‘พระวิมานทอง’ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิร.9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น้อยคนจะได้เห็น


พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2560 ถือเป็นพระราชพิธีประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้ ชาวไทยทั้งโลกต่างร่ำไห้อาลัยที่สูญเสียพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งไป

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว จะมีการอัญเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐานในพระที่นั่งราเชนทรยาน เพื่อเข้าริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศริ้วที่ 4 ไปยังพระบรมมหาราชวัง ก่อนอัญเชิญประดิษฐานในบุษบกแว่นฟ้าเหนือพระแท่นสุวรรณเบญจดล ณ มุขตะวันตก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ก่อนอัญเชิญเข้าขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระบรมอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมาน บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

‘พระวิมานทอง’ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิร.9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น้อยคนจะได้เห็น


ธรรมเนียมการประดิษฐานพระบรมอัฐิแลพระอัฐิของราชวงศ์จักรี เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว จะต้องดูว่าพระองค์นั้นทรงมีพระอิสริยยศในชั้นใดแล้วจึงนำไปประดิษฐานในสถานที่นั้นๆตามพระเกียรติ สำหรับพระมหากษัตริย์นั้น พระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทยจะประดิษฐานอยู่ 2 แห่งคือ

‘พระวิมานทอง’ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิร.9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น้อยคนจะได้เห็น

1.หอพระธาตุมณเฑียร เป็นหอประดิษฐานพระบรมอัฐิตั้งอยู่ข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน พระบรมมหาราชวัง ภายในหอพระธาตุมณเฑียรทางทิศเหนือเป็นบริเวณที่ตั้งพระแท่นไม้จำหลักลายปอดทองลดหลั่นกันหลายชั้น ชั้นบนสุดเป็นพระวิมานประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 3 พระองค์รวมไปถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย ได้แก่ พระวิมานกลางจะเป็นพระบรมอัฐิ รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 รวมไปถึงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมราชชนกผู้เป็นพระราชบิดาในร.1

‘พระวิมานทอง’ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิร.9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น้อยคนจะได้เห็น


พระวิมานทางด้านขวา เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมราชชนนีพระราชชนนีในร.1 สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในร.1 สมเด็จพระศรีสุริเยนต์ทรามาตย์ พระบรมราชินีในร.2

‘พระวิมานทอง’ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิร.9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น้อยคนจะได้เห็น


พระวิมานด้านซ้าย เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสา กรมพระยาเทพสุดาวดี สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในร.3

พระโกศทองคำลงยา ทรงพระบรมอัฐิร.9พระโกศทองคำลงยา ทรงพระบรมอัฐิร.9

2.พระวิมานทองกลาง พระที่นั่งองค์กลางชั้นบนสุดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 8 รวมไปถึงพระมเหสีตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขึ้นมาทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระบรมราชวงศ์จักรีชั้นสูงหลายพระองค์ ซึ่งสถานที่นี้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์มาก อีกทั้งสถานที่ตรงนี้เป็นสถานที่ที่เราไม่เคยพบภาพถ่ายของพระวิมานทองกลางในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเลย ซึ่งเป็นสถานที่ยากต่อการที่จะทราบว่าเป็นห้องแบบไหน เนื่องจากแม้แต่ภาพถ่ายก็หายากมาก น้อยคนนักที่จะสามารถเข้าห้องพระวิมานทองตรงนี้ได้ ส่วน ในส่วนพระที่นั่งจักรีฯนั้น ทางด้านชั้นบนพระที่นั่งองค์ตะวันตกก็เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระอัฐิของพระบรมวงศ์บางพระองค์อีกด้วย

ซึ่งทั้ง 2 สถานที่ที่นั้นประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่คนภายนอกไม่สามารถที่จะเข้าไปข้างในได้ (โดยเฉพาะพระวิมานทองพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งเป็นสถานที่ลับสุดยอดที่สุดในพระบรมมหาราชวังก็ว่าได้ เพราะน้อยคนนักที่จะรู้ว่าสถานที่นั้นมีลักษณะอย่างไร)

พระบรมอัฐิในอดีตเดิมในหอพระธาตุมณเฑียร ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ แต่เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทก็เชิญขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิมานบนพระที่นั่ง มีรายพระนาม ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชิญไปประดิษฐานบน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในรัชกาลที่ 5, สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เชิญไปประดิษฐานบน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทใน รัชกาลที่ 5, พระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เชิญไปประดิษฐานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในรัชกาลที่ 5, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เชิญไปประดิษฐานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในรัชกาลที่ 9, สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เชิญไปประดิษฐานบน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในรัชกาลที่ 9

ส่วนสำหรับสถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหาอุปราช (รวมไปถึงพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) และพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์พระบรมวงศ์ชั้นสูงในราชวงศ์จักรีนั้นส่วนใหญ่จะประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระแก้ว ซึ่งเป็นสถานที่รวมพระบรมอัฐิมากที่สุดในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังต่อมาการเก็บรักษาพระอัฐิของเจ้านายต่างๆนั้น จะเก็บไว้ในวังของเจ้านายในราชสกุลนั้นๆ วัดหลวงต่างๆ รวมไปถึงคนในราชสกุลนั้นจะเก็บรักษาไว้เอง

 


‘พระวิมานทอง’ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิร.9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น้อยคนจะได้เห็น


พระวิมานพระบรมอัฐิ ในหอพระธาตุมณเฑียรพระวิมานพระบรมอัฐิ ในหอพระธาตุมณเฑียร


พระอัฐิในหอพระนากพระอัฐิในหอพระนาก

Cr.ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม ,khaosod


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์