ไทยกับ มหาสงคราม (๑) - ความเป็นกลางนั้นจะใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

การศึกครั้งนี้เรียกนามได้ว่า "มหาสงคราม" เพราะได้กระเทือนไปแทบทั่วโลก


 



 


เหตุแห่งสงคราม


          เหตุแห่งสงครามทุกครั้งที่แท้จริงแล้วก็คือ  ผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ  ส่วนจะทำสงครามกันหรือไม่ เมื่อใด นั้น  ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ระหว่างประเทศในห้วงเวลา  มหายุทธสงครามนี้ ก็มีสาเหตุมาจากผลประโยชน์ของชาติต่างๆ นั่นเอง


          ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ขัดแย้งกันของชาติ หรือ กลุ่มชาติ ต่างก็พยายามหาทางออกที่เป็นประโยชน์แก่ตนมากที่สุด  เมื่อยังไม่มีโอกาส ก็ต้องอดกลั้น และ รอโอกาส และจังหวะอันเหมาะ  หรืออาจจะได้ประโยชน์ทางอื่นด้านอื่นชดเชย ก็เป็นที่ยอมรับได้       


 


การสะสมความขัดแย้ง - สะสมเชื้อไฟสงคราม


ขัดแย้งกันเรื่องอาณานิคม


           นับตั้งแต่โลกก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม  ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป    การอุตสาหกรรม   และการเดินเรือเจริญ ก้าวหน้าอย่างมาก  ประเทศในยุโรปต่างก็ส่งกองเรือออกแสวงหาอาณานิคมไปทั่วโลก เพื่อแสวงหาแหล่งทรัพยากร  วัตถุดิบมาป้อนโรงงานเพื่อผลิตสินค้า และเป็นตลาดเพื่อขายสินค้า   จนขัดแย้งกัน  เช่น


     - อังกฤษกับเยอรมัน เรื่องแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ 


     - อังกฤษกับฝรั่งเศส เรื่องลุ่มแม่น้ำไนล์ 


     - เยอรมันกับฝรั่งเศส เรื่องมอร็อกโกและแอฟริกาตะวันตก 


     - อังกฤษกับรัสเซีย เรื่องเปอร์เซียและอาฟกานิสถาน


 


การแย่งชิงเชื้อเพลิงและวัตถุดิบ 


          เมื่อโรงงานเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  โรงงานเหล่านั้นก็ต้องการใช้เชื้อเพลิงในการผลิต    เชื้อเพลิงที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางคือ ถ่านหิน   นอกจากเชื้อเพลิงแล้ว ก็ยังต้องการวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงาน  วัตถุดิบที่สำคัญเป็นที่ต้องการยิ่ง คือ เหล็ก   


          ก็ถ่านหิน และเหล็กในยุโรปนั้นอุดมสมบูรณ์ในแคว้น อัลซาส - ลอร์เรน   ดินแดนระหว่าง ฝรั่งเศส และ ปรัสเซีย


 


 




 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


สงครามฟรังโก - ปรัสเซียน  (Franco - Prussian War)


         พ.ศ.๒๔๑๓ - ๒๔๑๔ (ค.ศ.๑๘๗๐ - ๑๘๗๑)  ได้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซีย  ซึ่งปรัสเซียมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดซึ่งเกิดผลอย่างกว้างขวางหลายประการ  เช่น


          ๑.  ชนชาติเยอรมันเกิดความสามัคคีกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เกิดเอกภาพในการต่อสู้  เป็นผู้นำทางการทหาร  และเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของยุโรป   พระเจ้าวิลเฮล์ม ที่ ๑  แห่งปรัสเซียได้ทรงประกาศจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมนีขึ้นและสถาปนาพระองค์ เป็นพระจักรพรรดิแห่งเยอรมนี    และสถาปนาออตโต ฟอน  บิสมาร์ค ให้เป็น เจ้าชาย และ อัครมหาเสนาบดี  ณ พระราชวังแวร์ซาย ในปี พ.ศ.๒๔๑๔  (ค.ศ.๑๘๗๑)    หลังจากนั้น แคว้นมัคเลนบวร์ก  บาวาเรีย  บาเดน  เวอร์ทเท็มแบร์ก  และ แซ็กโซนี ก็ขvเข้าร่วมกับ จักรวรรดิเยอรมนี


