ฮือฮา มช. เจ๋งวิจัยสาหร่ายเล็ก ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

ฮือฮา มช. เจ๋งวิจัยสาหร่ายเล็ก ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

ฮือฮา มช. เจ๋งวิจัยสาหร่ายเล็ก ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (24 ธ.ค.)  ผู้สื่อข่าวทราบว่าที่สาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีวิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถนำสาหร่ายขนาดเล็กมาทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซล เติมเชื้อเพลิงรถได้สำเร็จ เมื่อทราบดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามยังสาขาวิชาจุลชีวิทยา เพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ น้ำมันชีวภาพจากสาหร่ายขนาดเล็ก”

รองศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี พีรพรพิศาล  อาจารย์ประจำสาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

เปิดเผยว่า  ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า เชื้อเพลิงจากถ่านหินกำลังใกล้หมดไปจากโลกของเรา และน้ำมันจากแหล่งธรรมชาติก็กำลังถูกใช้ไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายประเทศก็ได้พยายามหาพลังงานจากแหล่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะได้มาจากถั่วเหลือง สบู่ดำ ดอกทานตะวัน ปาล์มน้ำมัน เศษวัสดุทางการเกษตร รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ที่สามารถนำมาหมักให้เป็นเอธานอล โดยใช้จุลินทรีย์ซึ่งก็เป็นพลังงานสะอาดอีกรูปแบบหนึ่ง

แต่ทั้งนี้ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อีกชนิดหนึ่งซึ่งพึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันไม่นานนักว่าสามารถให้พลังงานแก่โลกของเราด้วยศักยภาพที่สูงและไม่มีวันหมด
 
บางคนให้ความเห็นว่าสิ่งมีชีวิตนี้เป็นความหวังเดียวในโลกด้วย ซึ่งก็คือสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) ซึ่งเราจะพบเห็นโดยทั่วไปทั้งในน้ำ บนบก แม้กระทั่งในอากาศซึ่งอยู่ในรูปของสปอร์ ที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือในน้ำ โดยเฉพาะในน้ำที่มีสีเขียว ทั้งเขียวใสและเขียวขุ่น ซึ่งเราเรียกสาหร่ายขนาดเล็กนี้ว่าแพลงก์ตอนพืช โดยทั่วไปจะทราบกันอยู่แล้วว่าสาหร่ายขนาดเล็กเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการสังเคราะห์แสงซึ่งต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นวัตถุดิบ ผลลัพธ์ที่ได้คือน้ำตาลซึ่งจะเป็นอาหารของพืชและก๊าซออกซิเจน


ฮือฮา มช. เจ๋งวิจัยสาหร่ายเล็ก ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

ดังนั้นทางสาขาวิชาจุลวิทยา จึงได้นำสาหร่ายดังกล่าวมาทำการวิจัยเพื่อให้ทราบประโยชน์ของสาหร่ายชนิดนี้ให้มากที่สุด
 
ซึ่งก็พบว่าสาหร่ายเหล่านี้ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ และพร้อมกันนั้นก็ให้ก๊าซออกซิเจนแก่แหล่งน้ำหรือสิ่งแวดล้อมด้วย จากนั้นจึงได้ศึกษาหาคุณสมบัติเพิ่มเติมในเรื่องของพลังงาน ซึ่งจากการศึกษา เริ่มจากเซลล์ของสาหร่ายเหล่านี้มีกรดไขมันค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับพืชอื่นๆ โดยทั่วไปจะมีราว 20 เปอร์เซนต์ แต่บางชนิด อาจมีถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสามารถเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเหล่านี้ได้เป็นปริมาณมากๆ แล้วนำมาผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เอสเทอริฟิเคชัน (esterification) ในที่สุดก็จะได้ไบโอดีเซล ซึ่งใช้เป็นน้ำมันเต็มรถให้รถวิ่งฉิวได้เลย หรืออาจจะใช้กระบวนการทางกายภาพโดยการเผาด้วยความร้อนสูงๆ ที่เรียกว่าไพโรไลซิส (pyrolysis)
 
ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน ในสภาวะไร้อากาศ ซึ่งในที่สุดก็จะได้น้ำมันก็ออกมาเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีกระบวนการอื่นๆ อีกหลายอย่างที่สามารถเปลี่ยนชีวมวลของสาหร่ายเป็นน้ำมันได้

สาหร่ายขนาดเล็กเองก็มีสิ่งที่ได้เปรียบพืชน้ำมันอื่นๆ มากมาย

นอกจากจะมีกรดไขมันสูงแล้ว ยังเพาะเลี้ยงง่าย ใช้สารอาหารที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เก็บเกี่ยวได้เร็ว  ราว 2-3 อาทิตย์ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว น้ำเลี้ยงสาหร่ายยังสามารถเลี้ยงสาหร่ายรุ่นต่อไปได้อีกหลายครั้ง แล้วการเลี้ยงก็ใช้พื้นที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับการปลูกพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกพืชน้ำมันชนิดต่างๆ อีกด้วย ข้อได้เปรียบเหล่านี้นำมาซึ่งความหวังที่จะได้น้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็กอย่างยิ่งยวด และนับเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยในเรื่องพลังงานชีวภาพของสาหร่ายขนาดเล็กจากบริษัทแอลวีเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศต่างๆ ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก
 
ถ้านำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้มาเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กให้เจริญอย่างรวดเร็วแล้วนำมวลของสาหร่ายมาใช้เป็นพลังงานอีกทางหนึ่งให้กับโรงงานน่าจะเป็นแนวคิดที่ดี คาดว่างานวิจัยในเรื่องนี้คงจะสำเร็จภายในปี 2556 อย่างไรก็ตามงานวิจัยสาหร่ายน้ำมันยังต้องดำเนินการต่อไปอีกสักระยะหนึ่งและจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติจริงๆ ก็ต่อเมื่อสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างสมเหตุสมผล ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตเวลานั้น เราคงได้น้ำมันจากสาหร่ายไปใช้เติมรถกันได้อย่างทั่วถึง.

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์