หมอกจางๆ และควัน.. หาวิธีป้องกันกันให้ดี

หมอกจางๆ และควัน.. หาวิธีป้องกันกันให้ดี


สถานการณ์หมอกควันในเขตภาคเหนือ กำลังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง

จากรายงานสถิติของหลายจังหวัดพบว่ามีผู้ป่วยได้รับผลกระทบเข้ารักษาในโรงพยาบาลแล้วจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นป่วยจากโรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หอบหืด และ โรคตาอักเสบ แต่เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงต้องปรับตัวเพื่อป้องกันและดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากฝุ่นละอองในอากาศ

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราหายใจอากาศที่มีฝุ่นละออง
ระบบทางเดินหายใจมีกระบวนการมากมายที่ใช้ป้องกันอนุภาคขนาดเล็ก เมื่อเราหายใจฝุ่นละอองทั้งหมด จะไม่สามารถเข้าสู่ปอด มีเพียงฝุ่นละอองบางส่วนที่ผ่านการกรองที่จมูกเข้าไปได้เท่านั้น เมื่อเข้าไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างจะมีระบบเมือก (mucus) และซิเลีย (cilia) ที่คอยดักจับอนุภาคแปลกปลอม และขับออกมาในรูปของ เสมหะ หรือการไอ


อย่างไรก็ตามยังมีฝุ่นละอองบางส่วนที่สามารถเข้าถึงถุงลมปอด (alveoli) ซึ่งเป็นบริเวณที่ใช้แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ถึงกระนั้นภายในถุงลมฝอย ก็ยังมีเม็ดเลือดขาวชนิดมาโครฟาจ (macrophage) ที่ช่วยดักจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาและขับสิ่งแปลกหลอมเหล่านั้นออกโดยการโบกพัดของซิเลีย

เมื่อฝุ่นละอองเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาภายในร่างกาย เริ่มตั้งแต่เกิดอาการแพ้หรืออักเสบในโพรงจมูก โพรงไซนัส ช่องคอ และหลอดลม จนทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หอบหืด เนื่องจากเมื่อฝุ่นละอองเข้าไปถึงส่วนที่อยู่ลึกที่สุดของทางเดินหายใจ ซึ่งก็คือ  ถุงลมปอด เมื่อฝุ่นละอองสะสมเป็นปริมาณมากเกินกว่าความสามารถที่มาโครฟาจ จะกำจัดออกไปได้ จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อปอด จนเกิดเป็นโรคปอดอักเสบ เมื่อเป็นเรื้อรังก็จะทำให้เกิดพังผืด หรือเกิดรอยแผลเป็นภายในปอดได้

ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาเหล่านี้ได้แก่ ปริมาณ ขนาด ชนิดของฝุ่นละออง รูปแบบการหายใจ อัตราการหายใจ และระยะเวลาที่หายใจอากาศที่มีฝุ่นละอองเหล่านี้

ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นละออง หมอกควันได้ มีคำแนะนำง่ายๆ ที่ได้ผลคือควรสวมหน้ากากอนามัยชนิดกรอง 3 ชั้น ซึ่งจะช่วยป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอนได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 ที่สามารถกรองฝุ่นละอองที่มีขนาดตั้งแต่ 0.3 ไมครอนได้


ภาวะปอดเป็นฝุ่น (Dusty lung หรือ Pneumoconiois)
เป็นภาวะที่ปอดถูกทำลายจากฝุ่นละออง แบ่งเป็นชนิดที่ทำให้ปอดเกิดพังผืด (Fibrosis) และชนิดที่ทำให้ปอดขาดความยืดหยุ่นเพียงอย่างเดียว (Stiff and lost elasticity) ฝุ่นละอองแต่ละชนิดจะทำลายปอดในลักษณะ ที่แตกต่างกัน เมื่อปอดถูกทำลายจะเสียสภาพความยืดหยุ่น และขาดประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซอย่างถาวร มีผลกระทบต่อเนื่องต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา

หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละออง 
ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีหมอกควันหรือฝุ่นละออง ควรใช้หน้ากากอนามัยชนิดกรอง 3 ชั้นปิดปากและจมูก

ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน และถ้าเป็นไปได้ควรใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง เพื่อสุขลักษณะที่ดี


หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองติดต่อกันยาวนาน เช่น เกินกว่าสัปดาห์ หรือเดือน ควรเตรียมความพร้อมด้านการกรองอากาศในที่อยู่อาศัย เช่น ติดระบบกรองอากาศในบ้าน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของฝุ่นต่อร่างกายได้ โดยเลือกใช้ระบบกรองอากาศที่เหมาะสม และสามารถถอดล้างได้


ในระยะยาว สำหรับบริเวณพื้นที่ว่างเปล่า ควรปลูกพืชคลุมหน้าดินไว้ เพื่อลดโอกาสที่ฝุ่นละอองจะลอยฟุ้งขึ้นมาในอากาศได้

สำหรับ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ  โรคหลอดเลือด  โรคความดัน โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้  โรคหอบหืด  ควรเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม และ พกติดตัว เพื่อป้องกันและใช้รักษาเมื่ออาการกำเริบ หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก  แน่นหน้าอก  ควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์