เด็กไทยถูกแกล้งอันดับ 2 ของโลก หนึ่งในนั้นลูกคุณหรือเปล่า!!


เด็กไทยถูกแกล้งอันดับ 2 ของโลก หนึ่งในนั้นลูกคุณหรือเปล่า!!

อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยสถานการณ์การรังแกกันในโรงเรียน ปี 2560 พบว่า มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น และไม่ใช่ปัญหาเล็กน้อยอย่างที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าใจ โดยมีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษาปีละประมาณ 600,000 คน และมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก 

วันนี้ (12 ต.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ โดยพบว่า อินเทอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางพื้นฐานในการสื่อสารในสังคม หากมีบุคคลกระทำความผิดพลาดขึ้นมา ก็มีการสร้างมาตรการการลงโทษทางสังคม กลายเป็นการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ เพื่อสร้างความอับอายต่อสาธารณะ เพื่อกดดันผู้กระทำผิดให้เข็ดขยาดไม่ทำพฤติกรรมแบบนี้อีก

Cyberbullying มีทั้งการใส่ร้ายป้ายสี ใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อว่าผู้อื่น หรือการส่งต่อข้อมูลลับเพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ คลิปวิดีโอ e-Mail เพื่อทำให้ฝ่ายที่ถูกกระทำรู้สึกอับอาย รู้สึกเจ็บปวด ได้รับผลกระทบทางจิตใจ คนที่ทำ สามารถทำกับใครก็ได้ และมักเกิดขึ้นต่อเนื่อง คนที่ตกเป็นเหยื่อ จะเป็นใครก็ได้เช่นกัน

เว็บไซต์ nobully.com แบ่งการกระทำ cyberbullying เป็น 7 ประเภท คือ
1.ส่งข้อความนินทาเพื่อน ทำให้เพื่อนเสียหาย
2.ไล่บางคนออกจากกลุ่มออนไลน์ เช่น กลุ่มไลน์ หรือ เฟซบุ๊กกรุ๊ป
3.การแอบเข้าไปใน log in ของคนอื่นและโพสต์ข้อความให้เจ้าของ account ดูไม่ดี เสียหาย
4.เป็นการว่ากล่าว ด่า ด้วยถ้อยคำหยาบคาย ตอกย้ำปมด้อย ทำให้เสียความมั่นใจ
5.ส่งข้อความ รูป วิดีโอ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้คนอื่นอับอายบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงข่มขู่
6.หยอกล้อ ยั่วโมโหจนอีกฝ่ายเผยความลับที่น่าอายของตัวเองบนโลกออนไลน์
7.เห็นการกลั่นแกล้ง รังแกกันบนโลกออนไลน์แล้วเข้าไปร่วม


8 โรงเรียนใน กทม. เกือบ 40% นร.เคยถูกแกล้ง
ขณะที่มีผลการศึกษาเรื่อง "การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น" ในประเทศไทย มีการสำรวจกลุ่มนักเรียนมัธยมต้น อายุระหว่าง 12-16 ปี จำนวน 3,667 คน จาก 8 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร พบว่า กว่า 30% เคยแกล้ง-ถูกแกล้งออนไลน์ โดยมี 37.8% เคยถูกกลั่นแกล้ง และ 34.6% เคยแกล้งผู้อื่น

เมื่อแยกตามเพศ พบว่าเพศหญิงจะเคยแกล้งผู้อื่น 37% เคยถูกแกล้ง 40.8% ขณะที่เพศชาย 32% เคยแกล้งผู้อื่น และ 34.7% จะเคยถูกแกล้ง และมีถึง 39.1% ที่เคยแชร์หรือกดไลก์เวลาเห็นข้อความ รูปภาพ หรือคลิปของเพื่อนที่กำลังถูกแกล้งบนโลกไซเบอร์

ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังถูก cyberbullying พบว่า 32.1% รู้สึกโกรธ / 23.1% เศร้า เครียด วิตกกังวล 18.6% ต้องการแก้แค้น 9% นอนไม่หลับ 8.3% เพื่อนเข้าใจผิดเลิกคบ 6.6% ครอบครัวไม่เข้าใจ ตำหนิ ซ้ำเติม และ 2.2% ที่จะไม่ไปโรงเรียน 


