เรื่องราวที่คุณอาจไม่เคยรู้..ความเป็นมาของหนังสือขออนุญาตและใบอนุญาตให้มีภรรยา!!

หนังสือขออนุญาตมีภรรยาและ ใบอนุญาตให้มีภรรยา มีความเป็นมาในสมัยรัชกาลที่6 พ.ร.บ. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก กำหนดให้ก่อนมีเมีย ข้าราชการในสังกัดต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกรมของตนก่อน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในบทความเรื่อง “เครื่องหมายแห่งความรุ่งเรือง คือสภาพแห่งสตรี” มีความตอนหนึ่งว่า

“ตามกฎหมายอังกฤษในส่วนลักษณะผัวเมีย หญิงชายมีความเสมอหน้ากัน โดยต้องมีผัวเดียวเมียเดียวเหมือนกัน แต่ในการที่จะหย่ากัน ฝ่ายชายได้เปรียบเพราะอาจจะฟ้องหย่าขาดจากภรรยาเพราะภรรยาคบชู้เท่านั้นพอแล้ว แต่ฝ่ายหญิงถ้าจะฟ้องหย่าขาดจากชาย ต้องแสดงหลักฐานว่า สามีของตนนั้น นอกจากการมีเมียอีกคนหนึ่ง ได้ทอดทิ้งขาดสันนิวาสไปแล้วมีกำหนดตั้งปี หรือว่าสามีได้ข่มเหงอย่างทารุณหยาบช้า จึ่งจะฟ้องขึ้น ตามกฎหมายสยามและประเทศต่างๆ ในบูรพทิศ กฎหมายอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้ไม่ว่ากี่คน แต่หญิงคบชู้ย่อมเป็นเหตุให้สามีหย่าร้างได้ อีกทั้งทรัพย์สินทั้งปวงก็ถูกริบให้แก่ผัวหมดด้วย”

ฉะนั้นการที่กฎหมายไทยอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้หลายคน และไล่หรือทิ้งง่ายๆเพราะ “การเลี้ยงเมียไว้พร้อมๆ กันหลายๆคนเป็นการเปลืองทรัพย์มาก จึ่งได้เกิดมีธรรมเนียมเปลี่ยนเมียบ่อยๆ คืออยู่กับคนหนึ่งจนเบื่อแล้ว พอจะมีเมียใหม่ก็ไล่คนเก่าเสีย โดยหาเหตุเพียงเล็กน้อย หรือแม้ไม่มีเหตุเลยก็ได้ สมัยนี้มักใช้ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์แทนหย่ากันตามแบบเก่า ซึ่งสะดวกดีสำหรับผู้ชาย!” นอกจากจะเป็นการกดขี่สตรีผู้เป็นภรรยาแล้ว ยังส่งผลเสียหายไปถึง “ทารกอันหาความผิดมิได้จะต้องแบกบาปรับความชั่วร้ายแห่งบิดามารดา? ขอให้นึกถึงความอัปยศซึ่งเด็กจะต้องรับเพราะไม่สามารถจะอธิบายได้ว่า เหตุใดบิดามารดาซึ่งยังมีชีวิตอยู่ จึงมิได้อยู่เป็นสามีภรรยากัน!” อีกทั้งยังส่งผลไปถึงเรื่องมรดกซึ่งเป็นคดีความตกค้างอยู่ในศาลเป็นอันมาก เพราะศาลต้องเสียเวลา“ด้วยเหตุว่าเกือบจะเหลือวิสัยที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องขอส่วนแบ่งนั้นจะเป็นภรรยาของผู้ตายหรือไม่

เพราะฉะนั้นการแต่งงานกันโดยธรรมดาโลก จึงไม่เป็นของง่ายสำหรับตุลาการศาลหลวงเลย และความยุ่งยากของกิจการแผนกนี้ ย่อมเป็นผลดีแก่พวกหมอกฎหมายทนายความเสียจริงๆ!”

ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้การสมรสเป็นเครื่องยกสถานภาพของสตรีให้ทัดเทียมบุรุษ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของครอบครัวและขจัดความยุ่งยากอันเนื่องมาแต่การสมรส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนักขึ้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2457 ด้วยมีพระราชดำริว่า

“ในเรื่องการสมพาศแห่งคนในสมัยนี้ ทรงสังเกตว่าดูเปนไปโดยอาการอันยิ้ม ไม่เปนระเบียบเรียบร้อย ไม่ใคร่เลือกหญิงที่เรียบร้อยแท้จริง ชายหนุ่มมักพอใจสมจรด้วยหญิงแพศยาหาเลี้ยงชีพโดยบำเรอกามคุณ และมักเข้าใจไปว่าการสมจรเช่นนั้น เปนของควรนิยม เพราะคล้ายคลึงกับแบบแผนแห่งยุโรปประเทศ ซึ่งเปนความเข้าใจเอาเองโดยพอใจใคร่ให้เปนเช่นนั้น และการมีภรรยาแต่งงานสมรสอย่างโบราณประเพณีมักถือกันว่า เปนของพ้นสมัยเสียแล้ว แม้ใครประพฤติก็ได้ชื่อว่าคนภูมิเก่าคร่ำคร่า หรือโง่เง่าเต่าปูปลาไม่รู้จักประเพณีนิยมอย่างสมัยใหม่ ดังนี้เปนต้น”


 
ประกอบกับมีพระราชดำริว่า เสวกามาตย์ราชบริพารคนหนึ่งคนใดหากจะประพฤติผิดพระราชนิยมในข้อใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคนขี้เมาหรือนักเลง หรือคนมักพูดปด ก็ย่อมเป็นการประพฤติผิดที่สร้างความเสื่อมเสียให้เฉพาะตัว “ไม่สำคัญเท่าในข้อที่เกี่ยวด้วยการมีครอบครัว เพราะหญิงดีย่อมเปนศรีแก่ชาย แต่หญิงร้ายย่อมนำความพินาศยิ้มมาสู่ผู้ที่สมพาศ หาเสนียดยิ้มใดเสมอเหมือนได้โดยยาก เพราะฉนั้นจึงทรงพระราชดำริห์ว่า เปนการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องทรงกวดขันเรื่องครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนักให้ยิ่งขึ้น เพื่อมิให้เปนที่ติฉินนินทาแห่งผู้อื่นได้”

ในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก นอกจากจะมีบทบัญญัติให้มีการจดทะเบียนครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก โดยให้จดนามภรรยาและบุตรทุกคนลงในทะเบียนครอบครัว และถ้าต่อมามีการหย่าขาดจากกันหรือแยกเคหะสถานกัน ก็ “ต้องชี้แจงด้วยว่า บุตร์ที่มีด้วยกันนั้น ได้ตกลงจะให้อยู่กับใคร และภรรยามิได้อย่ากัน เปนแต่แยกเคหะสถานกัน ต้องชี้แจงว่าภรรยาอยู่แห่งใด อาไศรยผู้ใดอยู่ หรืออยู่โดยลำพัง” แล้ว ยังมีบทบัญญัติให้บรรดาข้าราชการในพระราชสำนักที่ยังมิได้มีครอบครัวในเวลาที่ประกาศใช้กฎมณเฑียรบาลนั้น เมื่อจะทำการสมรสต้องมีหนังสือขออนุญาตมีภรรยายื่นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะทำการสมรสได้ จึงเป็นอันนับได้ว่า พระราชนิยมว่าด้วยการสมรสของข้าราชการในพระราชสำนักนี้คือต้นแบบของการสมรสในลักษณะ “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทย

