เส้นผม-ขนสัตว์ดักคราบน้ำมันและปัญหาที่ตามมา


หลังเกิดเหตุท่อน้ำมันรั่วนอกชายฝั่งระยอง กระทั่งคราบน้ำมันได้ส่งผลกระทบต่อชาดหาดอ่าวพร้าวของเกาะเสม็ดนั้น ได้มีกลุ่มคนออกมาระดมหาหนทางในการที่จะช่วยยุติปัญหาดังกล่าว ซึ่งได้มีผู้รณรงค์ให้ใช้ "เส้นผม" ในการนำมาทำเป็นทุ่นดักน้ำมัน


โดยในเเฟซบุ๊กได้มีผู้เสนอของรับบริจาคเส้นผม เพื่อนำไปบรรจุในถุงไนล่อน เพื่อใช้ทำเป็น"ทุ่นผม" ที่มีลึกษณะเหมือนฟองน้ำซับคราบน้ำมัน รวมถึงการรณรงค์ให้ร่วมบริจาคเส้นผมจำนวนมาก


ขณะที่หลายคนสงสัยว่า เส้นผมมนุษย์มีคุณสมบัติในการซับน้ำมันได้จริงหรือไม่ และจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเส้นผมเหล่านั้นจะไม่เป็นตัวก่อมลภาวะทางทะเลเสียเอง


เส้นผม-ขนสัตว์ดักคราบน้ำมันและปัญหาที่ตามมา


จากการค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่าในต่างประเทศได้มีการใช้วิธีการเช่นนี้มานานแล้ว  ในเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ที่อ่าวเม็กซิโก เมื่อปี 2010 จากเหตุแท่นขุดเจาะดีพวอเตอร์ ฮอไรซอน ของบริษัทบริทิช ปิโตรเลียม เกิดระเบิด จนก่อให้เกิดมลภาวะทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของสหรัฐฯ ได้มีกลุ่มองค์กรต่างๆ ได้ร่วมรณรงค์ให้มีการบริจาคเส้นผม เพื่อนำไปซับน้ำมันที่ร้่วไหล


ลิซา โกติเยร์ ผู้ร่วมก่อตั้งแมตเทอร์ ออฟ ทรัสต์ องค์กรการกุศลด้านสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมจัดตั้งโครงการ "Hair for Oil Spills" ขึ้น เพื่อรวมรวมเส้นผมจากร้านทำผม ร้านตัดแต่งขนสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยงแกะ และประชาชนทั่วไป เธอกล่าวว่า บนเส้นผมจะมีต่อมขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่ผิวจำนวนมหาศาล ซึ่งไม่ซึมซับน้ำมันและไม่พองตัว แต่น้ำมันจะสามารถเกาะบริเวณผิวนอกของมันได้


ผมที่ได้รับบริจาคจะถูกนำมาบรรจุลงในถุงน่องไนลอน เพื่อนำไปทำเป็นทุ่นซับน้ำมันที่มีรูปทรงยาว และนำไปวางไว้ตลอดแนวชายฝั่ง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำมันรั่วอีกแรง เนื่องจากกำลังที่มีอยู่เดิมไม่สามารถปกป้องพื้นที่ชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯได้ครอบคลุมนัก แม้จะไม่ได้ผลมากเท่ากับวิธีการกำจัดคราบของหน่วยงานและองค์กรอื่นๆ แต่เธอก็ยืนยันว่า"ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย"


 


เส้นผม-ขนสัตว์ดักคราบน้ำมันและปัญหาที่ตามมา


เทคนิคดังกล่าวได้รับการทดสอบและรับรองจากสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ และเคยถูกใช้ในเหตุการณ์น้ำมันรั่วก่อนหน้านี้มาแล้ว ทั้งเหตุการณ์เรือขนส่งน้ำมัน"คอสโก ปูซาน"รั่วที่อ่าวซานฟรานซิสโก เมื่อเดือน พ.ย. 2007 ส่งผลให้น้ำมันกว่า 202,780 ลิตรรั่วไหลลงทะเล และจากเหตุการณ์น้ำมันกว่า 50,000 แกลลอน รั่วนอกชายฝั่งเกาะกุยมาราส ทางตอนกลางของฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2006


