เน็ตไทยเหมือนหอยทาก เน็ตทั่วโลกเหมือนอะไร


เมื่อ ราวปลายปีที่แล้ว ตัวเลขผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของไทยมีอยู่ราว 25 ล้านคน ถึงวันนี้ก็คงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีก เพราะมันเพิ่มขึ้นแทบทุกวัน สัดส่วนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตขนาดนี้จากจำนวนประชากรกว่า 60 ล้านคนต้องถือว่าไม่น้อยแล้ว แม้จะยังถือว่าเป็นคนส่วนข้างน้อยของประเทศก็ตามที

คนเข้าถึง อินเตอร์เน็ตมาก ไม่ได้หมายความว่าคุณภาพของอินเตอร์เน็ตจะมากตามไปด้วย อันนี้พูดกันเรื่องของความเร็วหรือความเสถียรนะครับ ไม่ได้พูดเรื่องเนื้อหาเพราะเรื่องเนื้อหามีข้อถกเถียงกันไปได้เยอะ และไม่มีการศึกษาอะไรมายืนยัน ส่วนใหญ่จะสรุปเอาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนเจอในส่วนเข้าไปเจอ ซึ่งมันไม่ใช่ทั้งหมดของอินเตอร์เน็ตอันกว้างใหญ่ไพศาล

แต่แม้ กระทั่งเรื่องของคุณภาพอย่างเรื่องความเร็วของอินเตอร์เน็ตก็ยังมีเรื่องให้ ถกกันได้บานปลายแล้ว เหมือนอย่างเมื่อสักพักมานี้เห็นมีคนบนเฟซบุ๊กโพสต์ในเชิงประชดความเร็ว อินเตอร์เน็ตของไทยว่าอืดเหมือนหอยทาก ขณะที่บางประเทศเร็วเหมือนจรวด

นั่นเป็นเรื่องของการประชดประชัน 

ลอง มาดูสถิติล่าสุด (ไตรมาสสามของปี 2012) ที่สำรวจโดยอาคาไม เทคโนโลยีส์ ซึ่งสำรวจเป็นประจำรายไตรมาส มันสะท้อนภาพการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (มากกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาที) ของโลกได้พอสมควร 

มีอยู่ประเทศเดียวในโลกที่คน ส่วนใหญ่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต คือประเทศเกาหลีใต้ สัดส่วนอยู่ที่ 52 เปอร์เซ็นต์ นอกเหนือจากเกาหลีใต้แล้ว ทุกประเทศในโลกคนส่วนน้อยเท่านั้นที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 

อันดับ สองรองลงมาจากเกาหลีใต้คือญี่ปุ่น 38 เปอร์เซ็นต์ อันดับสามฮ่องกง 26 เปอร์เซ็นต์ เมื่อไล่เรียงลงไปดูที่อันดับสิบคือ ฟินแลนด์ การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงลดลงไปเหลือ 16 เปอร์เซ็นต์ 

เทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 11 เปอร์เซ็นต์

นั่น คือการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง น่าเสียดายที่ผมไม่มีตังค์ซื้อรายงานฉบับเต็ม จะได้ดูว่าสัดส่วนการเข้าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของไทยมีมากน้อยแค่ไหน แต่เชื่อว่าคงยังไม่เยอะมากที่จะใช้ความเร็ว 10 เมกขึ้นไป 

แต่ความ เร็วของอินเตอร์เน็ตที่ใช้กันจริงๆ อยู่ตรงไหน ถ้าดูจากผลสำรวจของอาคาไม ความเร็วเฉลี่ยของอินเตอร์เน็ตทั่วโลกอยู่ที่ 2.8 เมกะบิตต่อวินาที ลดลงถึง 11 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มันลดลงสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ว่ามีคนใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นมาจากประเทศกำลังพัฒนา ที่ความเร็วอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปไม่สูงมากนัก

ความเร็วอินเตอร์เน็ต เฉลี่ยรายประเทศอันดับ 1-10 ก็ไม่แตกต่างกันนัก เกาหลีใต้ยังคงเป็นอันดับหนึ่งคือ 14.7 เมกะบิตต่อวินาที รองลงมาก็ญี่ปุ่น 10.5 เมกะบิตต่อวินาที ในสิบอันดับนี้มีที่หลุดโผไปประเทศเดียวคือสวีเดน แล้วมีสาธารณรัฐเช็กมาแทน

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในรายงานชิ้นนี้ เท่าที่มีข้อมูลมีเฉพาะความเร็วเฉลี่ยของเราอยู่ที่ 2.9 เมกะบิตต่อวินาที สูงกว่าเพื่อนบ้านในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ นั่นคือ มาเลเซีย 2.2 จีนแผ่นดินใหญ่ 1.6 ฟิลิปปินส์และเวียดนาม 1.3 อินโดนีเซีย 1.2 อินเดีย 1.0 

จะเห็นว่าตัวเลขจากการสำรวจจริงนี้ สถานะความเร็วอินเตอร์เน็ตไทยซึ่งเขาวัดจากการใช้งานจริงไม่ได้เลวเสียทีเดียว 

แต่ ความเร็วเฉลี่ยก็อธิบายภาพทั้งหมดได้ไม่ละเอียดอยู่ดี เพราะในความเป็นสถิติมันลวงตาได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประเทศมีคนอยู่สองคน คนหนึ่งใช้เน็ตความเร็ว 100 เมก (ในประเทศไทยมีแล้วนะครับ) อีกคนใช้ 1 เมก ความเร็วเฉลี่ยที่เข้าถึงจะอยู่ที่ 50 เมก คนใช้ 100 เมก ก็ว่าเลิศมาก คนใช้ 1 เมก ก็จะบ่นปานโลกจะแตกสลาย

สิ่งหนึ่งที่เราพบเสมอในเชิง เปรียบเทียบความเร็วอินเตอร์เน็ตเชิงประชดชันประชันก็คือการใช้ประสบการณ์ เฉพาะจุดมาเป็นภาพรวมทั้งหมด ไปเที่ยวต่างประเทศมาไม่กี่เมืองก็คิดว่าเห็นเขามาทั้งประเทศ

เอาแค่เมืองไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ทุกวันก็ยังสรุปแบบนั้นไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

เน็ตไทยเหมือนหอยทาก เน็ตทั่วโลกเหมือนอะไร

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์