สมาธิสั้น กันอยู่หรือเปล่า?

สมาธิสั้น กันอยู่หรือเปล่า?


 พูดถึงเรื่องของสุขภาพกายกันมาก็หลายครั้ง คราวนี้เรามาเข้าสู่เรื่องราวของสุขภาพจิตกันบ้างดีกว่า แต่โรคนี้จะว่าไปก็ไม่ใช่เรื่องของจิตใจเสียอย่างเดียว เป็นโรคที่เกิดจากระบบประสาทและสารเคมีในสมองที่ผิดแผกแตกต่างไปจากคนปกติ แถมโรคนี้ยังมาแรงในหนุ่มสาววัยทำงานที่ต้องรับงานแบบ Multi-tasking หลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งบางครั้งก็เสร็จครบสมความตั้งใจ แต่ถ้าหลายครั้งไม่มีอะไรสำเร็จเลยนี่สิ มันเกิดจากอะไร?

คุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานได้หลายอย่างแต่ไม่เสร็จเลยสักอย่างหรือเปล่า?
หลายครั้งคุณพยายามจัดการงานอย่างมีระบบแล้วแต่ไม่สามารถทำให้เสร็จได้ จะต้องมีแรงอะไรบังคับให้คุณสนใจอย่างอื่นมากกว่า แต่ก็ไม่นานพอคุณกลับมาทำอีก ก็ทำไม่ได้จนเสร็จอีกนั่นล่ะ หากคุณมีภาวะแบบนี้อยู่ตลอดๆ ล่ะก็ ให้คุณลองอ่านดู คุณอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรค”สมาธิสั้นในวัยทำงาน” อยู่ก็เป็นได้ค่ะ

 สมาธิสั้น นั้นคืออะไร
โรคสมาธิสั้น (Attention Defecit Hyperactivity Disorders (ADHD)) เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
สาเหตุที่แท้จริงของภาวะสมาธิสั้นนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือพันธุกรรมที่มีผลต่อสมอง แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ตาม 

โรคสมาธิสั้น นั้นเป็นได้ทุกวัย
เราอาจจะเคยได้ยินว่าโรคสมาธิสั้น เกิดในเด็กๆ ที่อยู่ไม่นิ่ง ภาวการณ์เรียนรู้ช้ากว่าเพื่อนๆ เนื่องจากมีช่วงสมาธิที่สั้นเกินกว่าที่จะจดจ่อและทำความเข้าใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อเท็จจริงก็คือโรคนี้เป็นโรคที่เกิดในวัยเด็กจริงๆ ค่ะ และแน่นอนว่าคนที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่นั้น เกิดจากอาการสมาธิสั้นตั้งแต่วัยเด็กอย่างแน่นอน แต่จะรู้ตัวไหมนั้นก็อาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้ใหญ่ในวันนั้นอาจจะคิดว่าคุณเป็นแค่เด็กซนธรรมดาๆ ก็เลยปล่อยปละไป จากกงานวิจัยพบว่าครึ่งหนึ่งของเด็กสมาธิสั้นมักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้วอาการก็ยังคงปรากฏอยู่ถึง 30-80 %

 สมาธิสั้นหรือไม่ รู้ได้อย่างไร?
แน่นอนว่าการตรวจวินิจฉัยนั้นเป็นหน้าที่ของแพทย์ค่ะ ซึ่งแพทย์จะใช้แบบวัดร่วมกับการซักประวัติ โดยมีหลักใหญ่ ๆ 3 ประการค่ะ
สาวๆ ลองพิจารณาดูนะคะว่าตัวเอง เข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า?

1. ความไวของกล้ามเนื้อต่อสิ่งกระตุ้นและความวิตกกังวลภายในใจ
(hyperactivity) หัวข้อเป็นทางการภาษาแพทย์มากพูดง่ายๆ อันนี้ก็ไฮเปอร์ล่ะค่ะ คือไม่สามารถผ่อนคลายและทำกิจกรรมที่อยู่กับที่ได้นานๆ เช่น การนั่งอ่านหนังสือหรือการดูโทรทัศน์ มีอาการวิตกกังวลและความรู้สึกกังวลที่มีอยู่ในใจซึ่งไม่สามารถแสดงออกมาอย่างชัดเจนได้ คือรู้สึกกังวลไปซะหมด นอยด์ (paranoid) มันไปซะทุกเรื่อง คิดมากจนเกินงาม
2. การขาดความเอาใจใส่ (inattention) เช่น การไม่สนใจผู้ร่วมสนทนา การอ่านหนังสือแต่จับใจความไม่ได้ เป็นต้น และสิ่งที่เห็นได้ชัดในชีวิตประจำวันคือ “ขี้ลืม” วางของผิดที่เสมอๆ อันนี้ตรงข้ามกับข้อแรกเลย คือเป็นสาวเฉื่อยที่ไม่ใส่ใจโลก อันนี้ก็เสี่ยงต่อการเป็นสมาธิสั้นได้นะคะ
3. ความบกพร่องทางอารมณ์ (Emotional disorder) เป็นพวกอารมณ์เสื่อม เก็บอารมณ์ไม่ได้นั่นเอง เช่น มีอารมณ์แปรปรวนต่อกันหลายชั่วโมงในหลายวัน มักจะโมโหง่ายและระเบิดออกมาบ่อยๆ อารมณ์หุนหันพลันแล่น มักตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงทันที มีพฤติกรรมต่อต้านความคิดและขาดความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบมีความรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่พอใจอย่างไม่มีเหตุผล ขาดระเบียบวินัย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือจัดการเรื่องเวลาได้ และไม่สามารถจดจ่อกับหน้าที่นานๆ ได้



ที่มา ... Chicministry.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์