รู้ไว้ใช่ว่า...เทคนิคดีๆสำหรับนักเรียน

รู้ไว้ใช่ว่า...เทคนิคดีๆสำหรับนักเรียน

สาระดีๆรู้ไว้ใช่ว่า         


เทคนิคและทักษะต่างๆ ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตปละจำวันที่สามารถนำมาประยุกต์ปฏิบัติตัวได้ด้วยตนเอง


1. อ่านให้ดี มีให้จำ ทำดังนี้


            การอ่านเป็นการเรียนรู้อีกช่องทางหนึ่ง ที่จะทำให้ได้รับข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริง และเรื่องราวต่างๆที่จะไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันวัน


            การทดลองเบื้องต้นด้วยการหาหนังสือสักเล่มวางไว้ตรงหน้าเรา แล้วมองดูให้แน่ชัด โดยตั้งข้อสันนิษฐานว่า เราต้องการรู้อะไรจากหนังสือที่วางอยู่ข้างหน้าเราและหนังสือเล่มนี้ต้องการจะบอกอะไรให้กับเราบ้าง


ความน่าสนใจน่าศึกษาที่เกิดจากการมองในขณะนั้นเป็นจุดประสงค์หลักที่ทำให้เราอยากรู้ และต้องฝึกอ่านอย่างสม่ำเสมอแล้วทำความเข้าใจกับหนังสือเล่มนั้นๆ แล้วจะรู้ว่าอ่านให้จำทำอย่างไร


2.  ฝึกทักษะเรียนให้เก่ง สอบให้ฉลาด


            หลักการและวิธีที่นิยมจะแนะนำนั้น จะให้ให้เรียนเก่งและสอบอย่างฉลาด มีดังนี้


            2.1 ตางรางเรียนเพียรกระทำ นำความเก่งได้


            2.2 สร้างความรู้มุ่งสู่คำถาม และได้ข้อสงสัย


            2.3 คิดค้นหาคำถาม พยายามค้นหาคำตอบ


            2.4 ตั้งข้อสังเกต เปิดประเด็น เน้นคำถาม


            2.5 ไล่อ่านตามความยากง่าย จะสบายแก่เรา


            2.6 เปิดสมองให้ถูกต้อง ผ่อนคลายให้ถูกวิธี


3.  สอบอย่างไรให้ได้เกรด A


            บางครั้งหลายคนจะมีเวลาให้เตรียมตัวสอบ แต่บ่อยครั้งจะไม่ค่อยมีเวลา และเมื่อเวลาเร่งด่วนมาถึง ควรเตรียมตัวดังนี้


            3.1 ระดมสมองให้ตื่นจากการหลับใหล


            3.2 มุ่งมั่นสร้างเป้าหมายหลัก คือการสอบครั้งต่อไป


            3.3 วางแผน วางตารางเวลาเรียน เขียน อ่าน


            3.4 จัดระเบียบตัวเองแบบง่ายๆ ให้เหมาะกับวัยเรียน


            3.5 หมั่นตรวจสอบประเมินผล ค้นหาตัวเองให้เจอ


** การที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นจะต้องรักษากฎระเบียบของตัวเองไว้ให้ดี เพราะการชนะใจตัวเองได้นั่นแหละยิ่งกว่าการชนะทั้งปวง   การฝึกฝนตัวเองให้อยู่ในกฎระเบียบนั้น ตอนแรกๆ อาจทำได้ยาก แต่เมื่อได้ทำและทำบ่อยๆ จนติดเป็นนิสัยแล้ว ก็จะพบกับคำตอบที่ให้ความสุขแก่ตัวเองและคนในครอบครัว


4.  เทคนิคการพิชิตชัยชนะในการสอบ


            ขั้นตอนแรกต้องเริ่มต้นจากที่บ้าน


-         จดตารางสอบ สถานที่สอบ วันเวลา วิชาที่สอบให้ถูกต้อง


-         คำนวณเวลาการเดินทาง อย่ารีบร้อนจนเกินไป เพราะจะลืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการสอบได้


-         เตรียมอุปกรณ์ในการสอบให้เรียบร้อย


-         จัดการกับธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย


-         ทำจิตใจให้ว่าง ตั้งใจฝึกสมาธิมุ่งสู่การสอบอย่างมีความสุข


-         ควรใส่นาฬิกาข้อมือไปด้วย เพื่อดูเวลาในการสอบ


รับกับสถานการณ์เมื่ออยู่ในห้องสอบ


-         เริ่มอ่านราบละเอียดต่างๆ ของข้อสอบ คำถามหรือคำชีแจงต่างๆ แล้วปฏิบัติตาม


-         สำรวจข้อสอบว่ามีครบทุกข้อ ทุกหน้าหรือไม่


-         เมื่อครบทุกข้อ ทุกหน้าแล้วเริ่มลงมือทำข้อสอบอย่างระมัดระวัง และอย่างตั้งใจ


** เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว อย่าลืมสำรวจ ชื่อ รหัสต่างๆ และข้อสอบทั้งหมดอีกครั้งว่าเรียบร้อยดีหรือเปล่า ไม่มีข้อที่เว้นหรือลืมทำ หลังจากนั้นค่อยนำส่งกรรมการคุมสอบ เมื่อออกจากห้องสอบแล้วควรทบทวนคำตอบจากหนังสือหรือเอกสาร เพื่อหาคำตอบทันที แล้วเก็บไว้เป็นข้อมูลต่อไป


