โรคมะเร็ง (จบ)





มะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย
[ ขยายดูภาพใหญ่ ]

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า มะเร็งเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะตัวหรือมีประวัติธรรมชาติแตกต่างกัน มะเร็งบางชนิดชอบเป็นในเพศชาย บางชนิดชอบเป็นในเพศหญิง บางชนิดพบมากในคนไทย บางชนิดพบมากในคนเชื้อสายจีน
จากการสัมมนาเรื่องโรคมะเร็งระดับชาติ ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พบว่า สถิติโรคมะเร็งของโรงพยาบาลและสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งในประเทศไทย พอจะสรุปได้ว่า มะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในแต่ละเพศเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ๑๐ อันดับแรก ใกล้เคียงกันกับสถิติของสถาบันมะเร็งโรงพยาบาลศิริราชมาก ดังตารางข้างล่างนี้















































อันดับที่

เพศชาย

เพศหญิง

มะเร็งช่องปาก มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม

มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ

มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งรังไข่

มะเร็งผิวหนัง มะเร็งมดลูก

มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งลำไล้ใหญ่และทวารหนัก

๑๐
มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งปอด







การป้องกันโรคมะเร็งทำได้อย่างไร


[ ขยายดูภาพใหญ่ ]



การเกิดโรคมะเร็งมีหลายสาเหตุและหลายปัจจัยร่วมกันทั้งภาวะภายในและภายนอกร่างกาย มะเร็งซึ่งทราบสาเหตุที่แท้จริงจากภาวะภายนอกร่างกายก็สามารถป้องกันได้ แต่ยังมีมะเร็งอีกหลาย ๆ ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง หรือเกี่ยวกับภาวะภายในร่างกายจึงไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ เพื่อการป้องกันโรคมะเร็ง หรือการที่จะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง ตั้งแต่ในระยะที่เพิ่มเริ่มเป็นซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้อาศัยมาตรการที่สำคัญ ๒ ประการ คือ
มาตรการแรกในการป้องกันโรคมะเร็ง คือ การรักษาสุขภาพและพลานามัยให้แข็งแรงอยู่เสมอ สุขภาพและพลานามัยที่แข็งแรงจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง โดยปฏิบัติดังนี้
๑. บริโภคอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักผลไม้ ในปริมาณที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป
๒. สิ่งที่เป็นเครื่องบั่นทอนสุขภาพ เช่น บุหรี่ สุรา ควรจะงดหรือลดให้เหลือลดน้อยที่สุด
๓. ควรมีการพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ
๔. ควรออกกำลังแต่พอสมควร เพื่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
๕. รักษาความสะอาดของร่างกายทุก ๆ ส่วนโดยเฉพาะภายในช่องปากและบริเวณอวัยวะเพศ ในเพศชายที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่เปิด ควรให้แพทย์ทำผ่าตัดหนังหุ้มปลายออกเสีย

