ใช้ Social Mediaไม่ให้ถูกหลอก

ใช้ Social Mediaไม่ให้ถูกหลอก


การติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านโซเชียลมีเดียถือเป็นเรื่องปรกติไปแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว ประหยัด และสร้างความเพลิดเพลินสนุกสนาน


โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการเพื่อน ต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง เมื่อมีคนมากดไลค์หรือคอมเมนต์หัวใจก็จะพองโต บางคนใช้เป็นช่องทางในการหาเพื่อนใหม่ เพื่อนต่างเพศ ต่างโรงเรียน หากใช้เป็นก็จะเกิดผลดี แต่หากใช้ไปในทางที่ผิดอาจทำให้เกิดความ เสียหายทั้งร่างกายและจิตใจ ยิ่งในปัจจุบันมักมีพวกมิจฉาชีพหรือคนไม่ดีแอบแฝงเข้ามาฉกฉวยโอ กาส ล่อลวง หรือกระทำไม่ดีต่อเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และยังอ่อนต่อโลกได้

การใช้โซเชียลมีเดียในปัจจุบันเป็นเหมือนดาบสองคม คือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องทำความเข้าใจและทำหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงให้กับลูก โดยสามารถสื่อสารพูดคุยกับลูก เด็กจะได้รู้สึกว่ามีโอกาสใช้สื่อ ไม่ได้ถูกห้าม ในขณะเดียวกันก็ต้อง หาทางแนะนำ สอนให้เด็กรู้จักวางแผนว่าจะใช้อย่าง ไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือรบกวนกิจกรรมอื่นๆของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการบ้านหรือทำงาน

พ่อแม่ควรเรียนรู้การใช้สื่อที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก เหมือนวิธีเลือกหนังสือให้ลูกอ่านตามวัยนั่นแหละค่ะ ถ้าบางกรณีเด็กเห็นอะไรที่ไม่เหมาะสมทั้งข้อความหรือรูปภาพแล้วมาถาม ก็ให้สอนและตอบคำถามเท่าที่เด็กวัยนั้นควรจะรู้ และตอบในเชิงวิชาการ มีรูปภาพประกอบชัดเจน หลักการก็เหมือนคู่มือคอยนำทางและให้ทางเลือกแก่เรา

ส่วนรายละเอียดและวิธีการในการกระทำยังคงมีความแตกต่างกันไปบ้างเพื่อให้ได้คุณสมบัติที่พ่อแม่ต้องการ แต่เชื่อว่าด้วยความรักความเข้า ใจของพ่อแม่จะสามารถช่วยลูก และเป็นหลักให้ลูกได้เรียนรู้และพัฒนาไปในทางที่ดีได้ 4 แนวทางในการแนะนำลูก

1.วิธีสอนลูกในเรื่องนี้ที่ ดีที่สุด คือ แม่ควรเป็นตัวอย่าง ที่ดีในการใช้สื่อต่างๆ ซึ่งสา  มารถสอนได้ตั้งแต่เด็ก คือใช้เท่าที่จำเป็น เช่น การใช้โทร ศัพท์ ควรพูดธุระสั้นๆ ไม่ควรพูดคุยกับเพื่อนนานๆให้ลูกเห็น เพื่อแสดงให้ลูกรู้ว่าเรามีโทร ศัพท์เพื่อความสะดวกในการติดต่อกัน การพูดนานๆอาจทำให้คนที่มีธุระจำเป็นจริงๆติดต่อเข้ามาไม่ได้ สอนให้ลูกใช้โทรศัพท์ติดต่อในกรณีที่จำเป็น เช่น จะกลับบ้านผิดเวลา หรือเกิดอุบัติเหตุ

2.ต้องมีขอบเขตความพอเหมาะและกำหนดขอบเขตอย่างชัดเจน โดยการพูดคุยกับลูกให้เข้าใจและยอมรับในหลักการ เช่น ให้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คในช่วงเวลาใด เช่น 1 ทุ่ม 2 ทุ่ม เท่านั้น ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆห้ามใช้นอกช่วงเวลานี้ และถ้ามีความจำเป็นต้องขออนุญาต หรือให้เล่นได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งรายละเอียดของขอบเขตการใช้อาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ ของขอบเขตการใช้อาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ ละครอบครัว บางกรณีคิดว่าถึงห้ามไปลูกก็ไม่เชื่อฟังหรอก หรือเราเป็นฝ่ายตามคุมเขาไปตลอดไม่ได้แน่ แล้วจะทำอย่าง ไรดี พ่อแม่ควรใช้วิธีโอนอ่อนผ่อนตามในความต้องการของลูกบ้าง แต่ให้อยู่ในกติกาที่ตกลงกัน จะได้สบายใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

3.ในการทำให้ลูกยอมรับกฎหรือวินัยของบ้านจะต้องคำนึงถึงหลักการ คือ มีลักษณะสมเหตุสมผล ต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ ต้องบังคับได้ คือพ่อแม่ต้องทำจริง และความสม่ำ เสมอในกฎ อย่าพูดอย่างหนึ่งแล้วทำอย่างหนึ่ง อย่าทำบ้างไม่ทำบ้างแล้วแต่อารมณ์ เพราะ การสร้างวินัยจำเป็นต้องทำด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ ต้องกล้าตั้งกฎเกณฑ์ให้ลูก อย่าปล่อยให้ลูกเติบโตไปในทางที่น่ากลัวหรือไร้ทิศทาง เพราะเป็นอันตรายต่อเด็กและสังคม

4.ในวัยรุ่นพ่อแม่มักไม่จำเป็นต้องเข้าไปยุ่งเรื่องการคบเพื่อน เพราะเขาสามารถเลือกเพื่อนได้เอง มีปัญหาอะไรก็แก้ไขเองได้ หรืออาจปรึกษาพ่อแม่บ้าง ดังนั้น ถ้าเราเลี้ยงลูกเหมาะสมแล้ว เด็กจะสามารถแยกแยะได้ว่าเพื่อนคนไหนนิสัยดีหรือไม่ดี แต่ พ่อแม่ควรมีหลักเกณฑ์และขอบเขตให้แก่เด็ก คือเพื่อนคนนั้นไม่เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น ไม่รบกวนเรื่องการเรียนซึ่งเป็นหน้าที่หลัก ไม่รบกวนหรือวุ่นวายกับคนอื่นมากเกินไป ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยโดยไม่มีความจำเป็น และสุด ท้ายต้องอยู่ในกรอบของวัฒน ธรรมที่ดี



ขอบคุณ หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข  โดย พญ.ภัทรวรรณ ขันธ์แก้ว

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์