เช็คหน่อยว่าเป็นไหม! โรค Atelophobia กลัวตัวเองดีไม่พอ


เช็คหน่อยว่าเป็นไหม!  โรค Atelophobia กลัวตัวเองดีไม่พอ


Atelophobia นั้นคืออาการของการของการกลัวที่จะทำผิดพลาด กังวลว่ามันจะออกมาสมบูรณ์แบบ หรือกลัวว่าตัวเองจะดีไม่พอสำหรับอะไรก็ตามจนทำให้จิตตกไม่กล้าเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ
เพราะกลัวความผิดพลาดและกลัวว่ามันจะไม่ดีพอ หากผลลัพธ์ที่ได้มาไม่ตรงไปตามความคาดหวัง พวกเขาจะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ผิดพลาด และมีความเครียด หรืออาจจะมีภาวะซึมเศร้าได้ โดยอาการเหล่านี้มักจะพบได้ส่วนใหญ่ในคน Gen หลังๆ รวมไปถึงคนที่เก่งและมีความสามารถหลากหลายรอบด้าน

โดยคำว่า Atelophobia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Atelo แปลว่า ไม่สมบูรณ์แบบ และ phobia แปลว่า ความกลัว เมื่อรวมกันแล้ว Atelophobia จึงแปลได้ว่า อาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบนั่นเอง




เช็คหน่อยว่าเป็นไหม!  โรค Atelophobia กลัวตัวเองดีไม่พอ


โรค Atelophobia อาการเป็นอย่างไร

คนที่เป็นโรค Atelophobia หรือกลัวความไม่สมบูรณ์แบบมักจะมีความวิตกกังวลว่าตัวเองจะทำในสิ่งที่ไม่ดีพอ กลัวว่าสิ่งที่จะทำจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด และหากผลลัพธ์ที่ได้มาไม่ตรงไปตามความคาดหวัง จะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ผิดพลาด และมีความเครียด หรืออาจจะมีภาวะซึมเศร้าได้

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วย Atelophobia รู้สึกวิตกกังวลหรือมีความกลัวในความไม่สมบูรณ์แบบขึ้นมา อาการแสดงของผู้ป่วยโรค Atelophobia จะมีดังนี้

- วิตกกังวลอย่างรุนแรง

- หายใจสั้น ถี่ หายใจหอบ

- หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

- เหงื่อแตก

- คลื่นไส้ อาเจียน

- ปากแห้ง คอแห้ง

- สับสน ไม่เป็นตัวของตัวเอง

- ขาดสมาธิ

- ตัวสั่น

- อยู่ไม่สุข

- อ่อนแรง

- สูญเสียการควบคุมอารมณ์และการกระทำ

- เก็บตัว แยกตัวเองออกจากสังคม

- ปวดศีรษะ




เช็คหน่อยว่าเป็นไหม!  โรค Atelophobia กลัวตัวเองดีไม่พอ


Atelophobia รักษาอย่างไร

แนวทางการรักษาโรคกลัวหรือโฟเบีย (Phobia) มีวิธี ดังนี้

1. การบำบัดรักษาโรคกลัวตามแนวทางการหยั่งเห็น (Insight therapy)

เป็นการรักษาที่มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับตัวเอง การพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจและมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เพื่อนำไปสู่การควบคุมและปรับปรุงความคิด รวมไปถึงพฤติกรรมของตนได้ดีขึ้น

2. การบำบัดรักษาโรคกลัวตามแนวทางพฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy)

วิธีนี้จะประกอบไปด้วยแนวทางการลดความกลัวด้วยการวางเงื่อนไข วิธีลดความกลัวอย่างเป็นระบบ วิธีเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าของโรคกลัว ซึ่งในแต่ละวิธีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจะปรับการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละบุคคล

3. การรักษาด้วยยา

ในกรณีที่คนไข้มีอาการหนัก กล่าวคือ อาการของโรคกลัวส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ยาก แพทย์อาจให้ยาจิตเวชเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคร่วมด้วย




เช็คหน่อยว่าเป็นไหม!  โรค Atelophobia กลัวตัวเองดีไม่พอ

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB  The Millennial





เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์