มาตรการที่สอง ได้แก่ การให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งบ้างพอสมควร เมื่อมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักโดยทั่ว ๆ ไปของโรคมะเร็งแล้ว ก็ย่อมจะเกิดแนวทางทั้งในด้านการป้องกัน และสามารถรู้ได้ว่าเป็นมะเร็งตั้งแต่ในระยะที่เพิ่มเริ่มเป็น โดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
๑. หลีกเลี่ยงสาเหตุหรือสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง
ก. อาหา ไม่ควรบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนจัด อาหารหรือขนมที่ใส่สีย้อมซึ่งจะสังเกตได้ง่าย คือ มีสีฉูดฉาด และเมื่อรับประทานแล้ว สีจะออกมากับปัสสาวะ อาหารเนื้อสัตว์หมักชนิดต่าง ๆ ควรทำให้สุกเสียก่อน อาหารที่ขึ้นราควรงดโดยเด็ดขาด เพราะสารอะฟลาทอกซินจะไม่ถูกทำลายโดยการทำให้เดือดหรือสุกโดยวิธีใดก็ตาม อาหารที่ขึ้นราง่ายควรเก็บในภาชนะที่แห้งสนิท และมิดชิด
ข. สิ่งเสพ เช่น สุรา บุหรี่ หมากพลู ควรจะงดเสีย
ค. ยารักษาโรค ไม่ควรรับประทานยาที่เข้าสารหนูหรือกำมะถันในปริมาณมาก ๆ ยาที่เข้าฮอร์โมนควรจะรับประทานเมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น อย่าซื้อรับประทานเอง
ง. การระคายเรื้อรัง ฟังเกที่ครูดลิ้นหรือกระพุ้งแก้มอยู่เสมอควรถอนเสีย ไม่ควรฉีดสารแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย เช่น การฉีดพาราฟิน เป็นต้น
จ. สาเหตุอื่น ๆ เช่น ควรหลีกเลี่ยงเคมีวัตถุประเภทน้ำมันดิน รังสี* เป็นต้น
๒. สนใจสุขภาพของตนเองและลูกหลาน
การสนใจสุขภาพของตนเองและลูกหลาน มีความสำคัญต่อการที่แพทย์จะสามารถค้นหามะเร็ง หรือวินิจฉัยมะเร็งในขณะที่เพิ่มเป็นได้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป
ข้อควรปฏิบัติเพื่อการตรวจค้นหาและวินิจฉัยมะเร็ง
การที่จะค้นหามะเร็งได้ในขณะที่ยังไม่มีอาการหรือวินิจฉัยมะเร็งได้ในระยะที่เพิ่งเริ่มเป็น มีความสำคัญมาก และจะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนผู้ป่วยเป็นอย่างมาก นอกเหนือไปจากความสามารถของแพทย์ และการพัฒนาก้าวหน้าในด้านเครื่องมือตรวจทางการแพทย์
ก. การตรวจเพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มเป็นการเอาใจใส่และสนใจสุขภาพของตนเอง โดยมีการตรวจร่างกายประจำปี โดยการไปตรวจที่คลินิกมะเร็งแรกเริ่มตามโรงพยาบาลหรือสถาบันต่าง ๆ เช่น ในผู้ชายอายุเกิน ๓๐ ปีขึ้นไปควรจะไปถ่ายภาพรังสีของปอดปีละครั้ง หรือในหญิงอายุเกิน ๒๕ ปีขึ้นไป ควรจะได้รับการตรวจเต้านม และตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปสเมียร์** (Pap smear) ปีละครั้ง เพราะเป็นวัยที่มีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และไปพบตามที่ แพทย์นัดทุกครั้ง
ข. การตรวจเพื่อวินิจฉัยมะเร็งเมื่อเริ่มมีอาการแล้ว โดยเฉพาะเมื่อมีอาการของสัญญาณอันตราย ๗ ประการของโรคมะเร็ง หรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว การตอบคำถามของแพทย์โดยละเอียด และตามความจริงจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้เร็วยิ่งขึ้น
ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ควรมอบความไว้วางใจและให้ความร่วมมือกับแพทย์การที่แพทย์จะตัดสินใจกระทำวิธีการตรวจใด ๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งอย่างแน่นอนและแม่นยำ การกระทำนั้น ๆ ย่อมจะไม่มีอันตรายต่อผู้ป่วย แต่กลับจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเองเสมอ
ขั้นตอนในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง
ขั้นตอนต่าง ๆ ในการวินิจฉัยโรคนี้ เหมือนกับการวินิจฉัยโรคโดยทั่วไป คือจะต้องอาศัยจาก
๑. ประวัติ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในปัจจุบันและอดีตรวมทั้งการรักษา ประวัติการเป็นมะเร็งของบุคคลในครอบครัว อาชีพ และประวัติการติดของเสพติดทั้งหลาย เช่น สุรา บุหรี่ เป็นต้น
๒. การตรวจร่างกาย ทั้งเฉพาะตรงบริเวณที่เป็นมะเร็ง รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวรใกล้เคียง และการตรวจร่างกายโดยทั่ว ๆ ไป เพื่อค้นหามะเร็งทุติยภูมิโดยวิธีการตรวจธรรมดา การถ่ายภาพรังสี การใช้กล้องส่องตรวจ เป็นต้น
๓. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการตรวจโดยวิธีเซลล์วิทยา เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยมะเร็งปฐมภูมิ และค้นหามะเร็งทุติยภูมิ
๔. การตรวจด้วยวิธีพิเศษ เช่น การฉีดสารทึบแสงและถ่ายภาพรังสี การตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
๕. การตัดชิ้นเนื้อ รวมทั้งการทำผ่าตัดเพื่อเอาชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา การที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นมะเร็งนั้น จะต้องอาศัยพยาธิแพทย์เป็นผู้ตรวจและอ่านชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็งจริงก่อนเสมอ จึงนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญจะจำเป็นที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง ในบางรายพยาธิแพทย์จะช่วยตัดชิ้นเนื้อไปตรวจโดยคร่าว ๆ ก่อน (frozen section) ซึ่งวิธีนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้ภายใน ๑๐-๒๐ นาที ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถตัดสินใจผ่าตัดอวัยวะที่สำคัญออกได้อย่างมาก
หมายเหตุ
* รังสี สามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ แต่การตรวจทางรังสีเพื่อการวินิจฉัยโรค เช่น การถ่ายภาพรังสีของปอด ร่างกายจะได้รับปริมาณรังสีน้อยมาก และในปีหนึ่งๆ อาจตรวจได้หลายๆ ครั้งโดยไม่มีอันตรายแต่ประการใดเลย
** แปปสเมียร์ คือการขูดเอาเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง คำนี้ย่อมาจากชื่อของ ปาปานิโคลัว (George Papanicolaou, ค.ศ. ๑๘๘๓ - ๑๙๙๒) แพทย์ชาวอเมริกัน ผู้ค้นพบวิธีการตรวจวิธีนี้เป็นท่านแรก ซึ่งเป้นการตรวจที่ไม่เจ็บปวดแต่ประการใด