โดยในเหตุการณ์สงครามในอิรัก เมื่อปี 1991 เกิดเหตุทหารอิรักได้ปล่อยน้ำมันหลายล้านตันลงอ่าวเปอร์เซีย ทางการนิวซีแลนด์ ได้ส่งทุ่นดักน้ำมันที่ทำจากขนแกะ ที่สามารถซึมซับน้ำมันได้มากถึง 40 เท่า ของน้ำหนัก เพื่อช่วยในการทำความละอาดทะเล


เส้นผม-ขนสัตว์ดักคราบน้ำมันและปัญหาที่ตามมา


อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาพบว่า เส้นผมของมนุษย์ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพในการดักคราบน้ำมันได้ดีกว่า เนื่องจากสารเคลือบลาโนลินที่อยู่บนขนแกะจะลดลงหลังผ่านกระบวนการผลิต ขณะที่น้ำมันบนเส้นผมมนุษย์จะทำหน้าที่เป็นเป็นตัวกระจาย ที่ช่วยให้น้ำมันเปลี่ยนสภาพเป็นฟิล์มบางๆบนผิวน้ำ

 

โดยแนวคิดการใช้เส้นผมของคนเพื่อกำจัดคราบน้ำมัน สามารถย้อนกลับไปในปี 1989 ที่เกิดเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันเอ็กซอน วัลเดซ ชนเข้ากับแนวปะการัง นอกชายฝั่งรัฐอลาสก้าของสหรัฐฯทำให้น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลกว่า 119,000 ลูกบาศก์เมตร


ในครั้งนั้น นายฟิล แมคคอรี ช่างทำผมจากรัฐอลาบามาของสหรัฐฯ ได้เกิดแนวคิดว่าเส้นผมของมนุษย์ก็อาจช่วยดักคราบน้ำมันได้ หลังดูข่าวที่เจ้าหน้าที่ใช้ขนของนากทะเลในการขจัดคราบน้ำมัน เขาได้ทดลองเทน้ำมันลงในสระว่ายน้ำยางของลูกชาย และใช้ผมที่เก็บได้จากร้านทำผมของเขา มาบรรจุลงในถุงน่องของภรรยา และภายใน 2 นาที ทุ่นดังกล่าวก็สามารถดักจับน้ำมันได้หมด


เส้นผม-ขนสัตว์ดักคราบน้ำมันและปัญหาที่ตามมา


หลังจากนั้น เขาจึงได้คิดทำธุรกิจแผ่นดักจับน้ำมัน โดยนำเข้าเส้นผมมาจากประเทศจีน และในเหตุการณ์ที่อ่าวเม็กซิโก เขาได้ร่วมมือกับมูลนิธิแมตเทอร์ ออฟ ทรัสต์ เพื่อช่วยพัฒนาระบบการหมุนเวียนเส้นผม ทั้งจากผมมนุษย์และขนสัตว์ที่ได้รับการบริจาค เฉพาะในสหรัฐฯ ได้รับเส้นผมบริจาคกว่า 370,000 ปอนด์ และขนสัตว์กว่า 300,000 ปอนด์


แมตเทอร์ ออฟ ทรัสต์ กล่าวว่า เส้นผมของมนุษย์มีประสิทธิภาพในการดักจับน้ำมันได้มากกว่า เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันตามธรรมชาติน้อยกว่าขนสัตว์ อย่างไรก็ดี มูลนิธิแนะนำให้ผู้บริจาคควรสระผม หรือทำความสะอาดเส้นผมก่อน เนื่องจาก"ทุ่นผม"ใช้แรงงานของอาสาสมัคร เพื่อลดความสกปรกและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ


เส้นผม-ขนสัตว์ดักคราบน้ำมันและปัญหาที่ตามมา




อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการระดมเส้นผม ขนสัตว์เพื่อซับน้ำมัน ต่อมาได้มีการขอร้องให้ยุติการระดมดังกล่าว ด้วยเหตุผลความไม่เหมาะสมหลายประการ ที่สำคัญก็คือ การใช้ในพื้นที่เปิดหรือทะเล มีคุณสมบัติดูดซึมน้ำมันได้น้อย และก่อให้เกิดปัญหาขยะตามมา


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์