วิกฤตปัญหาถูกรังแกในโรงเรียนทวีความรุนแรงขึ้น
นอกจากนี้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังทำให้การกลั่นแกล้งกัน ขยายวง และเป็นที่รับรู้ของสังคมมากขึ้น โดยพบว่า กลุ่มเด็กที่เสี่ยงจะถูกแกล้ง คือ กลุ่มที่มีพัฒนาการช้า ส่วนผลจากการถูกกลั่นแกล้ง อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ และคนที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้ง ก็มีความเสี่ยงถึงขั้นเป็นอาชญากรได้

ข้อมูลนี้ได้รับการเปิดเผยตั้งแต่ต้นปี 2560 โดยอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งตอนนั้นก็มีเหตุการณ์ปล่อยคลิปแกล้งในโรงเรียนเช่นกัน ซึ่งอธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า สถานการณ์การรังแกกันในโรงเรียน มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น และไม่ใช่ปัญหาเล็กน้อยอย่างที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าใจ

เด็กที่รังแกกันมีตั้งแต่ระดับอนุบาลและตอนนี้เด็กเข้าถึงสื่อโซเชียลง่าย พ่อแม่และครูมีเวลาให้น้อย เด็กเรียนรู้ความรุนแรงจากเกม สื่อต่างๆ และไปใช้กับเพื่อน ส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่อยากไปโรงเรียนมากขึ้น และยังพบปัญหาใหม่ คือการรังแกกันผ่านสื่อออนไลน์ทั้งการใช้ข้อความ ภาพ หรือวิดีโอคลิปบนโลกอินเตอร์เน็ต

 


เด็กไทยถูกแกล้งอันดับ 2 ของโลก หนึ่งในนั้นลูกคุณหรือเปล่า!!

เด็กไทยถูกแกล้ง 6 แสนคนต่อปี
ข้อมูลผลการสำรวจในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด พบว่ามีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษาปีละประมาณ 600,000 คน ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 ของโลก มีสัดส่วนนักเรียนถูกรังแกจากเพื่อนนักเรียนด้วยกันสูงถึงร้อยละ 40 รองจากญี่ปุ่น

ขณะที่ในปี 2553 การสำรวจนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศพบว่าร้อยละ 33 เคยรังแกผู้อื่นทางออนไลน์ อีกร้อยละ 43 บอกเคยถูกคนอื่นรังแก

การรังแกกันหรือล้อเลียนกันในโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นการปลูกฝังเด็กเรื่องความรุนแรง การทำร้ายกัน มีผลกระทบต่อเด็กทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งอารมณ์จิตใจร่างกายและคุณภาพชีวิตในระยะยาว

นักเรียนที่ถูกรังแกมักเครียดซึมเศร้า มีปัญหาการเข้าสังคมจนโต หากถูกกดดันรุนแรงหรือเรื้อรัง จะนำไปสู่การทำร้ายคนอื่นเพื่อแก้แค้น หรือทำร้ายตนเอง รุนแรงถึงฆ่าตัวตาย

ขณะที่นักเรียนที่รังแกคนอื่นเมื่อทำบ่อยครั้งจนกลายเป็นนิสัยเคยชิน จะมีปัญหาบุคลิกภาพแบบใช้ความก้าวร้าว ความรุนแรงต่อผู้อื่น ความรู้สึกผิดน้อย ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เป็นอันธพาล อาชญากรได้

ด้านผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวถึงเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงถูกรังแกสูง คือ เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้า เด็กพิการ กลุ่มเด็กนักเรียนเพศทางเลือก และเด็กกลุ่มที่ครอบครัวมีการใช้ความรุนแรง หรือเด็กที่ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น สมาธิสั้น มักพบว่าเป็นเด็กกลุ่มที่เป็นผู้รังแก 



เด็กไทยถูกแกล้งอันดับ 2 ของโลก หนึ่งในนั้นลูกคุณหรือเปล่า!!

ขอบคุณที่มา : thaipbs


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์