5.        เทคนิคการสร้างบรรยากาศให้น่าอ่านหนังสือด้วยตนเอง


5.1      จัดห้อง ป้องกันการปวดหัวเวลาอ่านหนังสือ


5.2      ป้องกันสายตาเพลีย ด้วยรูปภาพกับวิวสวย


5.3      หามุมสงบ สร้างสรรค์อารมณ์ศิลป์


5.4      แสงสว่างกับองค์ประกอบในการอ่าน ต้องสอดคล้องกัน


5.5      มีน้ำดื่ม ขนมหวาน เพื่อสร้างความคลาสสิก


5.6      บริหารเวลาในการอ่านหนังสือให้ดี


** ควรให้ความสำคัญต่อการจัดเวลาในแต่ละวันให้ดี และปฏิบัติตามกำหนดแผนของการเรียนนั้น ควรทำเป็นตารางว่าวันนี้ ชั่วโมงนี้ต้องการอ่านทบทวนเนื้อหาวิชาอะไร เมื่อทำตามเวลาที่กำหนดแล้ว ต้องรู้จักให้รางวัลกับตัวเอง เช่น การอ่านหนังสือการ์ตูน ฟังเพลงสบาย หรือพักสักครู่หนึ่ง แล้วค่อยกลับมาเริ่มปฏิบัติตามเวลาในช่วงต่อไป


6.        เทคนิคการจดบันทึก


6.1      วางโครงร่างของการจดบันทึกในใจหรือเขียนแบบสารบัญ


6.2      การจดคำบรรยายแบบมืออาชีพ


6.3      เมื่อฟังการบรรยายจบลง จะทำอะไรต่อไป


6.4      ก่อนเข้าเรียน เตรียมตัวให้พร้อม


6.5      ก่อนหมดชั่วโมง ทบทวนทันที


** เราควรมีสมุดบันทึกติดตัวไว้สำหรับการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในแต่ละวัน  โดยแยกสมุดบันทึกประจำแต่ละวิชาออกจากกันให้ชัดเจน เมื่อใกล้สอบจะสะดวกเวลาทบทวน


7.        เทคนิคการพูดหน้าชั้นเรียน


สูตรสำเร็จของการพูดหน้าชั้นเรียน มีดังนี้


7.1      เคล็ดลับการนำเสนอ สร้างข้อมูล ให้น่าสนใจ


7.2      ตั้งวัตถุประสงค์ จะให้อะไรแก่ผู้ฟังบ้าง


7.3      ค้นหาความต้องการของผู้ฟังด้วยหลักนักวาทการ


7.4      ลำดับเรื่องที่จะพูดให้ดี อย่าสัปดนข้อมูล


7.5      สังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ที่แสดงออกของผู้ฟังอยู่เสมอ


7.6      พูดไปไม่ต้องอาย สั่น ประหม่า อย่าได้กลัว


7.7      เน้น น้ำเสียง อารมณ์ ให้น่าสนใจในเรื่องที่กำลังพูด


7.8      ระดมคำพูด และการแสดงความคิดเห็นต่อผู้ฟังให้ดี


7.9      มองกลุ่มผู้ฟัง


7.10  สรุปใจความให้น่าหลงใหล ชวนติดตาม และประทับใจ


** ถ้าการพูดใช้ไมโครโฟน ไม่ควรเคาะไมค์หรือพูดฮัลโหลๆๆ แต่ควรใช้วิธีเช็คความเรียบร้อยของปุ่มเปิด-ปิดแทน หรือใช้มือกรีดตรงไมค์เบาๆ เพื่อฟังเสียงก็พอ


8.        เทคนิคการสร้างมิตรภาพ และครองใจอาจารย์


8.1      การแนะนำตัวอย่าสร้างสรรค์


8.2      รู้จักพูคุยกับเพื่อนร่วมห้องเพื่อเปิดสมอง


8.3      อย่ากลัวคำถามหรือการถามกลับ


8.4      จำชื่ออาจารย์ประจำวิชาให้ขึ้นใจ


** เทคนิคการครองใจอาจารย์นี้ไม่ใช่พฤติกรรมที่เสียหาย แต่เป็นการสร้างเสน่ห์ให้กับตัวเอง เพียงแต่รู้จักกาลเทศะ เพราะโอกาสที่ดีมีไว้สำหรับคนที่กล้าเท่านั้น


9.        เทคนิคการผ่อนคลายสมองอย่างง่ายๆ


9.1      ทำจิตใจให้สงบ


9.2      ฟังเสียงดนตรี


9.3      ฟังเสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงน้ำตกหรือเสียงบรรยากาศของธรรมชาติ


9.4      กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ทำสมาธิ หรือนั่งเงียบๆ สักพัก


9.5      การฝึกทำโยคะ


** ควรพักสายตาเป็นระยะๆ และผ่อนคลายสมอง อย่าให้เครียดมากจนเกินไป เป็นการเรียนอย่าสร้างสรรค์ คือเรียนอย่างรู้หลักและวิธีการที่ถูกต้อง การอ่านการจำต่างๆ อย่างเข้าใจ มิใช่เรียนอย่างเดียวจนเคร่งเครียดและกดดัน


 


 


 


ขอบคุณบทความดี ๆจาก onlylove.212cafe.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์