          ๒.  ทางด้านฝรั่งเศส    พระเจ้านโปเลียนที่ ๓  ต้องสละราชสมบัติ  และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐที่ ๓


          ๓.  เยอรมันเรียกเอาแคว้นอัลซาส - ลอร์เรน ซึ่งเป็นแคว้นที่อุดมไปด้วยแร่เหล็กและถ่านหิน จากฝรั่งเศส     ส่งผลให้เยอรมนีเจริญรุ่งเรืองทางอุตสาหกรรมและการทหาร  ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสเคียดแค้นเป็นอันมาก  และต้องการช่วงชิงเอากลับคืนให้ได้   


          ๔.  เกิดผลทางการเมืองระหว่างประเทศโดยต่างแสวงหาพันธมิตรขึ้นในยุโรปอย่างกว้างขวาง  ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป


 


 




 


 Napoléon III                                                            Wilhelm I


Emperor of the French:       German Emperor, King of Prussia 


2 December 1852–4 September 1870    Regent: 1858 - 1861


1st President of the French Republic:           King: 1861 - 1888


Term  20 December 1848–2 December 1852    Emperor: 1871 - 1888


 


 


 


ความขัดแย้งเรื่องอิทธิพลในแหลมบอลข่าน


 


           ออสเตรีย – ฮังการีขัดแย้งกับเซอร์เบีย  เรื่องการสร้างเขตอิทธิพลในแหลมบอลข่าน    เยอรมนีสนับสนุนออสเตรีย – ฮังการี


 


          ขณะที่รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบีย    ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้นจนเป็นสงครามระหว่างรัฐในแหลมบอลข่าน เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕  


 


มหาอำนาจจึงมีโอกาสแทรกแซงและตั้งกลุ่มพันธมิตร 


 


 


 


 


          ระหว่างที่ผลประโยชน์ของชาติในยุโรปยังขัดกันอยู่นี้แต่ละประเทศต่างก็ดำเนินการทางการทูตแสวงหาสมัครพรรคพวกหรือพันธมิตรไว้คอยช่วยเหลือยามคับขัน  


 


 


 


 


 



 


 


การแสวงหาพันธมิตร         


          ในที่สุด   จึงเกิดการรวมกลุ่มกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ  คือ 


          เยอรมนี รวมกับออสเตรีย - ฮังการี และ อิตาลี  ซึ่งโดยทั่วไปเรียกกันว่า "ฝ่ายมหาอำนาจกลาง " "Central Power" หรือ  "ไตรภาคี"   Triple  Alliance  


          ส่วนฝรั่งเศส รวมกับรัสเซีย และอังกฤษ เรียกว่า "ไตรพันธมิตร"  Triple  Entente


 


 



 


 


 



 


 


"ไตรภาคี"  Triple Alliance - "ไตรพันธมิตร"  Triple Entente - "เป็นกลาง"  Neutral countries


 


 


ความขัดแย้งดังกล่าวที่สะสมเข้าไว้ จึงเปรียบเสมือนเป็นการสะสมเชื้อไฟแห่งสงคราม  รอเวลาที่จะเกิดการจุดเชื้อปะทุ


ให้เชื้อไฟเหล่านั้น  เท่านั้นเอง


 


 


สาเหตุปัจจุบัน - การจุดเชื้อปะทุ


             การจุดเชื้อปะทุให้เชื้อเพลิงแห่งสงคราม คราวนี้  เกิดขึ้นเมื่อ



 


          ในวันที่  ๒๘  มิถุนายน  ๒๔๕๗   


          อาร์ชดุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ออสเตรีย และพระชายา ดัสเชส โซฟี่   เสด็จเยือนเมืองซาราเจโว  เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย และเฮอเซโกวินา  (Bosnia and Herzegovina)  ในราชอาณาจักรออสเตรีย    


 


         ได้ถูกนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาฟริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)   ปลงพระชนม์ขณะประทับในรถพระที่นั่ง


 


 


 


 




 


 


 


 


 


 


 


 




 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


         รัฐบาลออสเตรีย - ฮังการียื่นคำขาดให้เซอร์เบียส่งคนร้ายให้ออสเตรียพิจารณาโทษ 


          รัฐบาลเซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้     จึงปฏิเสธ  ไม่ส่งคนร้ายให้ออสเตรียพิจารณาโทษตามที่ออสเตรียต้องการ 


 


