เปิด 10 เทรนด์ร้อน...รู้แล้วรวย!!!

เปิด 10 เทรนด์ร้อน...รู้แล้วรวย!!!


หาก คุณเป็นนักท่องโลกไซเบอร์และชื่นชอบที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสื่อสังคมออนไลน์ แล้วล่ะก็ บางทีคุณอาจจะต้องลองสำรวจพฤติกรรมการใช้งานสื่อออนไลน์ของคุณแล้วล่ะว่า กำลังเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder หรือ OCD) หรือไม่ 

โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD เป็นโรคถูกกระตุ้นโดยอาการวิตกกังวล ยิ่งคนคนหนึ่งรู้สึกกระวนกระวาย วิตกกังวลมากเท่าไร เขาก็จะอยากเรียกความเชื่อมั่นให้กับตัวเองมากขึ้นเท่านั้น คนเหล่านี้จะพยายามทำให้ตัวเองมั่นใจโดยการทำกิจกรรมที่พวกเขาคิดว่า "ควรจะ" ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น บางคนแสดงอาการของโรคนี้โดยคอยตรวจดูว่าตัวเองปิดแก๊สหรือยัง ในขณะที่บางคนอาจจะคอยล้างมือ แบบชนิดที่ว่าล้างแล้วล้างอีกเพื่อจะกำจัดเชื้อโรคที่อาจจะคิดไปเอง 

สำหรับ ในสื่อดิจิตอลทั้งหลายนั้น Dr Pam Spurr ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤติกรรม ได้เล่าถึงผลกระทบอย่างมากของสื่อสังคมออนไลน์อาทิเฟซบุ๊ค และ ทวิตเตอร์ ที่มีต่อพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่คอยหมั่นเช็คเฟซบุ๊ค หรือ ทวิตเตอร์ของตนเองว่ามีคนส่งข้อความมาหาหรือไม่ มากจนเกิดเหตุ 

อาการเช่นนี้ถือเป็นการเรียกความมั่นใจให้กับตัวเองที่ผิด รวมถึงการคอยดูโพรไฟล์ตัวเอง โดยที่คุณรู้สึกว่าจำเป็น "ต้องดู" หรือการที่ต้องคอยอัพเดทหน้าเฟซบุ๊คของตัวเองอยู่เสมอนั้นทำให้อาการกระวน กระวาย หรือ ความวิตกกังวลที่อาจมีอยู่แล้วในตัวยิ่งแย่ขึ้นไปอีก และวงจรนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะจบง่ายๆ เพราะหากใครเริ่มรู้สึกเช่นนี้แล้ว เขาก็จะรู้สึกว่าเขาอัพเดทโพรไฟล์ตัวเองไม่เคยพอสักที จึงต้องทำให้คอยอัพเดทอยู่เรื่อยๆ 

วิธีแก้หลักๆ ของอาการนี้ก็คือ การพยายามค่อยควบคุมความคิดของตัวเอง และความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมนั้นๆ รวมถึงวิถีชีวิตแบบย้ำคิดย้ำทำ หากคุณสามารถสงบสติอารมณ์มากเท่าไร ก็จะยิ่งสามารถควบคุมความรู้สึกที่มีต่อความคิดอันกระวนกระวาย และพฤติกรรมซ้ำๆ ของคุณได้ 

อย่าง ไรก็ดี ดูเหมือนว่าคนที่ชอบอยู่กับธรรมชาติจะได้เปรียบกับการจัดการกับความเครียด ที่เกิดจากอาการของโรคได้ดีกว่าคนที่ต้องติดอยู่กับโลกออนไลน์ตลอดเวลา เพราะเมื่อไรที่ปิดการสื่อสาร พวกเขาก็ไม่ลังเลที่จะอยากรู้ว่าจะมีใครส่งข้อความมาหาหรือไม่ 

ความ รู้สึกที่ว่าจะต้องอัพเดทเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ของตัวเองตลอดเวลาเป็นความ รู้สึกเครียดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังจะมีความกดดันที่เราจะต้องทวีตหรือเขียนคอมเม้นต์ให้เพื่อนแบบ โดนๆ ชนิดที่ว่าถ้าจะให้เกิดก็ต้องขำโดนใจหรือแสดงความฉลาดหลักแหลมของสติปัญญา เท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าบางคนไม่ได้พรสวรรค์ด้านการเขียนติดตัวมาตั้งแต่เกิด ก็คงต้องนั่งเครียด ใช้เวลาขัดเกลาสรรสร้างคำกันนานอยู่ 

ส่วนคนที่ไม่ชอบทวีตหรือคอมเม้นต์ชาวบ้าน ก็อาจมีอาการติดที่จะต้องคอยเช็คว่าเพื่อนของตนในโลกสังคมออนไลน์กำลังทำอะไรอยู่บ้าง คนๆ นั้นก็จะกลายเป็นคนที่หมกมุ่นอยู่กับการอ่านว่าชาวบ้านกำลังทำหรือคิดอะไร อยู่ หากไม่คอยตามอ่าน ก็จะรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่เป็นส่วนหนึ่ง 

แต่ คุณรู้หรือไม่ว่า โดยธรรมชาติแล้ว โรค OCD ทำให้เรานั้นแยกตัวออกห่างจากผู้อื่นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นใครที่เป็นโรคนี้และชอบเข้าสื่อสังคมออนไลน์ วันๆพวกเขาก็จะใช้ชีวิตอยู่แต่กับสังคอมออนไลน์ 
  
การใช้เว็บไซต์ เหล่านี้ทั้งหมดทั้งปวงเกี่ยวข้องกับการมีพฤติกรรมซ้ำซาก ซึ่งกลายเป็นชีวิตประจำวันของผู้ใช้แต่ละคน และหากใช้มากๆ ก็กลายเป็นนิสัย 

ความถี่ของการมีนิสัยเช่นนี้ทำให้พฤติกรรมดังกล่าวมีอิทธิพลมากต่อการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล เพราะหากเมื่อไม่ได้เข้าเฟซบุ๊ค หรือ ทวิตเตอร์ พวกเขาก็จะกระวนกระวาย สงสัยว่าถ้าเข้าเว็บไซต์เหล่านี้ได้แล้ว จะต้องอัพเดทเรื่องราวของตัวเองว่าอย่างไร หรือ สงสัยว่าตัวเองพลาดอ่านอะไรไปบ้าง 
  
ดัง นั้นหากต้องการรู้จักวงจรของโรค OCD ศึกษาง่ายๆ จากเรื่องใกล้ตัว คือ การใช้สังคมออนไลน์ เพราะสังคมออนไลน์มีองค์ประกอบครบทุกประการถึงสาเหตุที่ทำไมคนเราจึงย้ำคิด ย้ำทำ วิธีที่จะปกป้องไม่ให้เป็นโรคนี้ คือ ควรกำหนดเวลาในแต่ละวันที่คุณใช้บนโลกออนไลน์ หากิจกรรมอย่างอื่นทำ เช่น โทรหาเพื่อนเพื่อนัดคุยกันให้เป็นกิจลักษณะแบบเห็นหน้า หัดต่อต้านความรู้สึกตัวเองที่ว่าคุณควรกลับไปออนไลน์และขัดเกลาหาคำพูด เพื่ออัพเดทสถานะ หรือเริ่มจากเช็คดูแค่ว่าเพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัวเรากำลังทำอะไร และส่วนที่เหลือคนอื่นนั้นไม่ต้องไปสนใจ



                                                  FW

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์