เมื่อลูกพูดช้า จะทำอย่างไร

เมื่อลูกพูดช้า จะทำอย่างไร



คุณพ่อคุณแม่หลายคนค่อนข้างที่จะหนักใจในการที่ลูกพูดช้า ในขณะที่เด็กคนอื่นที่อายุใกล้เคียงกัน หรือเท่ากันกับลูก พูดไปได้มากแล้ว พ่อแม่ที่ประสบปัญหานี้ก็มักจะปรึกษากับเพื่อน ญาติพี่น้อง ว่าเด็กเป็น “เด็กปากหนัก” จะมีผลเสียอย่างไรแล้วจะทำอย่างไรดี

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าใจกับพัฒนาการทางภาษาของเด็ก เราไม่สามารถระบุเจาะจงอายุของเด็กที่แน่นอนว่าเด็กควรพูดได้เมื่ออายุเท่าใด อย่างไรก็ตาม แม้เราจะพบวาเด็กที่พูดช้าบางคนอาจอยู่ในกลุ่ม “ปากหนัก” แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะสังเกต

ปัจจัยที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านภาษาดังนี้

1 การใช้ภาษาท่าทาง เช่น การชี้บอกความต้องการ การพยักหน้า ส่ายหน้า การชูแขนสองข้างขึ้นเพื่อให้อุ้ม จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ยังไม่พูดแต่สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาท่าทางจะสามารถพัฒนาภาษาพูดได้ทันเพื่อนในวัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่พูดช้าและได้รับการสอนให้สื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดสามารถมีพัฒนาการของการพูดได้ดี

2 อายุที่ได้รับการวินิจฉัย ในรายที่มารับการตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษา เมื่ออายุมากขึ้นมักจะมีพัฒนาการที่ดีน้อยกว่าเด็กที่มาตั้งแต่อายุยังน้อย รวมทั้งเด็กในช่วงอายุ 2 ปี – 2 ปี 6 เดือน ที่มีอัตราการเพิ่มของพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าเด็กอื่นพบว่าจะมีพัฒนาการตามหลังเพื่อนในวัยเดียวกัน

3 ความเข้าใจภาษา การที่เด็กแสดงลักษณะที่ว่าเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด เช่นการทำตามคำสั่งได้ การชี้อวัยวะเมื่อถูกถาม การเข้าใจเมื่อถูกห้าม การหันหาเสียงเรียกชื่อ โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กควรเข้าใจภาษาก่อนที่จะพูด และสื่อสารกับผู้อื่นได้ ซึ่งมีการศึกษาติดตามเด็กที่ “ปากหนัก” พบว่า เมื่อติดตามเด็กจะมีความเข้าใจภาษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีปัญหาล่าช้าในการพัฒนาทางด้านภาษา

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเมื่อพบว่าลูกมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดเดาเอาว่าลูกเหมือนเด็กคนอื่นและจะพูดได้ในที่สุด แต่ควรไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการพฤติกรรม เพื่อได้รับการประเมินด้านพัฒนาความเข้าใจภาษาและการพูด และหากมีข้อบ่งชี้ลูกอาจต้องได้รับการประเมินการได้ยิน เมื่อได้ผลต่างๆเรียบร้อยแล้ว กุมารแพทย์จะวินิจฉัยและวางแผนให้การช่วยเหลือซึ่งแตกต่างกันตามความรุนแรงของปัญหา

1 ในรายที่ไม่รุนแรง กุมารแพทย์อาจให้คุณแม่เป็นผู้ฝึกกระตุ้นพัฒนาการแก่ลูกเอง โดยมีคู่มือแนะนำประกอบ และนัดมาตรวจติดตามเป็นระยะๆ

2 ในรายที่รุนแรงปานกลาง กุมารแพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมกับอรรถบำบัด เพื่อให้ประเมินเพิ่มเติมกับรับแผนการบำบัดนำกลับไปฝึกที่บ้านร่วมกับการฝึกกับนักอรรถบำบัด และนัดมาตรวจติดตามเป็นระยะๆ

3 ในรายที่รุนแรง หรือมีปัญหาอื่นรวมด้วย กุมารแพทย์จะส่งลูกไปฝึกกับนักอรรถบำบัด รวมทั้งอาจต้องพบนักวิชาชีพอื่นตามความต้องการของเด็กแต่ละคน และนัดตรวจติดตามพัฒนาการเป็นระยะๆ

หากคุณพ่อคุณแม่คนใดเมื่อประสบปัญหาลูกพูดช้า คงพอทราบแนวทางในการดูแลลูกแทนที่จะรอจนลูกพูดได้ หรือเมื่อลูกพูดไม่ได้แล้วค่อยมาปรึกษากุมารแพทย์ซึ่งอาจจะล่าช้าเกินไป



ขอบคุณ : thaieditorial.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์