สงครามเริ่มแล้ว


ออสเตรีย-ฮังการี  ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย


           เมื่อเซอร์เบียไม่ยอมตามปฏิบัติตามคำขาด       ออสเตรีย-ฮังการี จึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ในวันที่   ๒๘   กรกฎาคม   ๒๔๕๗ 


           รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและเรียกระดมพลเตรียมทำสงคราม      เยอรมนีจึงเรียกร้องให้รัสเซียยุติการดำเนินการภายใน  ๑๒  ชั่วโมง  รัสเซียไม่สนใจ ข้อเรียกร้องนั้น


 


เยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซีย และฝรั่งเศส


           เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่  ๑  สิงหาคม  ค.ศ.๑๙๑๔  (พ.ศ.๒๔๕๗)  และ กับฝรั่งเศสในวันที่   ๓  สิงหาคม  ค.ศ.๑๙๑๔   หลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยี่ยม ใน  ๓  สิงหาคม  เพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส    


 


อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี         


          อังกฤษ จึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่   ๓  สิงหาคม  ค.ศ.๑๙๑๔


 


          ฝ่ายเยอรมนี   ออสเตรีย - อังการี   หรือ "ฝ่ายมหาอำนาจกลาง" (Central Powers) ได้มีประเทศที่มาร่วมเป็นพันธมิตรด้วย คือ  จักรวรรดิออตโตมาน (ตุรกี)ได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม   ๒๔๕๗  เข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย    บัลแกเรียเข้า ร่วมสงครามในอีกปีต่อมา คือ พ.ศ.๒๔๕๘  ได้ผนวกเอาโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ 


          ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายสัมพันธมิตร (the Allies) ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม   เช่น อิตาลี เข้าร่วมเมื่อเดือนเมษายน  ๒๔๕๘   รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น


 


ความเป็นไปแห่งมหาสงคราม


           ในช่วงต้นของสงคราม พ.ศ.๒๔๕๗ - ๒๔๕๙    ฝ่ายเยอรมันมีกำลังมากกว่าและประสิทธิภาพการรบสูงกว่า   จึงได้ประสบชัยชนะในการรบตามลำดับ  


 


 



 


แผน  Schlieffen 1905 ของเยอรมัน (สีแดง)  และแผน  XVII  ของฝรั่งเศส  (สีน้ำเงิน)


 


 


         สถานการณ์โดยทั่วไปเยอรมันได้เปรียบในการรบ   


          โดยเฉพาะแนวรบด้านตะวันตก  สามารถรุกเข้าไปในดินแดนฝรั่งเศสจนถึงแม่น้ำมาร์น  ใกล้กรุงปารีส   


          แต่ทางแนวรบด้านตะวันออก  ถูก กองทัพรัสเซียโจมตีปรัสเซียตะวันออกอย่างรุนแรงและน่ากลัว ทำให้เยอรมนีจำเป็นต้องแบ่งกองทัพจากแนวรบด้านตะวันตกมาเสริมแนวตั้งรับด้านรัสเซียในแนวรบด้านตะวันออก    ทำให้เสียน้ำหนักการรุกเข้าสู่กรุงปารีส  (แนวรบด้านตะวันตก)


          อย่างไรก็ตาม  กองทัพเยอรมันก็สามารถ "ยัน" และ "รุกโต้ตอบ" กองทัพรัสเซียได้ที่ทุ่งแทนเนนเบอร์ก    ตั้งแต่วันที่  ๑๗  สิงหาคม  จนถึง  ๒  กันยายน   ๒๔๕๗    ทำให้เยอรมนีปลอดภัยจากกองทัพรัสเซีย     แต่ก็ถูกกองทัพฝรั่งเศสรุกโต้ตอบที่แม่น้ำมาร์นเหมือนกัน


 


๕ - ๙  กันยายน  ๒๔๕๗    การรบที่แม่น้ำมาร์น  


           เยอรมนีกำลังเตรียมบุกปารีส  แต่ฝ่ายพันธมิตร เริ่มนำกำลังออกจากปารีสรุกโต้ตอบกองทัพเยอรมัน ได้สำเร็จ


          ในเดือนเมษายน  ๒๔๕๘   ฝ่ายเยอรมนีเริ่มใช้ก๊าซคลอรีนเป็นครั้งแรก (เป็นการละเมิด การประชุมกรุงเฮก)


