โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)

โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)


สาเหตุโรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)

       โรค นี้แบ่งความรุนแรงได้หลายระดับ แต่ที่พบบ่อยที่สุดกลุ่มนี้จะถ่ายทอดทางกรรมพันทางยีน (gene)เด่นและยีนด้อย โดยปกติพบบ่อยในยีนเด่น คือถ้าหากพ่อหรือแม่เป็น ลูกก็จะมีโอกาสมีผิวแห้งสูง

อาการจะปรากฏตั้งแต่ตอนเป็นทารกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
ผิวจะแห้งตามแขนขาทั้งสองข้างลักษณะคล้ายเกล็ดปลา และตามฝ่ามือฝ่าเท้าก็จะแห้งเห็นเป็นเส้นลายมือชัด

อาการรุนแรง อื่นๆ ที่พบได้ ถ้าเป็นรุนแรงมากผิวจะแห้งลอกทั้งตัวตั้งแต่แรกเกิด
ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีนด้อย ตัวอย่างเช่น เด็กดักแด้ เซลล์ผิวหนังจะสร้างมากผิดปกติแต่ไม่หลุดออกไป

ซึ่งต่างจากเด็กปกติตรงที่ในเด็กปกติเซลล์ผิวหนังเวลาสร้างเสร็จจะต้องลอก ออกเป็นขี้ไคลแต่เซลล์ผิวหนังที่สร้างผิดปกติจะหลุดลอกออกยากมาก กรณีเด็กดักแด้นี้ต้องปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เล็กๆไปจนตลอดชีวิตต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ แต่จะอยู่ในกรณีของยีนด้อย สำหรับคนไข้ที่พบได้บ่อยๆ มักจะเป็นเฉพาะผิวหนังบางส่วนเท่านั้น

อาการทั่วไปและวิธีรักษาของโรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)

เด็กที่เกิดมาจะมีเปลือกบางๆมันๆ เหมือนกับดักแด้ ตัวแดง หนังลอก ตกสะเก็ดไปทั้งตัว และอาจมีตาปลิ้น ปากปลิ้น ร่วมด้วยความผิดปกติของเด็กดักแด้จะอยู่ที่เซลล์ผิวหนัง ปกติเซลล์ผิวหนังจะแบ่งตัวและเคลื่อนตัวขึ้นมาเปลี่ยนเป็นหนังกำพร้าและหนังกำพร้าจะถูกย่อยให้ละเอียดลงและหลุดออกไปเป็นหนังขี้ไคล

แต่ในเด็กดักแด้ชั้นหนังกำพร้าจะไม่ยอมย่อย จะแข็งติดอยู่ ก็เลยทำให้หนาขึ้นเรื่อย ๆ

อันตราย ของเด็กดักแด้ คือ เมื่อหนังแห้งจะตึง และหดตัว ตอนแรกผิวหนังก็ชุ่มฉ่ำเพราะยังอยู่ในน้ำคร่ำ

พอคลอดออกมาโดน อากาศผิวหนังจะแห้ง พอผิวหนังแห้งจะเกิดการรัดตัว หดตัว
และดึงทุกส่วนที่เป็นช่องเปิดเช่น ตา หนังเยื่อบุตาจะปลิ้นออกมา ดึงตรงปากเยื่อ บุปากก็จะปลิ้นออกมาทำให้เกิดปัญหา ตาปิดไม่สนิท เกิดการระคายเคือง แก้วตาขุ่นมัว หรือ ถ้าปากปลิ้นก็จะทำให้เด็กดูดนม ดูดน้ำไม่ได้

เด็กดักแด้ที่อาการไม่ รุนแรงสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ แต่เขาจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและสูญเสียความร้อนทางผิวหนังได้ง่าย

ต้องให้อาหารและน้ำเพียงพอ สามารถควบคุมความชุ่มชื้นของผิวหนังได้
เพราะเด็กที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ ทำให้เด็กมีไข้ ไม่สบายและจะมีการสูญเสียของน้ำทางผิวหนังมาก ถ้าผ่านจุดนี้ไปได้ก็อาจจะมีชีวิตรอดได้
แต่หากผ่านจุดนี้ไม่ได้ก็อาจทำ ให้เสียชีวิตจากการเสียน้ำ หรือติดเชื้อ เกิดขึ้น

การรักษาจึงมุ่งเน้นให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวหนังเพิ่มขึ้น แต่ถ้าทาครีมที่มีน้ำมันมากไปก็ไม่ดี
เพราะจะไปอุดตันทำให้การถ่ายเทอุณหภูมิของร่างกายไม่ดี

ดังนั้นการทาครีมต้องระวังควรทาแต่พอดีมิใช่ทาเหนอะหนะจนเกินไป เพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี มีไข้ตลอดเวลาและเพื่อป้องกันมิให้หนังแข็งหนังปริ เป็นแผลติดเชื้อก็ต้องดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังซึ่งการรับประทานยาในกลุ่มกรดไวตามินเอ จะทำให้เด็กค่อย ๆ ดีขึ้น



อ้างอิง : suriyothai


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์