สืบเนื่องกรณีเสี่ยเกาะเต่า และเก๋ เลเดอเรอ ทำอย่างไรถึงจะไม่สุญเสีย?


สืบเนื่องกรณีเสี่ยเกาะเต่า และเก๋ เลเดอเรอ ทำอย่างไรถึงจะไม่สุญเสีย?

ฆ่าตัวตาย : กรณีเสี่ยเกาะเต่า เก๋ เลเดอเรอ ป้องกันอย่างไร

ฆ่าตัวตาย ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆอยากให้เกิดขึ้น ทั้งกับตนเองเเละคนรอบข้าง จากกรณีข่าว 2 ข่าวดัง ที่มีการฆ่าตัวตายแบบติดๆ กัน 2 ราย คือ กรณีของเก๋ เลเดอเรอ และเสี่ยเกาะเต่า ที่ทำการไลฟ์สดฆ่าตัวตาย พร้อมกับทิ้งจดหมายไว้ให้กับคนข้างหลัง (สามารถติดตามข่าวได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ได้เลย)

จากประเด็นดังกล่าว ชีวจิตออนไลน์ ขอเเสดงความเสียใจของญาติผู้เสียชีวิตด้วยครับ เพราะความจริงเเล้วการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่ไม่มีใครที่ต้องการให้เกิดขึ้น อย่างเเน่นอน

ข้อมูลจากบทความเรื่อง "ฆ่าตัวตาย ด้วยการให้รถไฟฟ้าทับ : ป้องกันอย่างไร รวมทั้งในกรณีอื่น ๆ" โดย ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์

มาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า

"องค์การอนามัยโลกพบว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น มักป่วยเป็นโรคทางจิตเวชโรคใดโรคหนึ่ง หรือมีปัญหาจากการใช้สารเสพติด หรือปัญหาจากการดื่มสุรา แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง"

"และในปัจจุบันนี้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญเรื่อง การลดอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของโครงการเมืองไทยแข็งแรง คนไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) จึงทำให้อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยลดลง จากเดิมที่เคยอยู่ในอัตรา 7 ถึง 8 ต่อ 100,000 ประชากรต่อปี ลดลงมาล่าสุดอยู่ที่ 6.3 ต่อ 100,000 ประชากรต่อปี เท่านั้น"

และที่สำคัญ สมาพันธ์สุขภาพจิตโลก ต้องการเน้นว่า โรคทางจิตเวชนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการฆ่าตัวตาย การรีบรักษาโรคทางจิตเวช (เช่น โรคซึมเศร้า, โรคจิตเภท ฯลฯ) อย่างไม่ชักช้า จึงเท่ากับว่าเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายในอนาคตด้วย


วิธีป้องกันคนรอบตัว ฆ่าตัวตาย

สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้คนรอบข้างเสี่ยง ฆ่าตัวตายได้นั้น ศ.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เเนะนำไว้ดังต่อไปนี้

อันดับเเรกสุดนั้น เราต้องมีความใส่ใจต่อคนใกล้ชิดตัวเรา ซึ่งเป็นวิธีสำคัญอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายของคนที่เรารักได้หากเห็นว่าคนใกล้ชิดเรามีอาการหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ซึมลง แยกตัว นอนไม่หลับ เตรียมยกข้าวของที่สำคัญให้กับคนใกล้ชิด ไปบริจาคร่างกายหรือดวงตาให้กับหน่วยงานทางการแพทย์ พูดหรือบอกซ้ำ ๆ ว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป

โดยเฉพาะหากคนเหล่านั้นป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ที่รักษาไม่หายอยู่แล้ว ถือว่ามีความเสี่ยงอย่างมาก สมควรที่จะได้พาไปตรวจรักษากับแพทย์โดยด่วน เพื่อจะได้ประเมินความเสี่ยงและให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะได้ให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

นอกจากนี้ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ยังรณรงค์ให้เห็นความสำคัญที่จะช่วยเหลือในกลุ่มของญาติ หรือคนใกล้ชิดที่ต้องสูญเสียคนที่ตัวเองสนิทมากไปกับการฆ่าตัวตาย หรือเรียกว่า "ผู้ทุกข์ใจเพราะคนใกล้ชิด ได้เสียชีวิตจากการปลิดชีพตัวเอง (suicide survivors)"

