อารมณ์ป่วย ร่างกายป่วย

อารมณ์ป่วย ร่างกายป่วย



คุณหมออนันต์ ธนากรประเสริฐ


จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลบางประกอก1 กล่าวว่า "การบอกให้คนวัยเกินเด็ก ที่มีความรู้เรื่องต่างๆ ดี (IQ หรือ Intelligence Quotient) ให้เข้าใจปัญหาแท้ๆ ของตัวเองเป็นเรื่องยาก"เพราะทุกครั้งที่ชี้ตรงไปที่ต้นตอของปัญหา เขามักสร้างเกราะป้องกันตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้น

ด้วยการเหวี่ยงความผิดไปที่คนอื่น ฉุนเฉียวหนักกว่าเดิม หรืออาจรับฟัง
พยายามปรับปรุงตัวเอง แต่ก็เป็นแค่การเลียนแบบพฤติกรรมคนอื่น
ซึ่งไม่นานก็กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก สะท้อนการไม่รู้จักตัวเอง (personal meaning)

คุณสมบัติ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ; Emotional Quotient)


1. ความสามารถในการอดทนรอคอย ไม่เป็นคนอารมณ์ร้อน วู่วาม โกรธง่าย
ชอบตำหนิผู้อื่น(Perseverance)

2. ความสามารถในการมองโลกด้านบวก (Optimism)

3. ความรู้จักเข้าใจตนเอง (Self Awareness)

4. ความเห็นใจผู้อื่น (Empathy)

5. ความสามารถในการแก้ปัญหาและความคับข้องใจ (Problem Solving)

ความฉลาดทางอารมณ์ไม่ใช่เรื่องตามกระแส แต่เป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนเพราะชีวิตคนเรามีปัญหาให้ต้องแก้ไขตลอดเวลา ทั้งกับตัวเอง คนรอบข้าง และสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข สงบ โดยเฉพาะมีงานวิจัยมากมายยืนยันว่า คนที่ได้รับการฝึกฝนให้อดทน รอคอยเป็น มักจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่า ทั้งในด้านการปรับตัวเข้ากับเพื่อนฝูง การอยู่ร่วมกันในสังคม
นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไขความขัดแย้งได้ดีกว่าอีกด้วย

สำหรับผู้ป่วยก็เช่นเดียวกัน มีการค้นพบว่าผู้ที่มีความเข้าใจอารมณ์ตนเอง
ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งของอีคิว จะมีระบบร่างกายที่สมดุลกว่า จึงไม่น่าแปลกใจ
ที่คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำจะเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคที่มาจากความเครียดหลายโรคด้วยกัน

ปกติสมองของคนเราจะรับรู้ผ่านประสาทตาหูจมูก


แล้วส่งสัญญาณไปที่ทาลามัส (thalamus) ต่อไปที่นีโอคอร์เท็ค neocortex สมองส่วนลิมบิก (limbic brain อันเป็นที่อยู่ของอมิกดาล่า) สมองทั้งหมด (whole brain) สุดท้ายจึงไปถึงร่างกาย เป็นการแสดงออกผ่านดวงตา คำพูด อากัปกิริยาต่างๆ

โดยสมองส่วนนิโอคอร์เท็คจะเป็นตัวควบคุมความคิด ตัดสินใจทำอะไร รวมไปถึงการยั้งอารมณ์ ฉะนั้นการเชื่อมประสานกันระหว่างนิโอคอร์เท็คและอะมิกดาล่า
คือหัวใจของความฉลาดทางอารมณ์

อารมณ์ป่วย ร่างกายป่วย


โง่ทางอารมณ์ก่อโรค


มองในภาพรวม ความฉลาดทางอารมณ์นั้นสัมพันธ์โดยตรงกับบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย มีผลต่อการจัดการชีวิตและอยู่ร่วมกับคนอื่น แต่เพราะการไม่ควบคุมต่างๆนานา (อารมณ์ ความรู้สึกอันได้แก่ ความอยาก ความโกรธ ความเศร้า รวมไปถึงความสุข พึงใจสุดขั้ว) ไม่ใช่หรือที่ทำให้ชีวิตขาดสมดุล มีผลโดยตรงต่ออิมมูนซิสเต็ม (immune system) และอิมมูนซิสเต็มนี่เองที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเรา

