เชิดสิงโตเฮง..เฮง... รับตรุษจีน

สำหรับการแสดงเชิดสิงโตนั้น


ชาวจีนมีความเชื่อกันว่า ผู้ใดได้ชม จะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคล จึงได้มีการสืบทอดการแสดงมากว่าพันปี ในสมัยก่อน

การเชิดสิงโตที่นิยมแสดง มี 2 ประเภท ได้แก่

การเชิดสิงโตแบบโบราณ คือ การแสดงกายกรรมต่อตัว และ การเชิดสิงโตแบบปีนกระบอกไม้ไผ่

ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกหนึ่งประเภท ได้แก่

การเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบเอเชีย อาทิ จีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทย

โดยปัจจุบันการเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยนี้ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่ง และได้รับการจัดไว้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อีกด้วย

เชิดสิงโตเฮง..เฮง... รับตรุษจีน


และในเทศกาลตรุษจีนรับปีหมูทองนี้

เชิดสิงโตเฮง..เฮง... รับตรุษจีน


ใครที่อยากจะชมการแสดงเชิดสิงโตให้ชีวิตเฮง..เฮง...ลองแวะไปทีฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ที่เตรียมต้อนรับเทศกาลตรุษจีด้วยการจัดงานใหญ่

การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยชิงแชมป์แห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และ การประกวดวงมโหรีชิงถ้วยประทานจาก พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณวรีนารีรัตน์

ที่จะมีสิงโตหลากหลายประเภทมาแสดงให้ชมด้วย รอบชิงชนะเลิศในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ศกนี้ที่ลานกิจกรรมชั้น G ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค

เกร็ดความรู้เรื่องการเชิดสิงโต

การเชิดสิงโตเป็นประเพณีของชาวจีน

โดยเชื่อว่าเป็นการตัดสิ่งอัปมงคลและนำความเป็นสิริมงคลมาสู่พื้นที่

สิงโตที่เชิดนั้น แต่โบราณมีการเชิดกันตามความเชื่อ

และมีลักษณะต่างกันไปตามพื้นที่ของแต่ละที่ แต่ความเป็นมาที่คล้ายกันคือเป็นรูปทรงสิงโตที่เลียนแบบจากสิงโตทางเหนือซึ่งได้รับอิทธิพลจากต่างถิ่นของประเทศจีน

สิงโตในท้องถิ่นของจีน

เชิดสิงโตเฮง..เฮง... รับตรุษจีน


แต่เดิมจะมีรูปทรงและสีสันไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่ที่ถือเป็นแพร่หลายที่สุดคือสิงโตแถบมณฑลกวางตุ้ง ที่ส่วนใหญ่สังกัดสำนักกังฟูและต่อมาก็ได้รับการเผยแพร่สู่นอกประเทศโดยสำนักกังฟูต่าง ๆ

แต่เดิมสิงโตแต่ละท้องถิ่น

จะเชิดกันโดยอาศัยความสูงเป็นข้อบ่งชี้ความสามารถของทีมสิงโต และแสดงเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของเจ้าภาพที่จัดขึ้น

เชิดสิงโตเฮง..เฮง... รับตรุษจีน


ต่อมาได้มีกลุ่มประเทศที่อยู่ภาคพื้นเอเชีย


ได้ก่อตั้งสหพันธ์สิงโตนานาชาติขึ้น และกำหนดวิธีการแข่งขันสิงโตเป็นลักษณะสากลนิยม ด้วยการแสดงความสามารถของเทคนิกการเชิดสิงโตบนเสาต่างระดับ

สิงโตได้รับการพัฒนาโดยชาวจีนโพ้นทะเล

ในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากได้วิวัฒนาการเป็นกีฬา โดยมีการแข่งขันระดับนานาชาติตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 2 ณ เมืองมาเก๊า เป็นครั้งแรก

ปัจจุบันกีฬาสิงโตได้บรรจุเป็น Event หนึ่งของกีฬาวูซู ที่แข่งขันในกีฬาแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมาของสิงโต


สิงโตได้เข้ามาในรัชสมัยของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ซึ่งชาวจีนใน สมัยนั้นได้เข้ามาค้าขายในแผ่นดินสยามและเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาชาวจีนเหล่านั้นได้ทำสิงโตมาเชิดแสดงต่อหน้าพระที่นั่งให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงทอดพระเนตร

เพราะความเชื่อของชาวจีน

เชื่อว่าผู้ใดได้ชมการเชิดสิงโตจะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง เป็น สิริมงคล นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการแสดงสิงโตก็ได้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันประมาณ 400 กว่าปีแล้ว

เชิดสิงโตเฮง..เฮง... รับตรุษจีน


ส่วนการแสดงสิงโตในเมืองไทยที่นิยมแสดงมีอยู่ 2 ชนิด

เชิดสิงโตเฮง..เฮง... รับตรุษจีน


คือ ชนิดแบบโบราณ

คือ การแสดงแบบกายกรรมต่อตัว และ ปีนกระบอกไม้ไผ่ ที่เรามักเห็นกันทั่วไป ซึ่งการแสดงเชิดสิงโตในประเทศจีน คณะสิงโต จะสังกัดค่ายมวย เพราะผู้แสดงต้องฝึกวิชากังฟู

เนื่องจากผู้เชิดจะต้องแสดงลีลาประกอบการเคลื่อนไหว

ท่วงท่าของวิชามวยจีน ช่วงล่างต้องมีความแข็งแกร่ง ส่วนในเมืองไทยสิงโตไม่ได้สังกัดสำนักมวยเหมือนอย่างประเทศจีน แต่จะขึ้นอยู่กับศาลเจ้าบ้าง วัดบ้าง การฝึกสอนก็อาศัยจากรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง

ในปัจจุบันการเชิดสิงโตได้มีการพัฒนาขึ้นอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่

การเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย ซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างมากในแถบเอเซีย อาทิ ประเทศจีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทยด้วย ในปัจจุบัน การแสดงเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยถูกปรับให้เป็นกีฬาแล้ว

และถูกบรรจุในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์และกีฬาแห่งชาติ หลังจากเป็นกีฬาสาธิตอยู่หลายปี

เชิดสิงโตเฮง..เฮง... รับตรุษจีน


การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยถือ


เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ชมให้ความสนใจมากทีเดียว กีฬาสิงโตในต่างประเทศจะขึ้นอยู่ในความดูแลของสมาพันธ์กีฬาสิงโตของแต่ละประเทศ แต่ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับสมาคมวูซูแห่งประเทศไทย

โดยล่าสุดการแข่งขันกีฬาสิงโตอย่างเป็นทางการได้ถูกบรรจุให้เข้าแข่งขันในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 35 สุพรรณบุรีเกมส์ ระหว่างวันที่ 9 19 กันยายน 2549 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์