เนื่องจากพบว่าคนเหล่านี้หลายคนที่มีปฏิกิริยาจากความสูญเสีย พลัดพรากจากไปของคนใกล้ชิด บางคนซึมเศร้า โทษตัวเองว่าเป็นผู้ผิดหรือเป็นเหตุให้คนใกล้ชิดต้องฆ่าตัวตาย

โดยคนเหล่านี้หลายคน ไม่ได้มารับบริการรับคำปรึกษาหรือตรวจรักษาจากทางการแพทย์ เพราะเข้าใจว่า เวลาจะเยียวยาใจหรือปล่อยไปสักพักก็คงทำใจได้เองในทางการแพทย์ได้มีหลัก ง่าย ๆ อยู่ว่า

"หากปฏิกิริยาเศร้าโศกเสียใจนั้นมีมากเกินไป จนคนเหล่านั้นไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตในสังคมตามปกติได้ หรือเป็นเวลานานเกินไป คือนานกว่า 3 ถึง 6 เดือน ก็ให้ถือว่าควรพามารับบริการทางการแพทย์โดยเร็ว"

สืบเนื่องกรณีเสี่ยเกาะเต่า และเก๋ เลเดอเรอ ทำอย่างไรถึงจะไม่สุญเสีย?

5 Steps
ช่วยเหลือคนที่มีอาการเศร้า หรือฆ่าตัวตาย

ข้อมูลจาก The National Institute of Mental Health Information Resource Center ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำไว้ดังต่อไปปนี้

ข้อ 1 ถาม
"คุณกำลังคิดอยากการฆ่าตัวตายหรือไม่?" ไม่ใช่คำถามง่ายๆ เลยที่เราจะถาม แต่จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการได้พูดคุยกับบุคคลที่มีความเสี่ยงอยากฆ่าตัวตาย หรืออยู่สภาวะเศร้า หากพวกเขากำลังคิดจะฆ่าตัวตายจะไม่ทำให้เขาเหล่านั้นมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือเพิ่มการฆ่าตัวตาย

ข้อ2 ทำให้เขารู้สึกมีความปลอดภัยให้ปลอดภัย
การลดการเข้าถึงวัตถุหรือสถานที่ที่เป็นอันตราย ที่สามารถทำให้ถึงตายได้จะเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการฆ่าตัวตายได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แต่ก็สามารถทำให้บุคคลที่มีความเสี่ยงลดการฆ่าตัวตายได้ หรือเรียกง่ายๆว่า ทำไว้ดีกว่าแก่จะดีกว่า

ข้อ 3 อยู่กับเขาเหล่านั้น อย่าปลอยให้ลำพัง
ตั้งใจฟังทุกคำพูด อย่างระมัดระวัง และเรียนรู้สิ่งที่เขากำลังคิดและรู้สึก มีผลการวิจัยพบว่า การที่เรายอมรับและพูดความจริง จะสามารถช่วยลดลดความคิดในการฆ่าตัวตายได้

ข้อ4 ช่วยเป็นตัวประสานให้เขาเหล่านั้นกับคนอื่นๆ
จดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณเพื่อให้เขาได้มีเวลาโทรหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้คุณยังสามารถช่วยติดต่อ เชื่อมสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่เชื่อถือได้เช่นกัน เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อนที่ปรึกษาด้านจิตใจ หรือแม้กระทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หรือปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323

ข้อ5 อยู่ข้างๆคอยให้คำปรึกษา
การติดต่อกันหลังจากวิกฤติ หรือหลังจากออกจากโรงพยาบาล สามารถสร้างความแตกต่างได้ โดยผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายลดลงเมื่อมีบุคลที่คอยติดตาม และให้คำปรึกษา สามารถลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้

Cr:::goodlifeupdate.com

สืบเนื่องกรณีเสี่ยเกาะเต่า และเก๋ เลเดอเรอ ทำอย่างไรถึงจะไม่สุญเสีย?

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์