           เดือนพฤษภาคม  ๒๔๕๘  อิตาลี เปลี่ยนนโบาย กลับประกาศสงครามกับออสเตรีย - ฮังการี  และประกาศสงครามกับเยอรมนี ใน  พ.ศ.๒๔๕๙


 


การรบที่แม่น้ำซอมม์ 


           วันที่  ๑  กรกฎาคม   พ.ศ.๒๔๕๙   เป็นวันแรกของยุทธภูมิแม่น้ำซอมม์  กองทัพอังกฤษสูญเสียที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์  ความสูญเสียกว่า   ๕๗,๔๗๐  นาย  และเสียชีวิตกว่า   ๑๙,๒๔๐  นาย   ความสูญเสียส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างชั่วโมงแรกของการรบ


 


          กุมภาพันธ์   ๒๔๖๐   พระเจ้านิโคลัสที่ ๒  แห่งจักรวรรดิรัสเซียต้องทรงสละราชสมบัติ  เนื่องจากเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบจักรวรรดิในรัสเซีย  เปลี่ยนมาเป็นการปกครองโดยกลุ่มบอลเชวิค ซึ่งเปลี่ยนเป็นพรรคคอมมิวนิสต์  ในปีต่อไป 


          เยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีข้อจำกัด    เรือสินค้าลำหนึ่งสหรัฐอเมริกาถูกเรือดำน้ำโจมตี


 


สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมนี


         ๖  เมษายน  ๒๔๖๐  สหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมนี


 


ไทยกับ "มหาสงคราม"


 


 ในระหว่างเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการสงคราม


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า


ประเทศสยามเป็นกลาง     ทั้งได้ถือและทำ ความเป็นกลางอยู่อย่างเคร่งครัด


 


ไทย  :  ความเป็นกลางนั้นจะใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว


           ถึงแม้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า  ประเทศสยามเป็นกลางและได้ถือและทำความเป็นกลางอยู่เคร่งครัดก็ตาม   แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทรงติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดมา  เพราะทรงตระหนักดีว่า หากทรงตัดสินพระทัยผิดพลาดก็เท่ากับนำเอาประเทศไปสู่ความหายนะ  


          ในที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพิจารณาเหตุผลแวดล้อมต่าง ๆ อย่างรอบคอบและสุขุมคัมภึรภาพแล้ว พระองค์จึงทรงประกาศกระแสพระบรมราชโองการว่าด้วยการสงคราม ซึ่งมีต่อประเทศเยรมะเนียและเอ๊าสเตรีย - ฮุงการี


 


 


ประกาศกระแสรพระบรมราชโองการว่าด้วยการสงคราม


ซึ่งมีต่อประเทศเยรมะเนียและเอ๊าสเตรีย - ฮุงการี 
 
 


          มีพระบรมราชโองการมานพระสุรสีหะนาท  ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า    ความจริงนั้น เมื่อเกิดสงครามขึ้นในยุโหรปแล้วก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ประกาศว่าประเทศสยามเป็นกลาง   และได้ถือและทำ ความเป็นกลางอยู่อย่างเคร่งครัดต่อมาในเวลาที่มีสงครามอันกล่าวแล้วนั้นจนทุกวันนี้


ฯลฯ


          เพราะเหตุฉะนั้น    บัดนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศแก่บันดาคนทั้งปวงผู้ซึ่งจะเกี่ยวข้องแก่การอันนี้ให้ทราบทั่วกันว่า    ทางพระราชไมครีอันเรียบร้อย  ซึ่งได้เคยมีอยู่ในระหว่างประเทศสยามฝ่ายหนึ่งกับประเทศเยรมะเนียและเอ๊าสเตรีย-ฮุงการี อีกฝ่ายหนึ่งนั้น    ได้บรรลุถึงที่สุดหมดสิ้นเสียแล้ว  และลักษณะแห่งการสงครามได้เข้ามาตั้งอยู่แทนที่ว่านั้นด้วย


ฯลฯ


ประกาศมาแต่ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท   ณ กรุงเทพมหานคร 


วันที่   ๒๒   กรกฎาคม   พระพุทธศักราช   ๒๔๖๐   เป็นปีที่  ๘  ในรัชกาลปัตยุบันนี้


 


 



 


 


