รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


สายรุ้งที่สมบูรณ์ที่สุด (Perfect Rainbow)
รุ้งที่งดงามที่สุดนั้นคือรุ้งที่แสดงให้เห็นชัดเจนทุกเฉดสีตั้งแต่ต้นจนจบวง ไม่ขาดกลาง พาดเป็นครึ่งวงกลมจรดผืนดิน หากใครสงสัยว่ารุ้งสามารถเป็นเต็มวงกลมได้หรือไม่ คำตอบก็คือทั้งได้และไม่ได้ ที่เต็มวงไม่ได้เพราะมีพื้นดินมาบังเอาไว้ครึ่งหนึ่ง แต่ตามทฤษฎีเขาบอกว่า ถ้าเราบินได้ ไปอยู่เหนือละอองน้ำ มองไปในหุบเขาก็จะเห็นเต็มวงได้เช่นกัน




แล้วมันเกิดขึ้นได้ยังไงละ ?

ฟ้าหลังฝนนั้นเต็มไปด้วยละอองน้ำเม็ดเล็กๆ เต็มไปหมด เมื่อแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์ตกกระทบเม็ดน้ำ ก็จะหักเห (Refract) เข้าไปในเม็ดน้ำ แสงสีขาวนั้นประกอบไปด้วยสี ม่วง-คราม-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง-แสด-แดง แต่แสงสีต่าง ๆ หักเหได้ไม่เท่ากัน ผลก็คือ แสงสีขาวแตกกระจายเป็นแสงสีต่างๆ ในเม็ดน้ำ เมื่อแสงสีต่างๆ ตกกระทบผิวด้านในของเม็ดน้ำก็จะสะท้อน 1 ครั้ง จากนั้นก็จะหักเหออกมาจากเม็ดน้ำสู่ภายนอก มาเข้าตาเรา แสงสีแดงเข้าสู่ตาเราด้วยมุมเงยที่สูงกว่า จึงปรากฏอยู่ด้านบนของสายรุ้งตัวแรกนี้ แสงสีม่วงนั้นมีมุมเงยต่ำกว่า จึงอยู่ด้านล่าง

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


นี่คือ รุ้งที่เราเห็นได้ชัด เรียกว่า รุ้งปฐมภูมิ (Primary Rainbow)

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


คราวนี้เรามาดูการกำเนิดรุ้งตัวที่สอง  แสงสีขาวพุ่งเข้าไปในหยดน้ำ แล้วก็หักเห จากนั้นก็สะท้อน 2 ครั้ง
 แล้วจึงหักเหออกจากเม็ดน้ำ พุ่งเข้าสู่สายตาเรา
แต่รุ้งตัวที่ 2 นี้สีม่วงมีมุมเงยมากกว่า สีแดงน้อยกว่า ผลก็คือ สีม่วงอยู่ด้านบน สีแดงอยู่ด้านล่าง สลับสีกับตัวแรกคล้ายภาพสะท้อน แต่จะอยู่สูงกว่าตัวแรกเสมอ (ถ้ามองเห็นได้)
รุ้งตัวที่สองนี้มีชื่อว่า รุ้งทุติยภูมิ (Secondary Rainbow)

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?



รุ้งสองชั้น (Supernumerary Rainbow)
รุ้งตัวแรก เรียกว่าปฐมภูมิ ตัวที่สองคือ ทุติยภูมิ ตัวแรกจะเห็นได้ชัดที่สุด มีสีแดงโค้งอยู่บนสุด และมีสีม่วงอยู่ด้านล่างสุดเสมอ ส่วนรุ้งตัวที่สองนั้น จะสลับสีกัน เอาม่วงไปอยู่ด้านล่างสุดและแดงกลับมาอยู่ด้านบนสุด รุ้งที่เกิดการหักเของแสง 2 ครั้ง และสะท้อนออกมา 2 ครั้ง สำหรับรุ้งแบบนี้ว่ากันว่าเป็นรุ้งที่เกิดไม่บ่อย

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รุ้งซ้อนแถบดำ (Dark Band)
มองดูและฟังชื่อ ก็ดูน่ากลัวอย่างบอกไม่ถูก ความจริงเป็นแค่ปรากฏการณ์ที่รุ้งสองตัวมีการกระจายแสงเข้าหากัน และปรากฏแสงสะท้อนกลับมาของหยดน้ำจากรุ้งตัวแรกด้านใน ผสมกับแสงบนท้องฟ้า และแสงสะท้อนหยดน้ำด้านนอกจากตัวที่สอง และส่งภาพเฉดสีมาสู่สายตาเราไม่ได้ จึงเห็นเป็นภาพสีดำๆ นั่นเอง


รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รุ้งสะท้อนรุ้ง (Reflection Rainbo)
รุ้งแบบนี้นับว่าเห็นได้ยากมากทีเดียว ภาพนี้ถ่ายโดย Ann Bowker เมื่อนเดือนพฤษภาคม ปี 2003 ซึ่งปรากฏรุ้งพร้อมกัน 4 ตัว ทว่าแต่ละตัวไม่เห็นเป็นวงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอธิบายคร่าวๆ ได้ว่า รุ้งตัวแรกสะท้อนกลับแสงหยดน้ำไปยังตัวที่สอง และเมื่อมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นทำให้เกิิดการกระจัดกระจายของแสงแดดบนท้องฟ้า ก็เกิดรุ้งตัวอื่นๆ ถัดมา ซึ่งส่วนใหญ่พบในบริเวณใกล้กับทะเลหรือแม่น้ำ

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รุ้งพระจันทร์ (Moonbow)
ส่วนใหญ่เราเห็นรุ้งกันตอนกลางวัน แต่กลางคืนก็มีรุ้งเหมือนกันค่ะ ภาพนี้ถ่ายได้เมื่อ ธันวาคม 2003 ในช่วงเวลา 20 นาทีสุดท้ายก่อนเกิดพระจันทร์ข้างขึ้น เป็นรุ้งที่หาได้ยากกว่ารุ้งอื่นๆ มากที่สุด เพราะปกติพระจันทร์มีแสงได้ไม่เท่าพระอาทิตย์ แต่หากมีแสงมากพอในคืนพระจันทร์เต็มดวง และอยู่ฝั่งตรงข้ามกับฝนตก และท้องฟ้ามีสีเข้มมากพอ ก็จะปรากฏได้ตามที่เห็น แต่สีจะไม่สดใสมากนักเพราะแสงไม่มากพอที่จะกระตุ้นกรวยรับแสงในสายตาของพวกเรานั่นเอง

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


มูนโบว์ หรือ รุ้งจันทรา คือ รุ้งกินน้ำที่เกิดจากแสงจันทร์ไม่ใช่แสงอาทิตย์ จัทราจะค่อนข้างซีดจาง เนื่องจากแสงจันทร์มีความสว่างน้อยกว่าแสงอาทิตย์มาก เป็นเหตุให้รุ้งจัทราดูไม่ค่อยมีสีสันด้วยตาเปล่า (Cone Receptors ภายในตาคนเราจะมีประสิทธิภาพในการเห็นแสงสีน้อยลงในที่ที่มีแสงน้อย) การถ่ายภาพโดยเปิดหน้ากล้องเป็นเวลานานจะทำใ้ห้เห็นสีของรุ้งชัดเจนขึ้น บางครั้งคนจะสับสนและเรียก "พระจัทร์ทรงกลด" ว่าเป็น "รุ้งจันทรา" ทั้งๆ ที่ "พระจันทร์ทรงกลด" จัดเป็นปรากฏการณ์ประเภท "ฮาโล" ไม่ใช่ "รุ้งกินน้ำ" รุ้งจันทราจะเห็นได้ง่าย เมื่อพระจันทร์เต็มดวงอยู่ใกล้ขอบฟ้า ต่ำกว่า 42 ํ และท้องฟ้ามืด รุ้งจันทราจะเกิดด้านตรงข้ามกับดวงจันทร์ มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ anti-lunar point


รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รุ้งบนก้อนเมฆ (Cloudbow)
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ มกราคม 2004 โดยช่างภาพ Les Cowley ถ่ายปรากฏการณ์ที่ไม่มีฝนตกเลยสักนิด แต่เกิดรุ้งบนท้องฟ้า ผสมผสานแทรกตัวอยู่กับก้อนเมฆ เขาบอกว่าวันนั้นเป็นวันที่อากาศหนาวเย็นมาก และมีหมอกน้ำค้าง จึงเกิดหยดน้ำเล็กๆ ในอากาศ สร้างความชื้นที่แสดงสีสันโดยไม่ต้องอาศัยละอองฝน

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


แผนภาพตำแหน่งการเกิดปรากฏการน์บนท้องฟ้า จำลองจากแผนภาพในหนังสือ Kaleidoscop Sky ของ Tim Heard