พ.ร.บ. กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก มาตราที่ 23-32 หมวด 6 ว่าด้วยการอนุญาตให้มีครอบครัวและเคหะสถาน
มาตรา 23 บรรดาข้าราชการในพระราชสำนัก ที่ยังมิได้มีครอบครัว หรือเคหะสถานของตนเองแต่เมื่อก่อนประกาศใช้กฎนี้ เมื่อต่อไปจะมีครอบครัวหรือ เคหะสถานต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกรมของตนก่อน จึงจะมีได้
มาตรา 24 การขออนุญาตให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง ของตน เพื่อนำเสนอเป็นลำดับ ดังจะได้กล่าวต่อไป และถ้าเมื่อใบอนุญาตยังไม่ตกมา ห้ามมิให้ไปมีภรรยา หรือไปอยู่ ณ เคหะสถานใหม่นั้นเป็นอันขาด
มาตรา 25 ข้าราชการที่มีครอบครัวหรือเคหะสถาน อันได้จด ทะเบียนตามกฎนี้แล้ว ถ้าต่อไปเมื่อหน้า จะมีภรรยาเพิ่มเติมใหม่อีกก็ดี หรือจะมี เคหะสถานเพิ่มขึ้นอีกก็ดี ต้องขออนุญาตอย่างเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วใน มาตรา 23 และ มาตรา 24