          ตอนเช้า  หลังจากการประกาศสงครามผ่านไปแล้วด้วยความราบรื่น  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องมหาพิชัยยุทธ  อันเป็นเครื่องทรงตามแบบโบราณประเพณีสำหรับพระมหากษัตริย์ ทรงเมื่อยามออกสงคราม คือ ทรงด้วยสีแดงทั้งพระองค์  ถูกต้องตามตำรามหาพิชัยยุทธว่า


“วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี   ภูษาสีแดงทรงเป็นมงคล” 


 


          เสด็จพระราชดำเนินไปยังปราสาทพระเทพบิดร    ทรงตั้งสัตยาธิษฐานต่อพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริยาธิราช ความว่า


 


 



 


".....ข้าพระองค์ ขออาศัยพระบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาล  และ
 พระราชกุศลจริยานุวัติ  ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญแล้วต่อกันมาเป็นลำดับ   จนถึงรัชกาลของข้า
 พระองค์  จงบันดาลให้ชัยชนะมีแก่ประเทศทั้งปวง  ซึ่งร่วมกันเป็นสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่
 นั้นโดยฉับพลัน  ให้สันติภาพ คือ  ความสงบได้กลับคืนมีในโลกนี้พร้อมด้วยความมั่งคั่ง
 สมบูรณ์ในประเทศเหล่านั้นและกรุงสยาม"


 


 



 


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องมหาพิชัยยุทธ


 


 


เครื่องทรงมหาพิชัยยุทธ 


          ประกอบด้วย พระภูษาไหม โจงกระเบนแบบไทยสีแดงเลือดนก ทรงสวมพระองค์นักรบไทยโบราณ ไม่มีแขนสีแดง รังดุม ๕ เม็ด  มีอักขระเลขยันต์เต็มทั่วทั้งพระองค์ไว้ชั้นใน   (นัยว่าฉลองพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เคยทรงสวมออกศึกสงครามมาแล้ว)   และทรงสวมฉลองพระองค์แพรแดงไว้ชั้นนอก เป็นแบบฝ่าอกครึ่ง กลัดกระดุมโลหะ ๕ เม็ด คอตั้งมีจีบรอบไหล่เล็กน้อย แขนยาวพับปลายข้อมือ ชายฉลองพระองค์ยาวคลุมลงมาเหนือพระชงฆ์เล็กน้อย ทรงคาดพระภูมิษาสมรดพื้นแดงคลุมด้วยสมรดตาดไหมทองแล่งผูกห้อยชายไว้ข้างซ้าย  ถุงพระบาทและฉลองพระบาทสีแดง พระสังวาลนพรัตน์ราชวราภรณ์ ประดับด้วยนพรัตน์มีเพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์



 
ส่วนประกอบพิธี


          ทรงทัดดอกลำเจียกสีแดงที่พระกรรณเบื้องขวา หมายถึงชัยชนะ  ทรงทัดใบมะตูม ๓ ใบ ที่พระกรรณเบื้องซ้าย หมายถึง ตรีมูรติ เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลก ๓ องค์ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และุพระพรหม (อะ อุ มะ โอม) หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง ตรีศูลเป็นอาวุธอันทรงพลานุภาพของพระอิศวรเป็นที่หวั่นเกรง แก่ ทวยเทพ และอสูรทั้งปวง พระหัตถ์ขวาทรงถือช่อชัยพฤกษ์ อันหมายถึงชัยชนะ  พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระแสงดาบ อันเป็นพระแสงดาบที่ทรงกฤดานุภาพอันยิ่งใหญ่ หมายถึง อำนาจ ทรงประทับเหยียบใบฝรั่ง เป็นการตัดไม้ข่มนาม   (ทหารอาสาไปราชการสงครามในทวีปยุโรปไปรบกับฝรั่ง)


 


ความมุ่งหมายแห่งการประกาศสงครามครั้งนี้  ก็เพื่อจะรักษาความศักดิ์สิทธิ์แห่งสัญญานานาประเทศซึ่งได้กระทำไว้ต่อกัน   มิได้คิดจะกระทำศึกต่อการต้าขาย  ต่อชาติมนุษย์  หรือต่อความเรียบร้อยของโลกทั่วไปไม่


 


การดำเนินการต่อชนชาติของศัตรู


          อนึ่ง   ในวันประกาศสงครามนี้กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้ทหารรักษาวินัยให้ถูกต้องตามข้อสัญญา ระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด คือ ไม่ทำร้าย หรือหมิ่นประมาท หรือการขัดต่อชาวต่างชาติถึงแม้จะเป็นชาติของศัตรูก็ตาม   ซึ่งทหารไทยก็สามารถปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดี


