เฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ภัยร้ายในวัยรุ่น!


เฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ภัยร้ายในวัยรุ่น!

วัยรุ่นในปัจจุบันมีปัญหากันมากมายเหลือเกิน ทั้งเรื่องเรียน ความรัก ไปจนถึงเรื่องครอบครัว แต่ละเรื่องนั้นก็สร้างความลำบากใจให้กับวัยรุ่นอย่างเราๆ เสียเหลือเกิน หันไปทางไหนก็ไม่มีใครเข้าใจ จนทำให้เกิดความเครียด อาการซึมเศร้า จนทำให้รู้สึกอยากทำร้ายตัวเอง หรือร้ายแรงที่สุดก็คือ การฆ่าตัวตาย


ข่าวในหนังสือพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ ช่วงนี้ก็มีแต่ข่าววัยรุ่นฆ่าตัวตาย ที่นี่ดอทคอมจึงมีวิธีสำรวจตัวเองว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่มาให้ทุกๆ คนได้สังเกตตัวเองกันค่ะ



เฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ภัยร้ายในวัยรุ่น!

อาการของโรคซึมเศร้า

1. มีอารมณ์ซึมเศร้า (เด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย)
2. เบื่อ หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ
3. นอนไม่หลับ หรือหลับๆตื่นๆหรือหลับมาก
4. เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง
5. เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป
6. รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
7. ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด
8. พูดช้า ทำอะไรช้าลงหรือกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
9. มีความคิดอยากตาย คิดทำร้ายตัวเอง



เฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ภัยร้ายในวัยรุ่น!

การรักษาโรคซึมเศร้า
การรักษาหลักคือ การพูดคุยให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัด รวมถึงการใช้ยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้าหากมีความจำเป็น โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้นจนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและยิ่งมารับการรักษาเร็วเท่าไรอาการก็จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้รักษายากยิ่งขึ้น



ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาแก้โรคซึมเศร้า
ปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่ถือว่าปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยบางคนกลัวผลข้างเคียงจนไม่กล้ากินยาตามที่แพทย์สั่งจนครบ เพราะกลัวว่าจะติดยาหรือกลัวว่ายาทำให้มีอาการมึนงงไปหมด ความจริงแล้วยาแก้ซึมเศร้าไม่มีการติดยาและไม่ทำให้เกิดอาการมึนงงอย่างที่เข้าใจกัน



เฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ภัยร้ายในวัยรุ่น!

การป้องกัน
การป้องกันโรคซึมเศร้าทำได้โดยปฏิบัติหลักสุขศึกษา คือ

1. อาหาร ให้กินอาหารครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก
2. การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30-40 นาที เป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็วก็ได้
3. การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่ง่วงหรือยังเพลียอยู่
4. การทำสมาธิ (Mindfulness) เพื่อผ่อนคลายจิตใจ มีงานวิจัยมากมายพบว่าการทำสมาธิช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
5. การฝึกคิดบวก ป้อนความคิดทางบวกให้กับตัวเองอยู่เสมอเพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้


เครดิตแหล่งข้อมูล : bumrungrad


เรียบเรียง : ทีมงาน Teenee.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์