เตือนภัย โลหะผสมในเครื่องประดับ

เตือนภัย โลหะผสมในเครื่องประดับ


ตะกั่วเป็นโลหะหนักสีเงินเทา มีคุณสมบัติอ่อนตัว จุดหลอมเหลวต่ำ สามารถดัดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมายและมีการนำโลหะตะกั่วมาผสมกับโลหะอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการทำเครื่องประดับเทียม เช่น เครื่องประดับทองเหลือง เครื่องประดับที่มีการเคลือบสีลงยา และเครื่องประดับพลาสติก

ซึ่งท่านทราบกันหรือไม่ว่า สารตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ทั้งทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารตะกั่วจากทางเดินอาหารได้ 11% ในผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กจะดูดซึมได้ถึง 30-75% จะเห็นได้ว่า หากมีสารตะกั่วในอาหาร ทางเดินอาหารของเด็กจะดูดซึมได้ดีมาก เด็กที่ขาดสารอาหาร เช่น ขาดธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม จะเพิ่มการดูดซึมสารตะกั่ว ส่วนทางเดินหายใจ ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ 50% ทางผิวหนังจะดูดซึมสารตะกั่วได้เล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี ดังนั้นจึงได้มีข้อกำหนดให้มีปริมาณโลหะตะกั่วในเครื่องประดับเป็นไปตามหน่วยงานของ US Consumer Product Safety Commission's (CPSC) Enforcement Standard (2005A)
โดยสามารถให้มีปริมาณตะกั่วในเครื่องประดับได้ไม่เกิน 600 ppm หรือ 0.06% ถ้ามากกว่าที่กำหนด ถือได้ว่าเป็นอันตรายกับผู้ที่สวมใส่ และอันตรายจากโลหะตะกั่วมีดังนี้

-      สารตะกั่วจะมี
ผลเสียต่อสมอง
และการติดต่อของเซลล์ประสาท โดยสารตะกั่วจะไปจับกับเซลล์แทนที่แคลเซียม พบว่าหากมีสารตะกั่วในเลือดเพิ่มขึ้นทุก 10 mcg/dLจะทำให้ IQ ลดลง

-     ผลต่อเม็ดเลือดแดง
จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เป็นโรคโลหิตจาง และมีผลต่อการทำงานของไต

-     ผลต่อการตั้งครรภ์และทารก
สารตะกั่วสามารถก่อปัญหาให้แก่ทารกในครรภ์ หากมีสารตะกั่วเป็นปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ การทำงานของสมองจะพัฒนาช้า ปัญญาอ่อน ชัก

ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในโลก ได้ให้ความสำคัญกับสารตะกั่วที่มีในเครื่องประดับ โดยได้ออกข้อกำหนดมาตรฐานในเครื่องประดับจะต้องมีค่าปริมาณตะกั่วได้ไม่เกิน 600 ppm หรือ 0.06% ซึ่งค่านี้จะวิเคราะห์ได้ด้วยการนำเครื่องประดับไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ แน่นอนที่สุด การส่งออกเครื่องประดับไปนานาประเทศจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจวิเคราะห์ปริมาณตะกั่ว เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อันจะช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าเครื่องประดับไทย และสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้า อีกทั้งยังป้องกันการถูกยกเลิกการสั่งซื้อสินค้า ที่อาจเกิดตามมาจากการตรวจพบปริมาณตะกั่วเกินข้อกำหนดในเครื่องประดับ

ห้องปฏิบัติการตรวจสอบวิเคราะห์โลหะมีค่าของสถาบัน ได้เปิดให้บริการในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วในเครื่องประดับ ซึ่งจะช่วยท่านสามารถควบคุมคุณภาพสินค้า และมีความมั่นใจว่าเครื่องประดับที่ท่านส่งออกนั้น มีปริมาณของสารตะกั่วเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์