 


         แต่   . . . เมื่อรัฐบาลสยามได้ประกาศสงครามกับประเทศท่ามกลางยุโหรปแล้ว    บันดาชนชาติสัตรูได้ถูกเจ้าน่าที่จับกุมไว้อย่างชเลยศึกทั้งสิ้น    สถานที่ควบคุมนั้น  ได้จัดไว้อย่างเรียบร้อย   การเลี้ยงดูได้จัดให้สมแก่ฐานะ   ชเลยไม่ต้องเดือดร้อนในเรื่องอาหารการกินเลย    ทั้งนี้  ตลอดจนครอบครัวที่เป็นหญิงและเป็นเด็ก   ส่วนทรัพย์สมบัติของชเลยก็ได้มีเจ้าน่าที่รักษา . . .


 


ทหารเรือกับมหาสงคราม


          เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมนีและเอ๊าสเตรีย - ฮุงการีแล้ว ก็ได้ทรงจัดแบ่ง มอบหมายงานต่างๆ  ให้กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ  รับผิดชอบ ที่จะต้องกระทำโดยฉับพลันทันที   สำหรับ ทหารเรือนั้น มีหน้าที่ ในการจับกุม และ ยึดทรัพย์ เชลยทางน้ำ รวมทั้ง การตรวจตรา รักษาชายฝั่งทะเลของไทย    เมื่อจับยึดได้แล้วให้มอบตัวเชลย และ ทรัพย์สิน ที่ยึดได้ มาจากเรือสินค้าเหล่านั้น ให้อยู่ในความควบคุม ดูแล รักษาของทหารบก


          ในระหว่างสงครามนั้นเรือของฝ่ายเยอรมนีและพันธมิตรของเยอรมนี หลบหลีกเรือรบฝ่ายสัมพันธมิตร เข้ามาจอดอยู่ในลำน้ำ เจ้าพระยา  หลายลำ    และในบริเวณใกล้ๆ อ่าวไทย  ก็มีอยู่หลายสิบลำ 


          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมอบภารกิจ ในการจับยึดเรือ ใน น่านน้ำไทย ให้  นายพลเรือโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์  การปฏิบัติภารกิจ  ได้ทรงจัดกำลัง จากนายทหารเรือไทยที่สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายช่างกล โดยมี นายนาวาตรี หลวงหาญกลางสมุทร  (บุญมี พันธุมนาวิน) เป็นผู้บังคับบัญชา เข้าปฏิบัติการ จับยึดเรือชาติศัตรูในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้จำนวน  ๒๕ ลำ จับเชลยได้  ๑๔๐ คน


           นอกจากยึดเรือเชลยแล้วทหารเรือยังได้จัดให้มีการลาดตระเวนอ่าวไทย ด้วยเรือรบซึ่งมีนายทหาร และพลประจำเรือ  ล้วนแต่เป็นคนไทย ทั้งสิ้น 


นับได้ว่า  เป็นครั้งแรก ที่นายทหารเรือไทยที่สำเร็จ การศึกษา จากโรงเรียนนายเรือ และ โรงเรียนนายช่างกล ได้ออกงานพระราชสงคราม 


 


ประกาศเรียกพลอาสา


          การที่รัฐบาลประกาศสงครามครั้งนี้  มิได้กระทำแต่เพียงประกาศสงครามเฉยๆ แล้วนิ่งอยู่ในเมือง    รัฐบาลได้พยายามที่จะช่วยเหลือราชสัมพันธมิตร์ทุกสิ่งทุกอย่างโดยเต็มกำลัง    ฉะนั้น  เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสสแดงความประสงค์ขอให้รัฐบาลจัดส่งกองทหารออกไปช่วยรบในสมรภูมิ์ร่วมมือกับสัมพันธมิตร์    ทางราชการจึงได้จัดการเรียกพลอาสาทันที . . . โดยกระทรวงกลาโหมได้ออกแจ้งความ  เมื่อ  วันที่   ๒๑  กันยายน   พ.ศ.๒๔๖๐
 


 