มะเร็งรักษาให้หายขาดได้หรือไม่




[ ขยายดูภาพใหญ่ ]



จากรายงานของสมาคมต่อต้านโรคมะเร็งของอเมริกาได้เคยรายงานไว้ว่า ในปัจจุบันนี้มีประชากรชาวอเมริกาได้เคยรายงานไว้ว่า ในปัจจุบันนี้มีประชากรชาวอเมริกันเป็นจำนวนมากกว่า ๕ ล้านคน ซึ่งเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน และได้รับการรักษาให้หายเรียบร้อยดีแล้วเป็นเวลาเกินกว่า ๕ ปี และทุกรายที่รอดชีวิตนี้เป็นผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกเริ่มทั้งสิ้น ผู้ป่วยมะเร็งที่มีชีวิตรอดหลังการรักษาเกินกว่า ๕ ปี ถือว่า "หาย" การกำหนดระยะเวลา ๕ ปี เพราะว่าโรคมะเร็งส่วนใหญ่มักจะกำเริบหรือกลับเป็นใหม่อีกภายในระยะเวลา ๕ ปี หลังรักษา สำหรับในประเทศไทย จากรายงานของสถาบันมะเร็งโรงพยาบาลศิริราช พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกเริ่มได้รับการรักษาจนหายขาดและยังมีชีวิตและปฏิบัติการงานได้อย่างสมบูรณ์เหมือนบุคคลทั่ว ๆ ไปเป็นจำนวนมากมายหลังการรักษา ๑๐-๒๐ ปี และต่อมาอาจจะเสียชีวิตจากสาเหตุหรือโรคอื่นที่มิใช้จากโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดผลของการรักษาให้หายขาดยังอยู่ในอัตราน้อยมาก ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยชาวไทยที่เป็นโรคมะเร็งมักจะมาพบแพทย์และได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็ต่อเมื่อโรคอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้วเสมอ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ป่วยไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง การเชื่อถือโชคลางขนบธรรมเนียมประเพณีแต่โบราณบางอย่างความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และปัญหาที่สำคัญอีกประการก็คือปัญหาในด้านฐานะของครอบครัวผู้ป่วยเอง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์ช้าและโรคอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีและมักจะเสียชีวิตเสมอ
ความมุ่งหมายของการรักษาโรคมะเร็ง
ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง แพทย์มีจุดมุ่งหมายของการรักษา ๒ ประการ คือ
ก. การรักษาเพื่อมุ่งหวังให้โรคหายขาด การรักษาจะอยู่ในวงจำกัดที่โรคมะเร็งยังอยู่ในระยะเพิ่มเริ่มเป็นเท่านั้น วิธีการรักษาไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด หรือการใช้รังสีรักษาก็ตาม จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะอาศัยเครื่องมือและเทคนิคของการรักษาอย่างละเอียดและแม่นยำ
ข. การรักษาเพื่อบรรเทาอาการชั่วคราว สำหรับผู้ป่วยอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว (ซึ่งสำหรับผู้ป่วยชาวไทย แพทย์จะให้การรักษาแบบนี้มากกว่าร้อยละ ๙๐) การรักษามิได้มุ่งหวังที่จะทำให้โรคหายขาด แต่เพื่อทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้นชั่วคราวหรือทุเลาจากอาการต่าง ๆ เท่านั้น ซึ่งอาจจะยืดอายุผู้ป่วยออกไปอีกเล็กน้อย เช่น ในรายที่มีเลือดออกจากแผลมะเร็งมาก ๆ หรือในรายที่มีก้อนมะเร็งไปกดหรืออุดช่องทางเดินอาหาร หรือทางเดินหายใจ ในรายที่มีอาการปวดอย่างมาก หรือเพื่อลดอัตราการโตของก้อนมะเร็งให้ช้าลงชั่วคราว การรักษาแบบนี้มีหลายวิธี แต่ควรยึดหลักของการรักษาโดยใช้วิธีการ เครื่องมือที่ง่ายและสะดวกที่สุด และใช้เวลาสั้นที่สุด ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองและเกิดผลแทรกซ้อนจากการรักษา
วิธีการรักษาโรคมะเร็ง
ในปัจจุบันมีใช้กันอยู่ ๖ วิธี คือ
๑. การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่ได้ทั้งการมุ่งหวังให้โรคหายขาดในกรณีที่โรคยังเป็นน้อย และเพื่อเป็นการบรรเทาอาการชั่วคราวในกรณีที่โรคเป็นมากแล้ว มีรายงานทางการแพทย์ที่กล่าวถึงประวัติของการรักษาโรคมะเร็งโดยวิธีผ่าตัดมาตั้งแต่ ๕ ศตวรรษก่อนคริสตกาล ในปัจจุบันนี้ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งจะต้องชำนาญและฝึกฝนมาทางด้านนี้โดยเฉพาะ และจะต้องรู้ประวัติธรรมชาติของโรคมะเร็งเป็นอย่างดี
