เตือนภัย.! ชีวิตไซเบอร์ เด็กตกหลุมพรางสื่อร้าย!

โครงการไชลด์ วอตช์ (Child Watch) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


พบแนวโน้มเด็กไทย ใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นทั้ง คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และมือถือ เข้ามาครอบครองพื้นที่ในชีวิตเด็กถึง 6-7 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่เนื้อหาในสื่อดังกล่าวมีร้ายมากกว่าสื่อดี ทั้งสื่อลามก สื่อรุนแรงต่างๆ

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กทั่วโลกต่างเกิด เติบโต และตกอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมสื่อที่ถือเป็นสิ่งแวดล้อมและปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทีวีที่เปรียบเสมือนเพี่อนประจำบ้านของเด็ก

ซึ่งพบว่า เด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลากับการดูโทรทัศน์โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ประมาณ 3-5 ชั่วโมง ไม่รวมสื่ออินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือที่มีแนวโน้มจะเข้ามาแทนที่สื่ออื่นๆ ในเร็ววันนี้


เตือนภัย.! ชีวิตไซเบอร์ เด็กตกหลุมพรางสื่อร้าย!


ข้อมูลจากการสำรวจวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของเด็กและเยาวชน


เรื่อง "ชีวิตไซเบอร์" ในโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับสถาบันรามจิตติ ซึ่งสำรวจกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนทั้งสิ้น 3,360 คน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาใน 7 ภาค

ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 14 จังหวัด พบว่าเด็กใช้เวลาหนึ่งในสามของชีวิตกับสื่อเทคโนโลยีต่างๆ เช่น


เตือนภัย.! ชีวิตไซเบอร์ เด็กตกหลุมพรางสื่อร้าย!


๏ คุยโทรศัพท์โดยเฉลี่ยวันละประมาณ 1 ชั่วโมง ส่งเอสเอ็มเอสวันละ 2 ครั้ง โหลดภาพเพลงริงโทนวันละ 2 รอบ

โดยเพศหญิง มีระยะเวลาในการคุยมากกว่าเพศชายเล็กน้อย เทียบเป็นร้อยละ 67.38 และร้อยละ 59.38 ตามลำดับ เด็กในระดับอุดมศึกษาคุยโทรศัพท์ต่อวันนานที่สุด 82.12 นาที


๏ เช็กอีเมล์ แช็ต อ่านข่าว ค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตประมาณวันละ 1 ชั่วโมง โดยเด็กผู้หญิงจะใช้เวลาเช็กอีเมล์บ่อยกว่าผู้ชาย และใช้เวลาค้นข้อมูลหรืออ่านข่าวในอินเตอร์เน็ตนานกว่า แต่ใช้เวลาในการแช็ตใกล้เคียงกัน เด็ก มัธยมปลายนิยมเข้าไปแช็ตสูงสุด โดยใช้เวลาเฉลี่ย 92.86 นาทีต่อวัน

๏ ฟังเพลงจากเอ็มพี 3 หรือซีดี 2 ชั่วโมง โดยเพศหญิงฟังเพลงมากกว่าเพศชายเล็กน้อยที่ 128.02 นาทีต่อวัน เทียบกับ 117.10 นาทีต่อวัน

๏ ดูหนังจากซีดี วีซีดี วิดีโอ 2 ชั่วโมง โดยเพศชายดูหนังมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อยที่ 139.01 นาทีต่อวัน 113.11 นาทีต่อวัน

๏ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ 2 ชั่วโมง โดยเพศชายเล่นเกมมากกว่าอย่างชัดเจนโดยเฉลี่ย 133.69 นาทีต่อวัน เทียบกับเพศหญิง 92.09 นาทีต่อวัน


เตือนภัย.! ชีวิตไซเบอร์ เด็กตกหลุมพรางสื่อร้าย!


ดร.อมรวิชช์ กล่าวต่อว่า


เด็กไทยขณะนี้เหมือนตกอยู่ในวงล้อมสื่อร้าย และอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง ข้อมูลจากสถาบันรามจิตติ ในโครงการการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) และงานศึกษาเรื่อง "รู้สาร ทันสื่อ" รวมถึงโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor)

ตลอดจนข้อมูลจากรายงานของศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม รวมถึงเอกสารวิชาการในเครือข่ายของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ล้วนให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันว่า

แม้ปัจจุบันเด็กไทยจะมีโอกาสเข้าถึงสื่อได้มากขึ้น แต่การเข้าถึงสื่อส่วนใหญ่ของเด็กก็ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสื่อที่ด้อยคุณภาพ


เตือนภัย.! ชีวิตไซเบอร์ เด็กตกหลุมพรางสื่อร้าย!


