

อาชีพ นักดาราศาสตร์ นักสร้างภาพยนตร์ ศิลปิน นักประดิษฐ์ ผู้นำทาง สถาปนิก จิตรกร มัณฑนากร ช่างพ่นสี ช่างถ่ายภาพ นักจัดสวน นักบิน

4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว มีความสามารถสูงในการใช้ร่างกายของตนแสดงความคิดความรู้สึก ความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ และใช้ทักษะทางกาย ตลอดจนการจัดทัศนะศึกษา

 กิจกรรมเสริมทักษะ ออกกำลังการ ฝึกกายบริหาร ฝึกซ้อมการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง  ฝึกเต้นรำ  หัดใช้ร่างกายสลับซีก เลือกกินอาหารสุขภาพ หายใจให้ถูกต้อง ซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้

 อาชีพ นักกายภาพบำบัด ช่างไม้ ช่างฝีมือ ครูพลศึกษา ช่างอัญมณี นักกีฬา นักแสดง นักมายากล นักเต้นรำ นักยิมนาสติก ศัลยแพทย์  ประติมากร

5. ปัญญาด้านดนตรี มีความสามารถคิดเป็นดนตรี สามารถฟังรูปแบบ จำได้ รู้ได้ ปฏิบัติได้ รวมถึงความไวในเรื่องจังหวะ ทำนองเสียง  ความสามารถในการเข้าใจ วิเคราะห์ดนตรีได้  

กิจกรรมเสริมทักษะ เล่นดนตรี ร้องเพลงหมู่ประสานเสียง ร้องเพลงคาราโอเกะ ร้องเพลงในห้องน้ำ  ฝึกฟังเพลงที่แตกต่างกัน เคาะจังหวะเพลง ฝึกออกเสียง เปลี่ยนเนื้อเพลงเล่นสนุกๆ ฟังเสียงในสวน

อาชีพ ดีเจ นักจัดรายการวิทยุ นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง ครูดนตรี หัวหน้าวงดนตรี ผู้นำวงดนตรี นักร้องประสานเสียง นักวิจารณ์ดนตรี

6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ และการเข้าใจผู้อื่น มีความสามรถสูงในการเข้าใจอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก เจตนาของผู้อื่น มีความไวในการสังเกต ภาษาท่าทาง มีความสามารถสูงในการรู้ถึงลักษณะต่างๆของสัมพันธภาพของมนุษย์และสามารถตอบสนองได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

 กิจกรรมเสริมทักษะ ยิ้ม  อ่านความหมายจากใบหน้า  ฝึกการฟังอย่างตั้งใจ รวมกลุ่มในโอกาสต่างๆ จัดกิจกรรมบริการชุมชน เพื่อนสอนเพื่อน พี่สอนน้อง ฝึกงานตามสถานประกอบการ ชมรม  วิชาการ จัดงานปาร์ตี้  

อาชีพ นักบริหาร ผู้จัดการ นักแนะแนว นักสังคมสงเคราะห์  นักจิตวิทยา พยาบาล นักประชาสัมพันธ์ พนักงานขาย  นักการทูต นักการตลาด นักการเมือง

7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง มีความสามารถสูงในการรู้จักตนเอง รู้จักความสนใจ ความถนัด ความสามารถ ตามความเป็นจริง มีจุดอ่อน จุดแข็งเรื่องใด รู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของตน สามารถฝึกตนเอง เช้าใจตนเอง ภูมิใจในตนเอง  

กิจกรรมเสริมทักษะ ฝึกสมาธิ ฝึกสำรวจมีสติรู้เท่าทันอารมณ์  ตั้งเป้าหมายในชีวิต วิเคราะห์ตนเองใช้  self  swot analysis ลองทำแบบทดสอบต่างๆ ฝึกการผ่อนคลาย   

อาชีพ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ พระ นักสังคมสงเคราะห์  ผู้นำทางศาสนา นักวางแผน ผู้ประกอบการ

8. ปัญญาด้านธรรมชาติ   ปัญญาที่มนุษย์ใช้แยกแยะธรรมชาติ  เช่น พืชกับสัตว์ แยกประเภทพืช สัตว์ รวมทั้งความไวในการเข้าใจลักษณะอื่นๆของธรรมชาติ เช่นสภาพก้อนเมฆ ก้อนหิน เป็นต้น 

กิจกรรมเสริมทักษะ  ดูดาวท้องฟ้า  ไปตลาดต้นไม้ ทำศิลปะภาพพิมพ์จากส่วนของพืช หัดทำอาหาร กอดต้นไม้ในสวน ปลูกต้นไม้  เลี้ยงสัตว์ สังเกตนก หรือสัตว์ป่า ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ถอดรองเท้าบนพื้นดิน ทราย หญ้า 

อาชีพ นักนิเวศวิทยา วนศาสตร์ นักชีววิทยา นักกีฏวิทยา นักคัดเลือกพันธุ์สัตว์ สัตวแพทย์  นักประมง นักปฐพีวิทยา นักธรณีวิทยา ประมง

การ์ดเนอร์ กล่าวว่ายังมีปัญญาด้านอื่นๆที่ต้องศึกษาให้ลึกซึ้งตามความสามารถพิเศษที่อาจจะจัดเป็นปัญญาด้านต่างๆได้อีก เช่น ด้านจิตวิญญาณ ด้านเพศ ด้านอารมณ์ขัน ด้านอาหาร ด้านกลิ่น


เนื้อหาจาก ตำราวิชาการ


 


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์