6349660563566400002
มาตรา 26 ในหนังสือขออนุญาตให้มีข้อความละเอียด คือ
(ก) ขออนุญาตมีภรรยา ให้มีข้อแสดงดังต่อไปนี้
1. ยศ บรรดาศักดิ์ และนามเดิม นามสกุล กับตำแหน่งราชการ
2. อายุ ปีเกิด
3. รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละเท่าใด
4. ได้รับผลประโยชน์นอกจากทางราชการอย่างใดบ้าง
5. ได้มีภรรยาอยู่แล้วหรือไม่ ถ้ามีชื่อไร
6. ผู้ที่จะตกแต่งหรือเป็นภรรยาใหม่นั้น ชื่อไร
7. นามบิดามารดาของหญิง และชาติใด ในบังคับรัฐบาลใด
8. หลักฐาน คือ บิดามารดาหรือตัวหญิงนั้น มีทางทำมาหาเลี้ยง ชีพอย่างไรอยู่หรือไม่ มีทรัพย์สมบัติอย่างไรบ้าง
9. หญิงนั้นมีอายุเท่าไร เกิดปีอะไร
10. หญิงนั้นเคยมีผัวแล้วหรือยัง ถ้าเคยมีแล้ว ให้ชี้แจงด้วยว่า ผัวหย่าหรือเป็นหม้ายโดยมรณภาพแห่งผัว
11. ความประพฤติของหญิงนั้น เท่าที่รู้เห็นอยู่เป็นอย่างไร
(ข) ขออนุญาตมีเคหะสถาน ให้มีข้อแสดงดังต่อไปนี้
1,2,3, และ 4 เหมือนอย่างขออนุญาตมีภรรยา
5. เป็นคนโสด หรือมีครอบครัว
6. ในขณะนี้อยู่ที่ไหน คือ อยู่ประจำในสถานที่ภายในพระราชฐาน หรือเรือนหลวงแห่งใด หรือเช่าอยู่ หรืออยู่กับบิดามารดา หรืออาศัยผู้ใด และที่อยู่นั้น อยู่แห่งใด
7. บ้านที่จะไปอยู่ใหม่นี้ สร้างขึ้นใหม่ด้วยทุนทรัพย์ของตนเอง หรือซื้อ หรือเช่า หรือใครให้ หรือจะอาศัยอยู่กับผู้ใด
8. บ้านใหม่นี้อยู่แห่งหนตำบลใด ต้องบอกนามถนน และเลข (ถ้ามี)
9. เมื่อย้ายไปอยู่ที่บ้านใหม่แล้ว บ้านเก่าจะยังคงเป็นบ้าน ของตนอยู่หรือจะไม่ใช้เป็นที่สำนักอีกต่อไป
มาตรา 27 ระเบียบการที่จะพึงปฏิบัติในเรื่องขออนุญาตมีภรรยาหรือ มีเคหะสถานนี้ เมื่อผู้ขออนุญาตได้ยื่นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงแล้ว เป็นหน้าที่ แห่งผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่จะต้องสอบสวนดูให้ได้ความแน่นอนว่า ตามรายการที่มี อยู่ในหนังสือนั้น เป็นการถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ถูกต้องให้พูดจาว่ากล่าว ให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขข้อความเสียให้ถูกต้อง เมื่อถูกต้องแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรง ลงความเห็นของตนกำกับลงในหนังสือนั้นว่า “เห็นสมควร” หรือ “ไม่เห็นสมควร” สุดแท้แต่ความเห็น แต่ถ้าไม่เห็นสมควรต้องอธิบายด้วยว่าเพราะเหตุใด และถ้า ความเห็นนั้นจะมีข้อความยืดยาว ก็ให้เขียนลงในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งต่างหาก แนบไป กับหนังสือขออนุญาต เมื่อได้ตรวจและลงความเห็นแล้ว จึงส่งหนังสือพร้อมด้วยความ เห็นนั้นขึ้นไปยังผู้บังคับบัญชาโดยตรงเหนือตนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งนั้น และให้ปฏิบัติเช่นนี้ เป็นลำดับไปจนถึงผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสุด ในกรณีแห่งผู้ขออนุญาต
มาตรา 28 ผู้ที่มีอำนาจอนุญาตได้นั้น ถ้าผู้ขอเป็นข้าราชการตั้งแต่ชั้นเสวกเอก หรือนายพันเอก หรือหัวหมื่นลงมา ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสุดในกรมนั้น มีอำนาจอนุญาตได้ แต่ถ้าผู้ขอเป็นข้าราชการชั้นเสวกเอก หรือตั้งแต่ชั้นเสวกเอก หรือนายพันเอก หรือหัวหมื่นขึ้นไป ต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ผู้อื่นจะอนุญาตมิได้เป็นอันขาด
อนึ่ง มหาดเล็กกองห้องที่พระบรรทม ไม่ว่าจะเป็นยศ บรรดาศักดิ์ชั้นใด ต้องได้รับพระบรมราชานุญาต ผู้อื่นจะอนุญาตมิได้เป็นอันขาด
มาตรา 29 ผู้ที่มีหน้าที่จะอนุญาตตาม มาตรา 28 นั้น เมื่อได้รับหนังสือ ขออนุญาตแล้ว และก่อนที่จะอนุญาต ต้องพิจารณาดูให้เห็นชัดแล้วว่า ผู้ขออนุญาตนั้น เป็นผู้ที่สมควรจะได้รับอนุญาตแล้ว จึงค่อยอนุญาต ในข้อควรมิควรให้ถือเอาพระราช นิยมเป็นเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ในส่วนที่จะขอมีภรรยา
