อาหารที่ควรถวายพระ

อาหารที่ควรถวายพระ


ในการแถลงข่าวเรื่อง "วิจัยสุขภาวะสงฆ์ไทย...ถวายอาหารเข้าพรรษาอย่างไร ให้อิ่มบุญ" โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช คณะสหเวช ศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายว่า กลุ่มพระสูงวัยจะป่วยด้วยโรคเรื้อรังมาก เช่น น้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน


 

พบข้อมูลน่าสนใจอย่างหนึ่งว่า น้ำปานะที่พระสงฆ์บริโภคหลังมื้อเพล อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เพราะมีจำนวนน้ำตาลสูง บางชนิดมีกาเฟอีนสูง เมื่อดื่มวันละหลายกล่องจึงทำให้เกิดปัญหาได้ ทั้งน้ำหนักเกิน และโรคเบาหวาน ซึ่งพบว่าอาหารกลุ่มกาเฟอีนสูง ยังกระทบต่อโรคกระเพาะอาหารด้วย ส่วนอาหารใส่บาตร โดย มากที่เป็นอาหารถุง พบว่าเน้นหนักแต่แป้ง คาร์โบไฮเดรต แต่มีปริมาณโปรตีนค่อนข้างน้อย ที่น่าตกใจคือ อาหารที่จำหน่ายใส่บาตรจำนวนมากมีความไม่สะอาดพอ พบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มเกือบร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมด

เหตุใดที่พระสงฆ์เกิดความเจ็บป่วยขึ้น พระมหาสุทิตย์ อาภากโร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพระพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อธิบายว่า อาจเป็นเพราะพฤติกรรมของพุทธศาสนิกชนเปลี่ยนไป จากเดิมที่ทำกินอย่างไร ก็ใส่บาตรทำบุญอย่างนั้น เป็นมีความเชื่อว่าการใส่บาตรต้องใช้อาหารที่มีชื่อมงคล อาหารที่พระสงฆ์ฉัน ซึ่งจะไม่สามารถเลือกได้ตามหลักพุทธศาสนา จึงเป็นอาหารซ้ำๆ เดิมๆ ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของกะทิและน้ำตาล อาทิ แกงกะทิ ขนมทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น

"การตักบาตรทำบุญที่จะได้อานิสงส์สูงสุด ไม่ได้อยู่ที่ชื่อหรือประเภทอาหาร แต่เป็นอาหารที่สะอาด ปลอดภัย รสไม่จัดก็พอ สิ่งสำคัญคือต้องทำด้วยเจตนาองค์ 3 ได้แก่

1.บุพพเจตนา หรือเจตนาเบื้องต้น คือ มีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะถวายภัตตาหารที่หามาโดยสุจริต

2.มุญจเจตนา คือ เจตนาขณะกระทำ ถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆบูชา และนึกถึงผู้มีพระคุณ และ

3.อปรเจตนา คือ เจตนาหลังกระทำ ด้วยการอนุโมทนาบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ" พระมหาสุทิตย์อธิบาย


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์