โรเบิร์ต อาเดอร์ Robert Ader นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์
สหรัฐอมเมริกาค้นพบว่าอิมมูนซิสเต็มเรียนรู้ได้ เพราะถือว่าเป็น Body Brain
โดยจะเดินทางไปตามเส้นเลือดเพื่อเลี้ยงร่างกาย และมีความสัมพันธ์กับทุกๆเซลล์ นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับประสาทส่วนกลางด้วย อิมมูนซิสเต็มจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของสัญญาณจากระบบประสาทและสมอง

เมื่อเกิดอารมณ์ด้านลบร่างกายจะเสียสมดุล

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น คอนติซอล อินซูลิน
อะดรีนาลีน และอื่นๆ ร่วมกับการทำงานที่ไม่สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ
จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น โรคบางชนิดก็เป็นผลจากอารมณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น ไมเกรน มักเกี่ยวกับความโกรธและความไม่พอใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมักเกี่ยวกับอารมณ์เครียด การแข่งขันเอาชนะ

ขณะที่อาการปวดท้อง

ท้องเสียเป็นตัวบอกสภาวะของการไม่อยากเผชิญหน้า คนเศร้า ขี้กังวล มองโลกในแง่ร้าย หวาดระแวงตลอดเวลา ก็ก่อให้เกิดโรค ภูมิแพ้ ปวดหัว และหัวใจได้ถึง 2 เท่า ส่วนคนที่มีประสบการณ์ความชิงชังในอดีต นำไปสู่การเป็นคนก้าวร้าว ขี้หงุดหงิด ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้เหมือนกัน

จัดการกับอารมณ์ตัวเองเถอะนะ


อย่างที่เราทราบกันดี ความฉลาดทางอารมณ์เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนกันตั้งแต่เด็ก
แต่เมื่อข้ามผ่านวัยนั้นมาแล้ว ก็ใช่ว่าจะสายเกินไป เพียงแต่เจ้าตัวต้องอาศัยความเข้าใจตัวเอง และความอดทนอย่างสูง

ก่อนอื่นต้องให้เจ้าตัวตระหนักรู้ปัญหาของตัวเองก่อนอย่างอื่น ซึ่งเป็นเรื่องยากพอควร ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น หรือมีความทุกข์บ่อยๆ เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น เช่น รู้สึกว่า เขาถูกเอาเปรียบมาก เข้ากับคนอื่นไม่ได้เลย หรือว่าถูกคนอื่นแอนตี้ ไม่เอาเข้าพวก หรืออีกพวกคือ ไม่สนใจใครเลย ก็จะปลีกตัวออกจากสังคม เก็บตัวอยู่กับตัวเอง ซึ่งก็ยิ่งยาก เพราะเจ้าตัวก็ไม่ต้องการการแก้ไขเลย

ดังนั้นต้องพยายามให้เขาได้มีโอกาสสำรวจตัวเองจริงๆ ลองสำรวจว่าเกิดอะไรขึ้นจริงๆ โดยเฉพาะในใจของเขา ดีกว่าโทษคนอื่น สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม อย่างคนที่อารมณ์รุนแรงจะรู้สึกว่า คำพูด ท่าทาง ปฏิกิริยาของคนแวดล้อมนั้น มีอะไบางอย่างมากระทบใจเขาอย่างรุนแรง ขัดใจเขา จนเจ็บปวดมาก ต้องระเบิดอารมณ์ออกมา ถ้าเขาเห็นขณะที่เขาเกิดอารมณ์แบบนี้บ่อยๆ

