เปิดประวัติศาสตร์เรือล่ม


เปิดประวัติศาสตร์เรือล่ม กัปตัน “เรือเซวอล” หนีเอาตัวรอด ไม่ใช่ครั้งแรก

ท่ามกลางเสียงวิจารณ์อย่างหนักในขณะนี้ ต่อกรณีนายลีจุนซอก กัปตันเรือเซวอล ซึ่งเดินทางจากท่าเรืออินชอน ไปยังเกาะเชจู ประเทศเกาหลีใต้ และได้ประสบอุบัตเหตุล่มลงกลางทาง มีผู้เสียชีวิตและสูญหายร่วม 300 ชีวิต จึงน่าสนใจว่าปกติกัปตันเรือจะปฏิบัติตัวเช่นไรในนาทีชีวิตเช่นนี้



กรณีเรือ"เอ็ชเอ็มเอ็ส เบิร์กเคนเฮด" ของประเทศอังกฤษ ซึ่งบรรทุกกองทหารของอังกฤษ เกิดอุบัติเหตุอับปาง นอกชายฝั่งประเทศแอฟริกาใต้ ในปี พ.ศ.2395 กัปตันและเจ้าหน้าที่ทหาร เลือกที่จะช่วยให้ผู้หญิงและเด็กลงเรือชูชีพไปก่อนทำให้รอดชีวิต


ส่วนกัปตันเรือและเหล่าทหารอยู่บนเรือจนถึงวาระสุดท้าย ทั้งหมดได้เสียชีวิตพร้อมกับเรือที่จมลงสู่มหาสุทร วีรกรรมของกัปตันเรือ และเหล่าทหารหาญ ซึ่งเสียสละชีวิตของตนเอง เพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น ได้สร้างบรรทัดฐานการกระทำอันมีเกียรติทางทะเล


เปิดประวัติศาสตร์เรือล่ม


อีกหนึ่งกัปตันตัวอย่าง ซึ่งประกาศก้องว่า “Be British boy !” หรือ “อย่าละทิ้งความเป็นอังกฤษ” ขณะที่เรือไททานิคค่อยๆจมลง คือ กัปตันเอ็ดเวิร์ด เจ สมิธ ซึ่งเสียชีวิตพร้อมกับเรือไททานิค ในปี พ.ศ.2455 หลังจากที่ช่วยเหลือผู้โดยสารส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้หญิงและเด็ก ให้รอดชีวิตจากเรือล่ม เนื่องจากชนภูเขาน้ำแข็ง


แต่สำหรับกรณีเรือเซวอลของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจมลงสู่ทะเลเหลืองมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ภายใต้การควบคุมของกัปตันลีจุนซอก ซึ่งถูกกระหน่ำด้วยเสียงก่นด่า ถึงขนาดที่ นางสาวปัก กึน เฮ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ถึงกับประณามการกระทำของนายลีว่า ไม่ต่างอะไรกับฆาตกร เนื่องจากละทิ้งเรือ โดยปล่อยให้ผู้โดยสาร 476 คน เผชิญภัยกันเอง ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว 108 ราย และยังสูญหายอีก 194 คน


การกระทำของนายลี ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ นายฟรานเชสโก เชตติโน กัปตันเรือคอสตา คอนคอร์เดีย ซึ่งทำให้เกิดอุบัตเหตุเรือชนกับแนวปะการัง ที่ชายฝั่งประเทศอิตาลี เมื่อปีพ.ศ.2555 มีผู้เสียชีวิต 32 คน


เปิดประวัติศาสตร์เรือล่ม


พยานผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า นายเชตติโน กระโดดลงเรือชูชีพ ทั้งที่ผู้โดยสารนับร้อยยังคงอยู่ในเรือ โดยกัปตันให้การว่า ตัดสินใจลงเรือ เพราะเห็นว่าเรือเอียงมาก เป็นเหตุให้นายเชตติโนถูกดำเนินคดีในข้อหาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต ก่อหายนะทางเรือ และละทิ้งเรือ ซึ่งนายเชตติโนปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา


กรณีกัปตันเรือเซวอลและ เรือคอสตาคอนคอร์เดีย ทำให้เกิดข้อสงสัยในความรับผิดชอบ ซึ่งกัปตันควรมีต่อผู้โดยสาร ในกรณีเรืออยู่ระหว่างคับขันนั้น เป็นอย่างไร


ในข้อนี้กัปตันเจมส์ สแตปเปิลส์ ที่ปรึกษาด้านการเดินเรือกล่าวว่า หน้าที่แรกของกัปตัน คือ ต้องดูแลความปลอดภัยให้กับทุกคนบนเรือ รวมทั้งดูแลสินค้าในเรือ ดังนั้นกัปตันจะต้องอยู่บนเรือ จนกระทั่งแน่ใจว่าผู้โดยสารและลูกเรือทุกคนปลอดภัย การที่กัปตันละทิ้งเรือไปก่อนผู้อื่นน่าละอายอย่างยิ่ง ทั้งที่ควรจะอยู่เป็นคนสุดท้าย


ต่อข้อสงสัยว่าจำเป็นแค่ไหน ที่กัปตันจะต้องยอมตายไปพร้อมกับเรือ นายเคด คอร์ทลีย์ อดีตทหารหน่วยซีลให้ความเห็นว่า ตามอนุสัญญาทางทะเลระหว่างประเทศ กัปตันมีหน้าที่รับผิดชอบเรือและทุกชีวิตบนเรือให้ปลอดภัย แต่ไม่ได้หมายความว่ากัปตันจะต้องตายไปกับเรือทุกครั้งที่เรือเกิดอุบัตเหตุจมลง เพราะหากแน่ใจว่าได้อยู่เป็นคนสุดท้าย และดูแลทุกชีวิตให้ปลอดภัยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องตายไปพร้อมกับเรือที่จม แต่การกระทำของนายลี กัปตันเรือเซวอลที่เอาตัวรอดก่อนคนอื่นนั้น เป็นการกระทำที่ไม่สามารถให้อภัยได้


ในแง่กฎหมายทั้งประเทศเกาหลีใต้และอิตาลี การละทิ้งเรือถือเป็นอาชญากรรมทางทะเล ทั้งนายลี และนายเชตติโน ถูกดำเนินคดีในข้อหาใกล้เคียงกัน ข้อหาหลักคือ ละทิ้งเรือ ประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายผู้อื่น และไม่แสวงหาความช่วยเหลือจากเรือลำอื่น


เปิดประวัติศาสตร์เรือล่ม


สำหรับกรณีกัปตันละทิ้งเรือ เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เมื่อปี พ.ศ.2449 เรือกลไฟชื่อ “ซิริโอ”สัญชาติอิตาลี ซึ่งเกิดอุบัติเหตุจมลงใกล้กับชายฝั่งประเทศสเปน มีรายงานว่ากัปตันเรือได้หนีเอาตัวรอด โดยทิ้งผู้โดยสารจำนวน 150 ราย ให้เสียชีวิต แต่เพียง 1 ปี ถัดมากัปตันผู้นั้นก็ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากตรอมใจ

เปิดประวัติศาสตร์เรือล่ม

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์