เปิดประสบการณ์ใหม่ เที่ยวอวกาศ นาทีละ 1 ล้านบาท ! (คลิป)

เชิญรับชมคลิปวิดีโอ
vvvv
vvv
vv
v

เปิดประสบการณ์ใหม่ เที่ยวอวกาศ นาทีละ 1 ล้านบาท ! (คลิป)

เที่ยวอวกาศ นาทีละล้าน

“โลกของเรากลมหรือแบน?”

ปัญหานี้เป็นที่ถกเถียงกันมานาน
ไม่ว่าจะเป็นคำตอบแบบไหน
เราก็คงไม่เชื่อ นอกจากจะได้เห็นด้วยตาของเราเอง
และโอกาสพิสูจน์นั้นกำลังจะมาถึง
ใครจะไปคิดว่าการท่องเที่ยวอวกาศกำลังจะเกิดขึ้นในยุคของเราแล้ว

เรื่องนี้เป็นอย่างไร..


เมื่อเร็วๆ นี้ เจฟฟ์ เบโซส เจ้าของบริษัท Amazon ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ E-commerce ได้ประกาศที่จะขายตั๋วสำหรับการเดินทางสู่อวกาศในปีหน้า

จากคำบอกเล่าของพนักงานภายในบริษัท Blue Origin บอกว่าราคาตั๋วน่าจะอยู่ที่ประมาณ 7 ล้านถึง 10 ล้านบาท

แล้วเจ้าของบริษัท Amazon เกี่ยวข้องกับอวกาศได้อย่างไร ?

หลายๆ คนอาจจะรู้จักแต่บริษัท SpaceX ของ อีลอน มัสก์ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอวกาศ

แต่จริงๆ แล้ว เจฟฟ์ เบโซส ก็เป็นเจ้าของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอวกาศมานานเกือบ 20 ปีแล้ว และบริษัทนี้ยังก่อตั้งขึ้นก่อนบริษัท SpaceX อีกด้วย

Blue Origin เป็นบริษัทส่วนตัวของเบโซส ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2000 โดยเป็นผู้ให้บริการในการสร้างกระสวยอวกาศและการขนส่งอวกาศ


ปลายปี 2017 เบโซส ขายหุ้นใน Amazon.com Inc. มูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเงินมาพัฒนาบริษัท Blue Origin ของเขาสำหรับการพัฒนาโครงการนำมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ

ต้องบอกว่านี่ไม่ใช่การขายหุ้นครั้งแรกของเขา
ปี 2016 เบโซส ขายหุ้นออกไปเป็นมูลค่า 671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ
ต้นปี 2017 ที่ผ่านมา เบโซส ก็เพิ่งขายหุ้นออกไปเป็นมูลค่า 940 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนั้น เบโซส เองยังเคยให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะขายหุ้นปีละ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนเพิ่มในบริษัท Blue Origin ของเขาเช่นกัน

สำหรับการท่องเที่ยวอวกาศในครั้งนี้คาดว่าจะใช้จรวด New Shepard ที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ครั้งละ 6 คน

โดยเมื่อขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกแล้ว กระสวยก็จะดีดตัวออกก่อนและขับเคลื่อนต่อด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้เรามีระยะเวลาชมอวกาศและโลกของเราทั้งหมดประมาณ 10 นาที

แปลว่า การเที่ยวอวกาศในครั้งนี้จะมีราคาอยู่ที่ประมาณนาทีละ 1 ล้านบาทนั่นเอง..


ถ้าเป็นในสมัยก่อนการเที่ยวอวกาศคงจะเป็นเรื่องยาก

เพราะว่าเมื่อเรายิงจรวดขึ้นไปแล้วส่วนที่เป็นท่อเชื้อเพลิงจะถูกดีดออกและตกสู่ทะเล ทำให้การยิงจรวดขึ้นสู่อวกาศต้องสร้างฐานเชื้อเพลิงใหม่ทุกครั้ง ส่งผลให้ต้นทุนของการยิงจรวดมีราคาแพง

แต่เมื่อปี 2015 ทั้งบริษัท Blue Origin และ SpaceX สามารถนำส่วนของท่อเชื้อเพลิงกลับมาจอดยังพื้นโลกได้ ต้นทุนของการยิงจรวดจึงลดลงไปได้อย่างมหาศาล

เราจึงเริ่มเห็นมีการพูดถึงการเที่ยวอวกาศมากขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมา


แล้วการท่องเที่ยวอวกาศมีคู่แข่งหรือไม่ ?

แน่นอนว่าคู่แข่งหลักก็คงจะเป็น SpaceX ของ อีลอน มัสก์ อย่างไม่ต้องสงสัยเพราะทั้งสองคนนี้มีการพัฒนาจรวดแข่งขันกันมาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

แต่นอกจาก SpaceX แล้วก็ยังมี Virgin Galactic ซึ่งก่อตั้งโดย ริชาร์ด แบรนสัน ผู้สร้าง Virgin Group

ซึ่งเที่ยวบินท่องอวกาศของ Virgin Galactic สามารถบรรทุกผู้โดยสารครั้งละ 6 คนเหมือนกัน


แต่เครื่องบินของ Virgin Galactic จะบินขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศซี่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างอวกาศกับชั้นบรรยากาศโลกเข้าใกล้สภาวะไร้น้ำหนักแล้วกลับมาจอดที่สนามบิน

เนื่องจากระดับความสูงของเครื่องบินที่ทำได้ตอนนี้อยู่แค่เพียง 84,271 ฟุต ซึ่งต่างจากระดับของกระสวยอวกาศของ Blue Origin และ SpaceX ที่อยู่สูงกว่าถึง 4 เท่า

ส่วนในเรื่องค่าใช้จ่าย Virgin Galactic ก็คิดค่าบริการเท่ากับ Blue Origin เช่นกันและมีข่าวว่าตอนนี้มียอดจองเที่ยวบินแล้วมากถึง 700 คน

ไม่น่าเชื่อการท่องเที่ยวอวกาศกำลังจะกลายเป็นธุรกิจใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า


เรื่องนี้ก็อาจจะเหมือนกับเครื่องบินในสมัยอดีตที่ใครๆ ก็มองว่าเป็นของที่ใช้เฉพาะกลุ่มคนรวยเท่านั้น

แต่ตอนนี้การเดินทางด้วยเครื่องบินกลายเป็นเรื่องที่พบเห็นได้อย่างปกติในชีวิตประจำวัน

ในอนาคตการเดินทางไปอวกาศอาจจะกลายเป็นเรื่องทั่วไปเหมือนกับเครื่องบินก็เป็นได้

และถ้าตอนนี้ใครกำลังมองหาสถานที่เที่ยวใหม่ๆ อยู่ แบบที่ไม่ซ้ำใคร

การเที่ยวอวกาศก็อาจจะเป็นคำตอบที่น่าสนใจเลยทีเดียว..


ที่มา longtunman


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์