เลิกปลุกระดม!!พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี รัชกาลที่๑-๑๐ คือที่สุดความจงรักภักดีของคนไทย

นับเป็นวาระมหามงคลที่คนไทยทั้งแผ่นดินล้วนปีติ จากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญภายหลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประชาชนชาวไทยสืบไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2557 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 23

 

 

 

ขณะเดียวกันก็ต้องถือว่าวันนี้อีกหนึ่งวาระสำคัญที่สากลโลกได้ประจักษ์ชัดถึงความมั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ซึ่งยืนยาวสืบเนื่องมานานตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือ พระนามเดิม ทองด้วง ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 และถือเป็นยุคเริ่มต้นราชวงศ์จักรี หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าเป็น "ยุครัตนโกสินทร์"

นับเนื่องจากภายหลังที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงเริ่มย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังเขตพระนคร เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 หรือตรงกับวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 คํ่า ส่วนสาเหตุที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชดำริให้ย้ายราชธานีเพราะ

 

1. พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวังออกไปได้อีก

2. ที่ตั้งพระราชวังเดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ

3. กรุงเทพมหานครหรือพระนครแห่งใหม่ มีที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา และมีพื้นที่กว้างขวางเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก

 

 

 

ส่วนที่มาของชื่อและสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรี มีรายละเอียดน่าสนใจดังนี้ เริ่มต้นจากชื่อของราชวงศ์จักรีซึ่งมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือ ตำแหน่ง สมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี

 

 

 

ขณะที่คำว่า "จักรี" นี้พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของ พระนารายณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระพุธทยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้าง พระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจุบัน

 

อย่างไรก็ตามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ยังมีศึกสงครามกับอริราชศัตรูเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะกับสงครามยิ่งใหญ่ที่หลายคนรู้จักในนามสงครามเก้าทัพ


เลิกปลุกระดม!!พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี รัชกาลที่๑-๑๐ คือที่สุดความจงรักภักดีของคนไทย


จากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งครองราชสมบัติได้ 27 ปีเศษ กรุงรัตนโกสินทร์ได้เข้าสู่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถือทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี

ในยุคสมัยนี้ต้องถือว่ามีความเจริญรุ่งเรือยิ่งในเรื่องวัฒนธรรมประเพณี โดยเฉพาะบทพระราชนิพนธ์ บทละครในเรื่องรามเกียรติ์ , บทละครเรื่องอิเหนา , บทกลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เป็นต้น ควบคู่ไปกับการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ทั้งชาติเอเซียและต่างชาติตะวันตก ทั้งสหรัฐ อังกฤษ และโปรตุเกส

จวบจนสิ้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ราชวงศ์จักรียังคงมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณาประโยชน์ต่อชาติแผ่นดิน และเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงดูแลทุกข์สุขอาณาประชาราษฎร์สืบต่อมาเรื่อย ๆ

ดังปรากฏพระราชทินนาม ในรัชกาลที่ 3 ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสษฐ์มหาเจษฎาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ 26 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2367-2394 พระชนมายุ 64 พรรษา และถือเป็นยุคของการฟื้นฟูบูรณะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีการปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การศึกษาพระปริยัติธรรม การตั้งธรรมยุติกนิกาย และมีการเผยแพร่ศาสนาอื่นเข้ามาในไทยจำนวนมาก

ล่วงเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ 16 ปี พ.ศ. 2394 - 2411 พระชมมายุ 66พรรษา และรัชกาลที่ 5 หรือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งยุคทองของกรุงรัตนโกสินทร์

เนื่องจากพระองค์ท่านมีพระราชกรณียกิจสำคัญ ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินเกิดขึ้นมากมาย อาทิ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม โดยพสกนิกรแต่ละคนสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ

นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และยังได้มีการก่อสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433

ที่สำคัญในยุครัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังเป็นช่วงเวลาที่แผ่นดินต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างหนัก จากการรุกรานของชาติมหาอำนาจซึ่งรุกคืบเข้ายึดครองอาณาเขตโดยรอบราชอาณาจักรไทยจนหมดสิ้น ยกเว้นแผ่นดินไทยในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพระองค์ทรงพระวิริยะ อุตสาหะในการป้องการรุกรานของชาติตจะวันตกอย่างถึงที่สุด ดังปรากฏในราชพงศาวดารว่า ราชอาณาจักรไทยต้องยอมสูญเสียแผ่นดินบางส่วนให้กับชาติตะวันตกไปเพื่อแลกกับการธำรงไว้ซึ่งเอกราชของราชอาณาจักร อาทิ

การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส ครั้งที่ 1 สำหรับอาณาเขตเขมรส่วนนอก เนื้อที่ประมาณ 123,050 ตารางกิโลเมตร รวมเกาะสำคัญๆ อีก 6 เกาะ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2410 9 ต่อมาในครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด)