1. ผู้ขอเป็นผู้ที่มีหลักฐานมั่นคงพอควรแก่ยศ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่ง
2. ได้รับพระราชทานเงินเดือนพอสมควรจะเลี้ยงครอบครัวได้
3. มีอายุเกินกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ย่างเข้าปี 19 แล้ว
4. เป็นผู้ที่รู้จักผิดและชอบ ไม่เหลวไหลลังเล
5. เป็นผู้ที่มีเคหะสถานเป็นหลักแหล่งหรือจะได้มี เมื่อมีภรรยา
6. เป็นผู้ที่ไม่มีกามโรคเรื้อรังประจำตัวอยู่ยังไม่หาย
7. หญิงที่จะเป็นภรรยาเป็นผู้มีหลักฐาน ไม่ใช่หญิงนครโสเภณี หรือหญิง แพศยา หรือหญิงที่มักสมจรสำส่อน
8. หญิงนั้นมีอายุเกินกว่า 16 ปีบริบูรณ์ ย่างเข้าปีที่ 17 แล้ว
9. หญิงนั้นมิใช่เป็นภรรยาผู้อื่นอยู่ในขณะที่ขออนุญาต
10. หญิงนั้นมิใช่ผู้ที่หย่ากับสามีเพราะมีชู้
(ข) ในส่วนขอมีเคหะสถาน
1,2,3 และ 4 เหมือนการขอมีภรรยา
5. ถ้าผู้ขอมีภรรยาแล้ว หรือได้ขออนุญาตจะมีภรรยาอยู่แล้ว ควรอนุญาต
6. คนโสด คือ ไม่มีภรรยาและครอบครัว ถ้าจะอนุญาตได้ก็แต่ที่เห็น ปรากฎชัดว่า เป็นผู้มีหลักฐานมั่นคง เป็นผู้สมควรครองเรือนได้อย่างแท้จริง และมีอายุ ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ย่างเข้าปีที่ 21 แล้ว
7. เคหะสถานต้องตั้งอยู่ในที่ซึ่งเป็นหลักแหล่ง มีทางไปมาได้โดยสะดวก พอควร
มาตรา 30 เมื่อผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาดูโดยถ้วนถี่แล้ว ถ้าแม้ไม่เห็น เป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง หรือเพื่อเหตุหลายประการก็ดี ให้เขียนลงไปใน หนังสือขออนุญาตนั้นว่า “ไม่อนุญาต” และให้ลงนามกำกับไว้เป็นสำคัญ แต่ถ้ามีข้อ ขัดข้องอยู่เพียงแต่เล็กน้อย ซึ่งเห็นว่าพอจะกล่าวให้แก้ไขได้ ก็ให้เรียกตัวผู้ขออนุญาตขึ้นมาชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจ ถ้าแม้เขายอมรับรองจะแก้ไขข้อขัดข้องนั้นให้ หมดไป ก็จงยอมให้โอกาสให้เขามีเวลาแก้ไข แต่ถ้าเขาไม่ยอมที่จะแก้ไขก็ให้ สลักลงว่า “ไม่อนุญาต” ทีเดียว
แต่ถ้าเห็นว่าเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวงที่จะอนุญาต ก็ให้ทำ ใบอนุญาตให้เป็นสำคัญ ลงนามและประทับตราตำแหน่งผู้อนุญาต ใบอนุญาตให้ทำ เป็นสามฉบับความต้องกัน ฉบับหนึ่งให้ผู้อนุญาตรักษาไว้ อีกสองฉบับให้ส่งลงไปเป็น ลำดับจนถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้ขออนุญาต ให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงมอบใบอนุญาต ทั้งสองฉบับให้แก่ผู้ขอ ให้ผู้ขอนำใบอนุญาตไปให้แก่เจ้าพนักงานทะเบียนเพื่อเป็นพยาน ฉบับหนึ่งในเมื่อไปขอจดทะเบียน และให้เจ้าพนักงานเก็บใบอนุญาตฉบับนั้นไว้เป็น หลักฐานสืบไป อีกฉบับหนึ่งซึ่งยังเหลืออยู่กับผู้ขออนุญาตนั้น ให้ผู้ขอรักษาไว้เองเป็น สำคัญสืบไป
มาตรา 31 ข้าราชการไม่ว่าชั้นใด ๆ ถ้าจะมีภรรยาเป็นชาวต่างประเทศ หรือคนในบังคับรัฐบาลต่างประเทศ ต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ก่อนจึงจะมีได้ ผู้อื่นจะอนุญาตไม่ได้เป็นอันขาด
มาตรา 32 ให้พึงเข้าใจว่า การพระราชทานหรือไม่พระราชทาน พระบรมราชานุญาตแก่ผู้ที่ขอมีครอบครัวหรือเคหะสถาน ดังกล่าวแล้วใน มาตรา 28 และ มาตรา 31 นั้น ไม่จำจะต้องพระราชทานพระบรมราชาธิบายอย่างใด เป็นแต่ พระราชทานพระราชกระแสว่า “อนุญาต” หรือ “ไม่อนุญาต” เท่านั้น
อนึ่ง ใบพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งจะเป็นส่วนพระราชทาน ตาม มาตรา 30 นั้น ให้เป็นหน้าที่ราชเลขานุการส่วนพระองค์รับพระบรมราชโองการ ออก ให้ลงนามและประทับตราตำแหน่งราชเลขานุการส่วนพระองค์

เรื่องราวที่คุณอาจไม่เคยรู้..ความเป็นมาของหนังสือขออนุญาตและใบอนุญาตให้มีภรรยา!!

ขอบคุณเนื้อหาและภาพจาก 
https://www.facebook.com/FreedomAlbum/photos/a.596421170472907.1073742326.268507956597565/596421193806238/


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์