ลูกชิด น้ำแข็งใส แท้จริงแล้ว มันคือลูกอะไร

ลูกชิด น้ำแข็งใส แท้จริงแล้ว มันคือลูกอะไร

ถ้าพูดถึง  “ลูกชิด”   คิดว่าหลายคนคงรู้จัก  ว่าก็ไอ้ลูกขาวๆ  ใสๆ เล็กๆ  ที่นำมารับประทานกับน้ำแข็งใส ใส่น้ำหวานแดง โรยนมข้นไง


ลูกชิด น้ำแข็งใส แท้จริงแล้ว มันคือลูกอะไร

แต่จะมีใครรู้บ้างว่า ลูกชิดที่รับประทานกันมาแต่ตั้งแต่เด็กๆ นี้ จริงๆแล้ว มันเป็นผลไม้ ที่ชื่อว่า ลูกชิดหรือ ว่ามันมาจากต้นอะไรกันแน่

เฉลยเลยละกัน  ลูกชิด เป็นผลไม้ ที่ได้มาจากต้นไม้ ที่ชื่อว่า “ต๋าว”  หรือ “มะต๋าว”

 

“ต๋าว” เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่ง  เป็นพืชดึกดำบรรพ์ตระกูลปาล์ม  ลำต้นสูง ใบเป็นแพกว้าง ให้ความชุ่มเย็น  ออกลูกเป็นทะลาย ในแต่ละผลมีเมล็ดใสๆ  เรียงชิดกันอยู่ 3 เมล็ด ด้วยเหตุนี้ คนจึงเรียกลูกต๋าวว่า “ลูกชิด”  กว่าต้นต๋าวจะเจริญเติบโตออกลูกได้  ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี  และเก็บเกี่ยวผลได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น  ที่สำคัญ พืชชนิดนี้ ไม่สามารถปลูกได้  จะขึ้นเองตามธรรมชาติในป่าดิบชื้นเท่านั้น


ลักษณะทางอนุกรมวิธาน ของต๋าว คือ ต๋าวเป็นไม้ป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  อะเร็นกา พินนาตา ( ArengapinnataMerr) อยู่ในวงศ์ Palmae  พวกเดียวกับมะพร้าว ต้นตาล  หรือปาล์มต่างๆ  ต้นต๋าว มีถิ่นกำเนิด ดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และในประเทศอินเดีย

 ต๋าว  มีลักษณะลำต้นตรง  ขนาดโตกว่าต้นตาล  ใช้ประโยชน์จากทุกส่วน เช่นใบ  มีลักษณะเดียวกับมะพร้าว  แต่โตและแข็งแรงกว่า  นิยมใช้มุงหลังคา  กั้นฝาบ้าน  ก้านใบนำมาเหลารวมทำไม้กวาด เส้นใยที่ลำต้นใช้ทำแปรง ยอดอ่อนที่ขั้วหัวใช้รับประทานแบบผักสด  หรือดองเปรี้ยว เก็บไว้แกงส้ม  แกงกะทิ  ส่วนผล นำเนื้อในเมล็ดมารับประทาน สด หรือนำไปเชื่อมกับน้ำตาล เพื่อให้ได้รสอร่อยขึ้น


ลูกชิด น้ำแข็งใส แท้จริงแล้ว มันคือลูกอะไร

การเก็บผลต๋าว จะตัดเฉพาะทะลาย ไม่โค่นล้มต้น  การเก็บแต่ละครั้งต้องไปนอนค้างแรมอยู่ในป่า อย่างน้อย 2-3  คืน  ในช่วงที่ฝนหยุดตก  ส่วนช่วงที่มีฝน จะหยุดการเก็บเกี่ยว  เพราะไม่มีฟืนที่จะนำมาต้มลูกต๋าว  ที่สำคัญฤดูนี้เป็นช่วงที่ต๋าวขยายพันธุ์

การเก็บผลิตต๋าว ส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน  ถึงเดือนมีนาคม  ซึ่งแต่ละครั้ง ต้องเดินทางไปในป่า เพื่อนำผลต๋าวที่ได้ขนาดมาต้มพอสุก ตัดขั้วผลแล้วหนีบเมล็ดออก  โดยใช้เครื่องมือที่ผลิตเองในท้องถิ่น คล้ายเครื่องตัดเหล็กที่มีคันยก ในจำนวน 1  ผลจะมี  3 เมล็ด เฉลี่ย 2 ทะลาย จะได้  1 ถัง หรือเท่ากับ 15  กิโลกรัม


ต๋าว  มะต๋าว หรือลูกชิด นอกจากจะนำมารับประทานกับน้ำแข็งใส ใส่น้ำหวานแล้ว แปรรูปเป็นอบแห้ง แช่อิ่ม  ได้อีกด้วย



เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์