เตือน! สาวใช้ทิ้นท์ปลอมทาปาก เสี่ยงปากบวม

เตือน! สาวใช้ทิ้นท์ปลอมทาปาก เสี่ยงปากบวม

เตือน! สาวใช้ทิ้นท์ทาปาก เสี่ยงปากบวม


อย.เตือนวัยรุ่นที่ชอบใช้ทิ้นท์ทาปากให้ระวัง หากใช้ของไม่ได้มาตรฐาน อาจเกิดอันตรายจากสารปนเปื้อนของโลหะหนัก เสี่ยงอาการแพ้ ปากบวม

วานนี้ ( 31 ส.ค. ) นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการติดตามและเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในกลุ่มวัยรุ่น พบว่า เครื่องสำอางทาริมฝีปากที่มีลักษณะเป็นน้ำใสสีแดงหรือที่เรียกว่า “ทิ้นท์” กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นหญิง เนื่องจากเมื่อนำมาทาด้านในของริมฝีปาก จะทำให้ริมฝีปากเป็นสีชมพูระเรื่อ แลดูมีสุขภาพ ซึ่งวัยรุ่นส่วนใหญ่มักหาซื้อผลิตภัณฑ์ทิ้นท์ตามแผงลอย หรือตลาดนัด เพราะราคาไม่แพง และมีสีให้เลือกมากมายหลายระดับความเข้มของสี 


ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นห่วงอย่างมาก
 
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหาซื้อได้ตามแผงลอย หรือตลาดนัดทั่วไป จึงอาจเป็นไปได้ที่อาจลักลอบนำผลิตภัณฑ์ทิ้นท์ที่ไม่ได้มาตรฐาน  ใช้สีต้องห้าม จนอาจทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตราย จากการกลืนหรือกินโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในสี อาทิ ตะกั่ว  ปรอท แคดเมียม ซึ่งหากได้รับโลหะหนักเหล่านี้จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง ตั้งแต่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว หรือทำให้ริมฝีปาก ปวดแสบปวดร้อน คัน เห่อแดง บวม ลอกเป็นขุย


“ทั้งนี้ สีที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทิ้นท์ จะต้องเป็นสีที่อนุญาตให้ใช้ได้ในเครื่องสำอาง ดังนั้น ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์จะต้องมาจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เสียก่อน อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้บริโภคสังเกตและอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อ โดยฉลากจะต้องแสดงชื่อการค้า ชื่อเครื่องสำอาง ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง วิธีใช้เครื่องสำอาง ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า ปริมาณสุทธิ เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต เดือน ปีหรือปี เดือนที่ผลิต เดือน ปีหรือปี เดือนที่หมดอายุในกรณีที่เครื่องสำอางมีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน คำเตือน(ถ้ามี) และที่สำคัญต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้งบนฉลากหรือกล่องผลิตภัณฑ์” รอง เลขิการ อย. กล่าว


ผู้บริโภคที่สงสัยสามารถตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ทิ้นท์ได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา www.fda.moph.go.th หรือสายด่วน อย. โทร. 1556.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์