พระราชประสงค์ที่จะส่งกองทหารออกไปทำการสงคราม


          พระราชประสงค์ที่จะส่งกองทหารออกไปทำการสงคราม นี้ก็เพื่อ


               - แสดงแก่ราชสัมพันธมิตรร่วมศึกว่ากรุงสยามเต็มใจแท้จริงที่จะช่วยสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ทำการสงครามสำหรับทรงไว้ซึ่งอืสรภาพแก่ประเทศทั้งปวงไม่ว่าน้อยใหญ่


               - ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งธรรมระหว่างประเทศ


               - ปราบปรามผู้ที่ประพฤติผิดไม่ถือธรรมเป็นใหญ่นั้นให้รู้สำนึกตัว


               - นำธงของชาติไทยไปสู่ทวีปยุโรป    แผ่เกียรติยศเกียรติคุณของชาติไทย ว่าทำการร่วมศึดเสมอหน้ากับมหาประเทศต่างๆ


               - ทหารที่ทำงานพระราชสงครามครั้งนี้จะได้รับความชำนาญที่จะปฏิบัติการในเวลาสงครามจริง


               - สังเกต จดจำกิจการความชำนาญของกองทัพสัมพันธมิตรที่ได้ทำสงครามมาแล้วกว่า  ๓  ปีนำมาเป็นหลักบำรุงกองทัพบกไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอีก


          และ    ทหารที่จะออกไปราชการครั้งนี้จะได้จัดเป็นกองบินทหารบก  มีนักบิน  ช่างเครื่องยนต์   และเจ้าหน้าที่พยาบาลพร้อมมูล 


 


ส่งกองฑูตทหารไปประจำกับกองทัพสัมพันธมิตร


 


          ในระหว่างที่เตรียมการรับสมัครพลอาสาเข้าประจำการนี้  ก็ได้มีพระบรมราชโองการให้จัดกองฑูตทหารออกไปติดต่อกับราชสัมพันธมิตร ดังนี้


          ๑. นายพลตรี  พระยาพิไชยชาญฤทธิ์  (ผาด  เทพหัศดิน  ณ  กรุงเทพ)   เป็นหัวหน้าฑูตทหาร


          ๒. นายพันโท  พระทรงสุรเดช   (ใหญ่  เกตุทัต)    เป็นผู้ช่วยหัวหน้าฑูตทหาร


          ๓. นายพันโท  หม่อมเจ้าฉัตรมงคล    เป็นผู้ช่วยหัวหน้าฑูตทหาร


          ๔. นายพันตรี  หม่อมเจ้าอมรทัต    ผู้ช่วยฑูตในราชการทหารบก  (ประจำกรุงปารีส)  เป็นหัวหน้าฑูตทหาร อีกตำแหน่งหนึ่ง


          ๕. นายร้อยเอก  สาย  ปุณณะภุม    ประจำกองฑูต


          ๖. นายร้อยโท  เมี้ยน  โรหิตเศรนี


          ๗. นายร้อยตรี  หม่อมราชวงศ์  ตัน  สนิทวงศ์  ณ กรุงเทพ


          ๘. นายร้อยตรี  กระมล  โชติกเสถียร


          ๙. นายร้อยตรี  เภา  เพียรเลิศ


         ๑๐. นายร้อยตรี  ภักดิ์  เกษสาลี


         ๑๑. นายร้อยตรี  ชั้น  ช่วงสุคันธ์


         ๑๒. นายร้อยตรี  วัน  ชูถิ่น


             กองฑูตทหารนี้ขึ้นตรงต่อเสนาธิการทหารบก  (ในเวลานั้น   คือ  นายพลเอก  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ   เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ)


 


 


 


 


 


 นายพลเอก  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ


เสนาธิการทหารบก


     


 


 ๒๘  กันยายน   ๒๔๖๐   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติสยามแทนธงช้าง


 


 


 


 


 


๙  มกราคม ๒๔๖๐     (ขณะนั้น ขึ้นปีใหม่ในวันที่  ๑ เมษายน) 


          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเลี้ยงกองฑูตร่วมศึกสัมพันธมิตรของไทย   ณ  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


 


๑๑  มกราคม  ๒๔๖๐  


          กองฑูตทหารได้เดินทางโดยรถไฟหลวงสายใต้ไปถึงเมืองสิงคโปร์  แล้วโดยสารเรือ  อามาโซน   AmaZone  ของบริษัท  เม็สซาจรีส์  มาริตีมส์   Messageries  Maritimes   ออกเดินทางจากสิงคโปร์เมื่อ&nb

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์