๏ เสี่ยงเรื่องเพศ เซ็กซ์ผิดวัย เด็กต้องเผชิญกับสื่อประเภทหนัง ละครไทยที่มีฉากยั่วยุทางเพศ หรือฉากรุนแรง 3 ฉากทุก 1 ชั่วโมง และเด็กร้อยละ 30 ยังเสพสื่อลามก (การ์ตูนวีซีดี เว็บโป๊ ภาพโป๊ทางมือถือ) เป็นประจำ

โดยเฉพะเด็กผู้ชาย ส่วนเด็กอาชีวะเป็นกลุ่มที่เข้าไปดูเว็บโป๊เป็นอัตราส่วนมากที่สุดคือร้อยละ 37.7 ตามมาด้วยเด็กมหาวิทยาลัย ร้อยละ 31.6 ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กจำนวนมากที่เข้าถึงสื่อประเภทอินเตอร์เน็ตนั้น แม้จะไม่ได้ตั้งใจดูสื่อลามก ก็ยังเสี่ยงต่อสื่อไซเบอร์เซ็กซ์ต่างๆ ที่มีการประมาณว่า

ปัจจุบันมีเว็บไซต์เฉพาะเว็บลามกประเภท "Porn" ไม่ต่ำกว่า 106 ล้านเว็บ ซึ่งการเสพสื่อลามกหรือสื่อรุนแรงมีผลต่อทัศนคติทางเพศและต่อการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา


๏ สื่อรุนแรง "โหด มัน เหี้ยม" เด็กร้อยละ 70 ชอบดูหนังยิงกันฆ่ากัน ขณะที่เด็กติดเกมร้อยละ 80 เล่นเกมต่อสู้ ซึ่งการเข้าถึงสื่อเหล่านี้มีผลกระทบต่อเด็กไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมที่ชอบการแข่งขัน เอาชนะกัน การต่อสู้และการใช้ความรุนแรงของเด็ก เป็นต้น


เตือนภัย.! ชีวิตไซเบอร์ เด็กตกหลุมพรางสื่อร้าย!


ในบรรดาสื่อรุนแรงนั้นนอกจากทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไปแล้ว


ยังพบด้วยว่าสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ส่งผ่านภาพรุนแรงที่น่าเป็นห่วง ปัจจุบันมีเว็บเกมออนไลน์กว่า 10 ล้านเว็บที่สืบค้นได้จาก Google และโดยมากเกมเหล่านี้จะต้องแข่งขันหรือต่อสู้ หรือไม่ก็เป็นเกมลามกที่มีภาพความรุนแรงหรือยั่วยุให้ใช้ความรุนแรงกับตัวละครในเกม

๏ เสี่ยงสุขภาพเสื่อม เด็กใช้เวลากับสื่อทีวี อินเตอร์เน็ต มือถือ เอสเอ็มเอส รวมกันวันละกว่า 7 ชั่วโมง ซึ่งส่วนสัมพันธ์กับสุขภาพในแง่ของการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียจากการใช้เวลากับสื่อนานเกินไป หรือในบางกรณีเช่น เด็กติดเกมอาจเสี่ยงต่อการอดหลับอดนอนเพราะเสพสื่อมากเกินไป

๏ เสี่ยงต่อสมองฝ่อ เด็กร้อยละ 41.4 บอกว่าใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงมากกว่าความรู้ ขณะที่เด็กเล็กใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 3 ชั่วโมงกับการดูทีวี ทั้งที่มีข้อมูลเชิงงานวิชาการเสนอว่าการดูทีวีเกิน 2 ชั่วโมงของเด็กเล็กจะมีผลต่อสมองและพัฒนาการของเด็ก

นอกจากนี้ การเสพสื่อที่ไม่สร้างสรรค์ ไม่ว่าวัยใดล้วนมีผลกระทบต่อสมองและการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

๏ เสี่ยงต่อการเสพติด มีรายงานว่าสื่อต่างๆ เป็นช่องทางหนึ่งที่มีส่วนทำให้เด็กว่าการกินเหล้า สูบบุหรี่ ไปจนถึงการใช้สารเสพติดเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นโดยทั่วไป

๏ เสี่ยงเป็นเหยื่อเจอ "ผู้ร้ายไร้สังกัด อาชญากรไร้ตัวตน" โดยเฉพาะปัญหาการตกเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์

ซึ่งสื่ออินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ที่ดูจะเป็นช่องทางของผู้ร้ายยุคใหม่ ที่บางครั้งปรากฏตัว ผ่านการล่อลวงขายสินค้า จัดหางาน นัดหาคู่ หรือชักชวนให้เล่นการพนันผ่านเว็บ ผ่านมือถือ


เตือนภัย.! ชีวิตไซเบอร์ เด็กตกหลุมพรางสื่อร้าย!


ปัญหาของการใช้ชีวิตติดสื่อที่ผนวกกับการเข้าถึงสื่อที่ด้อยคุณภาพกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญ


โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความเสี่ยงต่อการเสพสื่อที่ดูจะมีสื่อร้ายมากกว่าสื่อดี ดังผลกระทบที่ตามมาจึงไม่ใช่เฉพาะผลที่มีต่อตัวเด็กเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผลกระทบต่อครอบครัวและสังคมไทย

ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะต้องดำเนินการในการให้การศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและการรู้เท่าทันสื่อในยุคโลกภิวัตน์ให้มากขึ้น

ตลอดจนการกำกับสนับสนุน ให้สื่อทุกประเภทให้เป็นมิตรการเรียนรู้ที่ดีของเด็ก และช่วยเสริมสร้างการพัฒนาเด็กทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม ให้เป็นกำลังคนที่เข้มแข็งของประเทศ

เตือนภัย.! ชีวิตไซเบอร์ เด็กตกหลุมพรางสื่อร้าย!


ขอขอบคุณ :

หนังสือพิมพ์ข่าวสดหนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข้อมูลที่มีประโยชน์
จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์