วิธีการผ่าตัด อาจจะตัดเอาเฉพาะก้อนมะเร็งออกเท่านั้น หรือเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองและเนื้อเยื่อที่ดีบริเวณใกล้เคียงออกไปด้วย
นอกจากจะผ่าตัดโดยใช้มีดผ่าธรรมดาแล้วในปัจจุบันยังได้มีวิวัฒนาการ โดยการผ่าตัดด้วยมีดไฟฟ้า การผ่าตัดโดยใช้ความเย็นระหว่าง -๒๐ ถึง - ๑๕๐ องศาเซสเซียส การผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาจี้ให้ผิวหนังไหม้ในการรักษามะเร็งผิวหนัง และการใช้แสงเลเซอร์แทนมีดผ่าตัด การผ่าตัดเหล่านี้ทำให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ง่ายขึ้น เสียเลือดน้อยลงและใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยลงด้วย
การผ่าตัดนอกจากจะมีบทบาทในด้านการรักษาแล้ว ยังมีบทบาทในด้านการวินิจฉัยโดยเอาชิ้นเนื้อมาตรวจ ในด้านการผ่าตัดเพื่อบริหารยาเข้าทางหลอดเลือดเฉพาะที่ และในด้านการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความพิการภายหลังการรักษาด้วย
๒. รังสีรักษา เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ได้ทั้งการมุ่งหวังให้โรคหายขาดและเพื่อการบรรเทาอาการชั่วคราว ผู้ป่วยชาวไทยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๖๐-๘๐ ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดมักจะได้รับการรักษาด้วยรังสีเพราะอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว และการรักษาด้วยรังสีเพราะอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว และการรักษาด้วยรังสีเพื่อบรรเทาอาการ จะสะดวกสบายมากกว่าการผ่าตัดในประเทศไทยมีประวัติของการใช้รังสีเอกซ์รักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘
รังสีที่ใช้รักษาโรคมะเร็งมี ๒ กลุ่มใหญ่ คือ
๒.๑ รังสีโฟตอน ซึ่งมีพลังงานทะลุทะลวงระหว่า ๑.๒๔ กิโลโวลต์ ถึง ๑๒.๔ เมกะโวลต์ มีขนาดของคลื่นรังสีระหว่าง ๑๐-๐.๐๐๑ อังสตรอม อาทิเช่น รังสีเอกซ์ จากเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ รังสีแกมมาจากสารกัมมันตรังสีต่าง ๆ ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ เช่น จากแร่เรเดียม (226 radium) หรือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา เช่น โคบอลต์ ๖๐ (60 cobalt) ซีเซียม ๑๓๗ (137 Cs) ไอโอดีน ๑๓๑ (131 I) ทอง ๑๙๘ (198 Au) ฯลฯ
๒.๒ รังสีอนุภาค ส่วนใหญ่ได้จากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี หรือจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูและโดยทั่วไปแล้ว รังสีพวกนี้จะมีพลังงานทะลุทะลวงน้อยกว่ารังสีโฟตอน อาทิเช่น อนุภาคแอลฟา จากแร่เรเดียม ก๊าซเรดอน และอนุภาคเบตา จากแร่สตรอนเตียม ๙๐ (strontium-90) ฟอสฟอรัส ๓๒ (phosphorus-32)
รังสีต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีเทคนิคใหญ่ ๆ ๒ แบบ คือ ในรูปของตันกำเนิดรังสีอยู่ภายนอกร่างกายของผู้ป่วย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการฉายรังสีลึก เช่น จากเครื่องฉายรังสีเอกซ์ชนิดลึก (ซึ่งแตกต่างไปจากเครื่องเอกซเรย์สำหรับการถ่ายเพื่อการวินิจฉัยโรค) เครื่องโคบอลต์ ๖๐ ซึ่งมีการติดตั้งการใช้รักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ และเครื่องเร่งอนุภาค เป็นต้น และอีกแบบหนึ่งอยู่ในรูปของต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในร่างกายของผู้ป่วย ได้แก่ การฝังแร่เรเดียมในการรักษามะเร็งในช่องปาก การสอดใส่แร่เรเดียมในการรักษามะเร็งปากมดลูก หรือการใช้ไอโอดีน ๑๓๑ รับประทานในการรักษามะเร็งต่อมไธรอยด์ เป็นต้น
๓. การใช้สารเคมีบำบัด การรักษาในรูปของการใช้ยารักษามะเร็งกำลังเป็นที่สนใจและมีบทบาทสำคัญ ในปัจจุบันนี้มีมะเร็งหลายชนิดที่อาจรักษาให้หายขาดด้วยยา แต่ส่วนใหญ่จะใช้เฉพาะในรายที่เป็นมากแล้ว เพื่อเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น
ชนิดของยา อาจจะแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ไม่ใช่ฮอร์โมน และฮอร์โมน หรือจะแบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์ของยาทางจลยศาสตร์ของเซลล์ได้เป็น ๒ ประเภท คือ