เขาเริ่มเห็นภาพตัวเองชัดขึ้น


เวลาแก้ไข เราจะให้เขาแก้ที่องค์ประกอบของตัวเอง ไม่ใช่จะต้องแก้เพราะเขาผิดหรือแย่ แต่เป็นเพียงแค่เห็นบางจุดที่รอการพัฒนา โดยที่เวลานี้เขายังทำตรงนั้นไม่ได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรังจนกระทั่งเกิดปัญหา ต้องให้เขาแยกแยะได้ระหว่างตัวตนกับการกระทำของเขา หากในรายที่เริ่มรู้ปัญหาและพร้อมจะรับการแก้ไข ก็ไม่ยากเย็นนัก เริ่มตามลำดับขั้นจาก

1. รู้ว่าตัวเองมีความทุกข์ ต้องการการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ หรือลักษณะนิสัยบางอย่าง บางครั้ง บางคนอาจเป็นแค่ความฉลาดทางอารมณ์บกพร่องนิดหน่อย เช่น ขี้หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ ไม่ค่อยคุมคำพูด แต่รู้สึกว่า ตัวเองต้องการการเปลี่ยนแปลง

2. ควบคุมพฤติกรรมตัวเองขั้นพื้นฐานก่อน ซึ่งถือเป็นกฎเหล็ก คือ ไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่ทำร้ายคนอื่น ไม่ทำลายข้าวของ ไม่ว่าจะทุกข์แค่ไหน โกรธแค่ไหนก็ตาม ในช่วงแรกของการแก้ไข เจ้าตัวยังเลี่ยงที่จะมีอารมณ์แบบเดิมไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ตราบใดที่ไม่ทำสามข้อนี้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิด จะไม่มีการตำหนิลงโทษใดๆ หรือคนทั่วไปจะยึดศีล 5 ก็ได้ ไม่ทำผิดทั้งร่างกายและวาจา

3. เสริม positive thinking คือ ฝึกความคิดที่มีต่อตัวเอง คนอื่น และภาวะสิ่งแวดล้อมในด้านบวกให้มากขึ้น

4. สมาธิบำบัด ความจริงเรื่องการทำสมาธิถือเป็นหัวใจของการแก้ปัญหาเรื่องอีคิว แต่สำหรับคนที่มีปัญหาจริงๆ เขาจะไปฝึกสมาธิเลยไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นการเอาจิตใจไปจดจ่ออยู่กับความโกรธ ความแค้น ประสบการณ์ร้ายๆที่ฝังอยู่ในความทรงจำ นอกจากไม่ให้ผลดี ยังก่อผลร้ายได้อีกต่างหาก ดังนั้นจึงควรเริ่มจากรู้ตัวเองบ่อยว่าขณะนั้นตัวเองรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร เป็นเรื่องฝึกสติ และสมาธิไปพร้อมกัน เมื่อย้อนกลับมามองสาเหตุจากการทำงานของสมองที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์

การฝึกสติสมาธิ คือ

อารมณ์ป่วย ร่างกายป่วย


การดึงพลังสมองส่วนนีโอคอร์เทคซึ่งเป็นตัวควบคุมการแสดงออกทั้งหมด มาใช้
สติทำให้รู้ตัวบ่อยๆ ไม่เผลอไปกับอารมณ์และสิ่งเร้า อันเกิดจากอมิกดาลาอันเป็นส่วนหนึ่งของลิมบิก ซิสเต็ม

เมื่อฝึกสมาธิ ซึ่งเท่ากับคือการฝึกพลังของนีโอคอร์เทคไปสักระยะหนึ่ง เริ่มสงบนิ่งมากขึ้น ไม่ต้องแสดงออกเพื่อให้คนอื่นสนใจทุกครั้งที่ปรากฏตัวอีกต่อไปแล้ว เป็นการสนองความต้องการของตัวเองได้ รักและชื่นชมตัวเองเป็น รู้การจัดวางอารมณ์และแสดงออกมากขึ้นเมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่น รู้ว่าตัวเองถนัดและเหมาะกับอะไรจริงๆ ชีวิตก็เป็นสุขและลงตัวมากขึ้น


สนับสนุน FWDmail ขำขันโดย:
คุณจ๋า จาก FWmail

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์