ใช้น้ำเสียงอย่างไรดึงดูดความสนใจผู้ฟัง?

ภาพจาก เดลินิวส์ภาพจาก เดลินิวส์

“น้ำเสียง” ถือเป็นองค์ประกอบของการเจรจา และสื่อสารที่สำคัญ สะท้อนภาวะอารมณ์ความรู้สึกขณะนั้น ๆ ทั้งยังสามารถสร้างมิตร หรือ ก่อศัตรูได้หากใช้ผิด! ยกตัวอย่าง เมื่อได้ยินน้ำเสียงห้วน ๆ ประชดประชัน ผู้ฟังย่อมรู้สึกไม่ดี ขณะที่ น้ำเสียงนุ่มนวล อ่อนหวาน ฟังแล้วให้ความรู้สึกในทางบวก อยากเข้าหา และสนทนาด้วย

ยิ่งเป็นการพูดในที่สาธารณะด้วยแล้ว ทำอย่างไรจึงจะดึงความสนใจจากผู้ฟังให้ได้มากที่สุด ตรงนี้ “น้ำเสียง” ถือเป็นพระเอกสำคัญ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ โดยเริ่มจาก การฝึกออกเสียงคำควบกล้ำ และประโยคต่าง ๆ ให้ชัดถ้อยชัดคำ

มีจังหวะการพูดไม่ช้า หรือ เร็วเกินไป เว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง เน้นน้ำเสียงหนัก-เบาเหมาะสมกับสถานการณ์ เรื่องราว และสอดคล้องกับความหมายของคำที่ต้องการสื่อ ช่วยเพิ่มอรรถรสในการฟัง

สำหรับผู้ที่เสียงใหญ่ เมื่อจบประโยคควรทอดหางเสียงเล็กน้อย จะดูเป็นมิตรยิ่งขึ้น ส่วนผู้ที่เสียงเล็ก พยายามออกเสียงให้ฉะฉาน หลีกเลี่ยงการพูดอ้อมแอ้มที่ทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ การติดลงท้ายประโยค ว่า ค่ะ หรือ ครับ เยอะเกินไป ทำให้การพูดไม่ลื่นไหล จึงควรใช้ให้พอเหมาะ

ฝึกฝนเป็นประจำ ช่วยเสริมสร้างบุคลิกการสื่อสารให้มีพลัง ชวนฟัง และน่าค้นหาด้วย.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์