ไม่เท่านั้นในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 กองทัพฝรั่งเศสยังข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา จนเมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง กระทั่งในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ จวบจน ปี พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ก่อนที่ฝรั่งเศสจะถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. 2447

แต่ถึงกระนั้น ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ไทยก็ต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการคืนพื้นที่จังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด จากนั้นไทยต้องเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขต ไซยะบูลี และ จำปาศักดิ์ตะวันตก ให้กับฝรั่งเศสในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450

ในช่วงเวลาเดียวกันในยุคสมัยดังกล่าว ไทยยังต้องเสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 ( นับอย่างใหม่ พ.ศ. 2452) เพื่อขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ 40 ปี โดยราชอาณาจักรไทยยังคงสถานะเป็นประเทศเอกราชเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ตลอดจนสิ้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จะเห็นได้ว่าแต่ละรัชสมัยแห่งราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ต่างทุ่มเทพระวรกายในการทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแผ่นดิน ตลอดจนการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า และความผาสุขของปวงพสกนิกรอย่างที่สุด

โดยพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีองค์ที่ 6 คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า"

ขณะที่รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และถือเป็นยุคหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การเมือง การปกครองประเทศไทย เนื่องจากการช่วงเวลาที่ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

โดยหลังจากที่พระองค์ทรงครองราชย์ได้ 7 ปี ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยบุคคลคณะหนึ่งซึ่งชื่อว่า "คณะราษฎร" มีพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวก เป็นผู้ก่อการยึดอํานาจการปกครองประเทศ ซึ่งพระองค์ได้ยอมรับรองอํานาจของคณะราษฎร ที่จะจํากัดพระราชอภิสิทธิของพระองค์ เนื่องจากคณะราษฎรได้ให้คํามั่นสัญญาแก่ประชาชนชาวไทยว่าจะแก้ไขภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกตํ่าให้ดีขึ้น

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

ไม่เท่านั้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงตัดสินพระทัย สละราชสมบัติ ดังพระราชหัตถเลขา ที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของ ข้าพเจ้าให้ แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจ โดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง อันแท้จริงของ ประชาราษฎร" ก่อนเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ด้วยโรคพระหทัยพิการ ณ ประเทศอังกฤษ

เช่นนี้นอกจากจะเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีไม่ได้ทรงแค่เอาใจใส่อาณาประชาราษฎร์เท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงไม่ยึดติดในพระราชอำนาจ และพระราชสถานะเหมือนกับราชวงศ์ใด ๆ ในสากลโกลที่ล่มสลายไปก่อนหน้า ดังนั้นไม่ว่าวันเวลาจะผ่านพ้นไปนานแค่ไหน ประชาชนทั้งแผ่นดินก็ยังคงมีความรักผูกพันกับพระมหากษัตริย์แห่งวงศ์จักรีเช่นเดิมนับตั้งแต่แรกเริ่มสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา

โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์แห่งราชสกุล "มหิดล" หรือ รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระโอรสในสมเด็จสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ

แต่ด้วยการเกิดเหตุไม่คาดฝัน เมื่อระหว่างเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี

และเป็นที่มาต้องทำให้รัฐบาลตัดสินใจกราบบังคมทูลอัญเชิญ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีพระชนมพรรษาเพียง 18 พรรษา กราบขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

โดยเฉพาะในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

สำคัญยิ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงพระราชกรณียกิจและพระราชทานแนวพระราชดำริดพื่อพสกนิกรของพระองค์มากมายกว่า 4,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท

จนประชาชนคนไทยยกย่องพระองค์ท่านเปรียบเป็นองค์พ่อหลวงของแผ่นดิน และทำให้ประเทศไทยมีความเป็นปึกแผ่น ยากที่คนคิดร้ายจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี อันเป็นที่เคารพสูงสุดเสื่อมสลายและถูกทดแทนให้ระบอบการปกครองแบบอื่น ๆ เหมือนเช่นในหลายประเทศที่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้วสูญสลายไปกลายเป็นระบอบสาธารณรัฐ และยังดำรงเช่นนี้ต่อไปในยุคสมัยรัชกาลที่ 10 นับเนื่องต่อจากนี้ ..




เลิกปลุกระดม!!พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี รัชกาลที่๑-๑๐ คือที่สุดความจงรักภักดีของคนไทย


เลิกปลุกระดม!!พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี รัชกาลที่๑-๑๐ คือที่สุดความจงรักภักดีของคนไทย


เลิกปลุกระดม!!พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี รัชกาลที่๑-๑๐ คือที่สุดความจงรักภักดีของคนไทย


เลิกปลุกระดม!!พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี รัชกาลที่๑-๑๐ คือที่สุดความจงรักภักดีของคนไทย


เลิกปลุกระดม!!พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรี รัชกาลที่๑-๑๐ คือที่สุดความจงรักภักดีของคนไทย

cr.ชัชรินทร์ ทีนิวส์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์