เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง (2)

เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง (2)


๏ สิ่งภายนอกไม่ใช่ตัวเหตุของความสุข


อนึ่ง ถ้าได้สิ่งนั้นๆ มาด้วยการกระทำที่ไม่ดี การกระทำนั้นก็จักเป็นเครื่องตัดทอนตนเองอีกส่วนหนึ่ง ข้อความที่กล่าวมานี้แสดงว่าสิ่งภายนอกอุดหนุนความสุขสำราญให้บ้าง แต่จัดเป็นเหตุของความสุขหรือ ? ถ้าเป็นเหตุของความสุข ผู้ที่มีสิ่งภายนอกบริบูรณ์จักต้องเป็นสุขทุกคน

แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น ผู้ที่บริบูรณ์ด้วยสิ่งภายนอกแต่เป็นทุกข์มีถมไป เพราะเหตุนี้สิ่งภายนอกจึงมิใช่ตัวเหตุของความสุข เป็นเพียงเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขดังกล่าวแล้วเท่านั้น


๏ สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แห่งความสุข

อันสิ่งภายนอก มีเงินทอง ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น อันเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข เมื่อคิดดูให้ซึ้งลงไป จักเห็นว่าเกิดจากการกระทำของตนเอง ถ้าตนเองอยู่เฉยๆ ไม่ทำการงานอันเป็นเหตุที่เพิ่มพูนสิ่งภายนอกเหล่านั้น สิ่งภายนอกนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ที่มีอยู่แล้วก็ต้องแปรเปลี่ยนไป ถ้าไม่มีใหม่มาชดเชยก็จักต้องหมดไปในที่สุด เพราะเหตุฉะนี้จึงกล่าวได้ว่า สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แก่ความสุขนั้น ก็เกิดขึ้นเพราะการกระทำของตนเองในทางธรรม

เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง (2)


๏ ความสุขเบื้องต้นพบได้อย่างไร


ผู้ปรารถนาสุขเบื้องต้น จึงสมควร หมั่นประกบการงาน หาเลี้ยงชีพตามทางของตนๆ โดยไม่ตัดรอนกัน ไม่เฉื่อยชา เกียจคร้าน และแก้ไขในการงานของตนให้ดีขึ้น ก็จักไม่ต้องประสบความแร้นแค้น ขัดข้อง

ถ้าไม่หมั่นประกอบการงานของตนให้ดีขึ้น ปล่อยไปตามเรื่อง ก็อาจจักต้องประสบความยากจนค่นแค้น ต้องอกแห้งเป็นทุกข์ และนั่นเป็นความผิดต่อประโยชน์ปัจจุบันของตนเอง

๏ สุจริต...วิถีทางของคนดี

การทำอย่างหนึ่งทางธรรมเรียกว่าดี เป็นวิถีทางของคนฉลาด และทางโลกยกย่องนับถือว่าดี การทำอย่างนี้เรียกว่า สุจริต แปลว่า ประพฤติดี ประพฤติดีทางกายเรียกว่ากายสุจริต ประพฤติดีทางวาจาเรียกว่าวจีสุจริต ประพฤติดีทางใจเรียกว่ามโนสุจริต

กายสุจริต จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกามประเวณี

วจีสุจริต จำแนกเป็น ๔ คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

มโนสุจริต จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ด้วยโลภเจตนาคิดจะเอามาเป็นของของตน ไม่พยาบาทปองร้าย ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม มีความเห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น รวมเป็น ๑๐ ประการ

เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง (2)


๏ ทุจริต...วิถีทางแห่งความชั่ว


ส่วนการกระทำที่ตรงกันข้ามเรียกว่า ทุจริต แปลว่า ประพฤติชั่ว ประพฤติชั่วทางกายเรียกว่า กายทุจริต ประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต ประพฤติชั่วทางใจเรียกว่า มโนทุจริต ทุจริต ๓ นี้มีจำแนกตรงกันข้ามกับสุจริต

คำว่า ประพฤติ มักจะพูดมุ่งหมายถึงการกระทำทางกายและวาจา คำว่า ทำ ก็มักพูดมุ่งหมายถึงการทำทางกาย การทำทางวาจาเรียกว่าพูด การทำทางใจเรียกว่าคิด

ส่วนในทางธรรม การทำ พูด คิด เรียกเป็นอย่างเดียวกันว่า ทำ หรือ ประพฤติ และมีคำว่า กาย วาจา ใจ กำกับ เพื่อให้รู้ว่าทำหรือประพฤติทางไหน


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์