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รุ้งทรงกลด (Circumscribed Halo)
เส้นกลมๆ เป็นวงมีสีจางๆ คล้ายรุ้ง ที่เกิดได้ทั้งรอบพระอาทิตย์และพระจันทร์ เกิดจากที่มีละอองน้ำในชั้นบรรยากาศและกระทบกับแสงอาทิตย์หรือจันทร์ สะท้อนรังสีออกมาให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม จากรัศมีของเมฆที่อยู่สูง และหยดน้ำจับตัวเป็นผลึกขนาดเล็กเมื่อเรียงตัวไปในทิศทางเดียวกันก็เป็น วงแหวนขึ้นมา บางครั้งเป็นสีเขียวเพราะเกิดจากการสะท้อนแสง แต่บางครั้งเกิดเป็นสีแดงเพราะเกิดจากการหักเหของแสง

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


แล้ว "กลด" เกิดขึ้นได้อย่างไรละ ? "กลด" (ร่ม) ของดวงอาทิตย์นั้นเกิดจากการที่แสงอาทิตย์หักเห (Refractx ผ่านผลึกน้ำแข็งโดยผลึกน้ำแข็งที่ว่านี้มักอยู่ในเมฆซีร์โรสเตตัส (Cirrostratus) ซึ่งมีลักษณะคล้ายผ้าบางปิดหน้าหญิงสาว วงสีรุ้งกลมๆ หรือ "กลด" เรียกว่า ฮาโล (Halo) นี้อาจเกิดได้ทั้งรอบดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเป็นดวงอาทิตย์ทรงกลด ก็ Solar Halo ส่วนดวงจันทร์ทรงกลดก็ Lunar Halo

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


ทรงกลดอีกแบบเรียกกันว่า โคโรนา (Corona)
เป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นได้ไม่ยากนัก แบบนี้ไงคะ โปรดสังเกตุลักษณะของวงแสงซึ่งค่อนข้างเบลอๆ ไม่คมชัด (เหมือนกรณีฮาโล) อีกทั้งแสงสีแดงๆ ส้มๆ อยู่ด้านนอก (กลับลำดับสีของฮาโล) แล้ว "กลด" แบบ โคโรนาเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าพูดว่ากลดแบบฮาโล (ไม่ว่าดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์) เกิดจากผลึกน้ำแข็งในเมฆ กลดแบบโคโรนาก็เกิดจากหยดน้ำ (ของเหลว) ในก้อนเมฆ

มาดูภาพประกอบกันค่ะ
ภาพแรก : แสงจันทราจากทางซ้ายมือ ส่องมายังโลก บางส่วนจ๊ะเอ๋กับหยดน้ำในอากาศ หรือในเมฆทำให้ทิศทางการเคลื่อนที่เบี่ยงเบนเฉไฉไปจากเดิม การเบี่ยงเบนเฉไฉนี้ ภาษาฟิสิกส์ (แบบหรูๆ ) ว่า "การเลี้ยวเบน" หรือ Diffraction ออกเสียง ดิ๊ฟ-แฟร็กชั่น

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


ภาพที่สอง : คิดคลื่นแสงจากดวงจันทราหลายๆ ขบวน แต่ละขบวนเลี้ยวเบนในทิศทางแตกต่างกันไป ปรากฏว่า คลื่นแสงแต่ละขบวนนี้จะไปผสมผสานกัน (ภาษาฟิสิกส์เรียกว่า แทรกสอด - interfere) ทำให้บางทิศทางก็สว่างขึ้น บางทิศทางก็มืดลง (ตัวอย่าง : คำว่า Bright, 1st order maxima หมายถึงทิศทางที่สว่างจัดเป็นลำดับที่ 1 ตามมาด้วย Bright, 2nd order maxima ซึ่งสว่างเป็นลำดับที่ 2)

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รอยยิ้มของท้องฟ้า (Upside-down rainbow)
บางคนเรียกภาพแบบนี้ว่ารุ้งมีตำหนิ แต่บางคนเรียกว่ารอยยิ้มของท้องฟ้า เป็นลักษณะแสงแบบเดียวกับการเกิดแสงทรงกลด แต่เกิดการรบกวนของอุณหภูมิจึงทำให้เกิดได้ไม่เต็มวง ซึ่งอาจถือได้ว่าการเกิดทรงกลดที่บิดเบี้ยวนี้ ยังก่อให้เกิดภาพอื่นๆ ได้อีกหลายรูปแบบด้วย เช่น ภาพเหมือนเมฆเรืองแสง หรือเฉดรุ้งขนาดสั้นบนท้องฟ้า