ก. ออกฤทธิ์ต่อเซลล์ได้ทุกระยะในวงชีพของเซลล์โดยไม่จำกัดเวลา อาทิเช่น ยาประเภทไนโตรเจน มัสตาร์ด เป็นต้น
ข. ออกฤทธิ์จำกัดได้เฉพาะระยะใดระยะหนึ่ง ในวงชีพของเซลล์เท่านั้น เช่น ยาประเภทอัลคาลอยด์จากพืชบางอย่างออกฤทธิ์ได้เฉพาะเซลล์ที่กำลังอยู่ในระยะแบ่งตัว หรือยาเมโธรเทรกเสต จะออกฤทธิ์เฉพาะเซลล์ที่กำลังมีการสร้าง ดีเอ็นเอ เท่านั้น
การใช้ยารักษามะเร็ง อาจจะแบ่งได้ตามวิธีใช้ คือ
ก. การใช้ยาเฉพาะที่ เช่น ในรูปของการใช้ทา การฉีดเข้าไขสันหลัง
ข. การใช้ยาให้ซึมซาบทั่วร่างกาย เช่น ในรูปของการใช้รับประทาน การใช้ฉีดยาเข้าหลอดเลือด
หรืออาจจะแบ่งตามรูปแนวการรักษา คือ
ก. ใช้เป็นการรักษาหลัก คือ ใช้ยา (ชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้) รักษาเพียงวิธีเดียว อาทิเช่นการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
ข. ใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น เพื่อหวังผลการรักษามากขึ้น เช่น การให้ยารักษามะเร็ง ภายหลังการผ่าตัด เพื่อหวังในการป้องกันการ แพร่กระจาย
การใช้ยา อาจจะใช้ยาเพียงชนิดเดียวหรือหลายชนิดร่วมกันก็ได้ สำหรับในประเทศไทย การรักษาโดยวิธีนี้ยังอยู่ในวงจำกัด เพราะยาพวกนี้ ส่วนใหญ่มีราคาแพงมาก บางชนิดก้ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยและมีพิษรุนแรงและมีผลแทรกซ้อนจากการรักษามากโดยเฉพาะการกดไขกระดูก จึงมักจะใช้โดยแพทย์ที่ชำนาญทางยารักษามะเร็งโดยเฉพาะ
๔. การใช้การรักษาทั้ง ๓ วิธีกล่าวมาแล้วร่วมกัน ในปัจจุบันนี้การรักษาโรคมะเร็ง ได้ก้าวผ่านการรักษาตามอาการและการรักษาเพื่อบรรเทาเข้ามาสู่การรักษาเพื่อมุ่งหวังให้โรคหายขาดมากขึ้น แต่เดิมการรักษามักจะกระทำโดยแพทย์เฉพาะทางฝ่ายเดียว เมื่อการรักษาล้มเหลวจากวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว จึงเปลี่ยนมาเป็นอีกวิธีหนึ่ง ทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ในปัจจุบันนี้จึงนิยมใช้วิธีการรักษาหลาย ๆ วิธีร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น หรือสะดวกขึ้นอาทิเช่น
การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษา เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด โดยการผ่าตัดเอามะเร็งปฐมภูมิออก และฉายรังสีไปที่มะเร็งทุติยภูมิที่ต่อมน้ำเหลือง
การผ่าตัดร่วมกับสารเคมีบำบัด เช่น มะเร็งปอด
การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาและสารเคมีบำบัด เช่น มะเร็งของไตในเด็ก
รังสีรักษาร่วมกับสารเคมีบำบัด เช่น มะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว เป็นต้น
๕. การรักษาโดยการเสริมภูมิคุ้มกัน เป็นวิธีการรักษาที่เพิ่มจะสนใจและเริ่มใช้กันในวงการแพทย์เมื่อไม่นานมานี้ และนับวันจะยิ่งมีบทบาท มีความสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาศัยหลักที่ว่า ผู้ที่เป็นมะเร็งนั้นเนื่องจากว่าร่างกายไม่สามารถที่จะค้นพบว่า ที่ผิวของผนังด้านนอกของเซลล์มะเร็งมีแอนติเจนที่เรียกว่า ทีเอเอ อยู่ หรือในกรณีที่ร่างกายสามารถจะค้นพบแอนติเจนนี้ได้ แต่ร่างกายไม่สามารถจะสร้างภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีไปต่อต้านหรือทำลายแอนติเจนนี้ จะเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายล้มเหลว หรือมีอะไรไปยับยั้งในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฉะนั้น การกระตุ้นให้ร่างกายสามารถจะค้นหาแอนติเจนจากเซลล์มะเร็งได้ หรือการกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ก็น่าที่จะให้มะเร็งที่กำลังเป็นผู้อยู่ในบุคคลผู้นั้นมีการฝ่อตัวลง หรือหยุดการเจริญเติบโต หรือโตช้าลง
๖. การรักษาทางด้านจิตวิทยา มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ป่วยมะเร็งมาก เพราะว่าเพียงแต่รู้ว่าตนเองเป็นมะเร็งเท่านั้น ผู้ป่วยก็จะหมดกำลั

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์