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


แล้วไอ้เจ้ารอยยิ้มเกิดขึ้นได้อย่างไรละ ?
รอยยิ้มบนท้องฟ้าหรือ CZA หรือโค้งเซอคัมซีนิทธัล (Circumzenithal Arc) CZA เป็นปรากฏการณ์คล้ายกับการเกิดรุ้ง เกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์ผ่านผลึกน้ำแข็งแนวนอนในก้อนเมฆบางประเภท CZA มีรูปร่างโค้งเป็นสีรุ้ง ขนาดประมาณ 1 ใน 4 ของวงกลม จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกลางฟ้า (Zenith) โค้งจะอยู่ขนานกับขอบฟ้า และอยู่ด้านเดียวกันกับดวงอาทิตย์ สีฟ้าจะอยู่ด้านในขอบโค้ง (ใกล้กับจุด Zenith) ขณะที่สีแดงจะอยู่ด้านนอกของโค้ง (ใกล้ขอบฟ้า) CZA นับเป็นฮาโลที่มสีสันสดใส และสว่างที่สุดประเภทหนึ่งทีเดียว

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?



คลื่นรุ้ง (Nacreous Clouds)
ภาพที่ว่ากันว่าหายากมากที่สุด คือเฉดสีที่มีการเคลื่อนไหวไปมา เหมือนถูกกระแสลมพัด ภาพนี้ถ่ายได้เมื่อปี 2004 โดยช่างภาพ Cherie Ude ซึ่งเขาบอกว่าจำได้ไม่มีวันลืม ในช่วงหลังพระอาทิตย์ตกประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ยังมีแสงสว่างอยู่ จากแสงสว่างมีการเปลี่ยนสีเหมือนรุ้งกินน้ำ ซึ่งอธิบายว่าเกิดจากลักษณะลมในชั้นบรรยากาษที่โจมตีเข้ามา

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


รุ้งไฟ
เกิดขึ้นในเมฆเซอรัส ที่ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง (โดยปกติอยู่ที่ความสูง 6 กิโลเมตร เหนือน้ำทะเล) ขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้า 58 ํ แสงอาทิตย์ส่องกระทบเกล็ดน้ำแข็งรูป 6 เหลี่ยม ที่บางและโปร่งแสง เกิดการหักเหและสะืท้อนออกมาเป็นแสงสีต่างๆ

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


พระอาทิตย์สุนัข (Sundog)
เป็นภาพที่อธิบายกันว่า เมื่อพระอาทิตย์ลอยต่ำจนถูกเมฆบดบังก็จะเกิดแสงสว่างขึ้น 2 จุด เป็นภาพลวงตาของอาทิตย์ที่รังสีทาบความยาวตามแนวขอบฟ้า ถ้ามีปลายส่วนที่ยื่นออกมาเหมือนหางสุนัขก็จะถูกเรียกว่า Sun Dog หรือ พระอาทิตย์สุนัขนั่นเอง

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


แล้วไอ้เจ้า Sundog เกิดขึ้นได้อย่างไรละ ?
ซันด๊อก เป็นปรากฏการณ์ทางแสงอย่างหนึ่ง มักเกิดเป็นคู่ อยู่ด้านซ้าย-ขวา ในแนวระนาบเดียวกับดวงอาทิตย์ ขนานกับพื้นดิน ซันด๊อกอาจปรากฏเป็นจุดสว่างบนฮาโล หรืออาจมีรูปร่างคล้ายกับดาวหางก็ได้ ซันด๊อกอาจมีสีรุ้งได้ โดยที่สีแดงจะอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ และสีฟ้าขาวอาจปรากฏในส่วนหาง ซันด๊อก เกิดจากการหักเหและสะท้อนแสงของอาทิตย์ กับผลึกน้ำแข็งแท่ง 6 เหลี่ยม ภายในเมฆเซอรัส (Cirrus) หรือ เซอโรสตราตัส (Cirrostratus) เมฆน้ำแข็งอื่นๆ เช่น Ice Fog และ Diamond Dust ก็สามารถทำให้เกิดซันด๊อกได้เช่นกัน

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


ซันด๊อกมักเกิดเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับขอบฟ้า คือหลังพระอาทิตย์ขึ้น หรือ ก่อนพระอาทิตย์ตก หรือในช่วงเดือนในฤดูหนาวในเขต Mid-Latitades โดยจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นมุม 22 ํ และจะปรากฏบนวงของฮาโลถ้าเกิดปรากฏการณ์ฮาโล

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?


เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ในมุมที่สูงขึ้น ซันด๊อกจะเคลื่อนตัวออกห่างจากดวงอาทิตย์ แต่จะยังรักษาตำแหน่งอยู่ในแนวระนาบเดียวกับดวงอาทิตย์

รู้ไหมว่ารุ้งมีกี่แบบ แล้วเกิดขึ้นได้ยังไง ?



ขอบคุณ meawlandza / 2th.me


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์