♣ เกอิชา GEISHA ♣

เกอิกิ เป็นคำเรียกเกอิชาแบบภาษาเก่าของเกียวโตค่ะ คนญี่ปุ่นในปัจจุบันจะนิยมใช้คำนี้มากกว่า บางทีเรียกว่าเกอิโกะ (芸子) ก็มีในปัจจุบันยังมีความสับสนเกี่ยวกับเกอิชาอยู่อีกมาก ในความจริงแล้วเกอิชาซึ่งมีความหมายว่า"ผู้มีศิลป์"นั้นจะยึดหลักดังชื่อเรียกของตัวเองว่า"ขายศิลปะ ไม่ขายตัว" เกอิชาที่ขายบริการทางเพศอย่างไม่เลือกจะถูกเรียกว่ามิสึเทน (不見転) ในขณะที่เกอิชาจริงๆแล้วนั้นจะขายเพียงศิลปะ ปรนนิบัติก็เฉพาะดันนะ (旦那 - ในที่นี้หมายถึงสปอนเซอร์หรือคนรัก) ของตัวเองแล้วได้ค่าตอบแทนเป็นค่าเลี้ยงดู ในขณะเดียวกันก็มีเกอิชาจำนวนไม่น้อยที่ไม่พึ่งพาแขกรายใดรายหนึ่ง หากอาศัยศิลปะเป็นเครื่องยังชีพไปจนตลอดชีวิตการเป็นเกอิชาที่เกอิชาถูกเข้าใจว่าเป็น"โสเภณีชั้นสูง"นั้นมาจากหลังสมัยเอโดะที่เส้นแบ่งระหว่างเกอิชาและโสเภณี (遊女 - ยูโจ) กลายมาเป็นสิ่งไม่แน่นอน ทั้งสองอาชีพต่างก็มีความคล้ายคลึงกันในจุดที่ต่างก็มีค่าตัวเป็นหนี้ล่วงหน้า และจนก่อนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2คะไกได้กลายเป็นแหล่งค้าประเวณีและค้ามนุษย์ แม้แต่โอกิยะก็ยังทำการสนับสนุนการขายบริการทางเพศเสียเอง ซึ่งในความจริงแล้วนั้นเกอิชาจะเน้นไปที่ศิลปะ ในขณะที่ยูโจจะตอบรับบริการทางเพศด้วยหากแขกเรียกร้อง

♣ เกอิชา GEISHA ♣


เกอิชาจะเกล้าผมทรงชิมาดะมาเกะ ใส่กิโมโนแบบสึเมะโซเดะ ทาหน้าด้วยแป้งขาว (ถ้าเป็นแถบคันไซสมัยก่อนจะแต่งฟันดำด้วย (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ส่วนแถบคันโตเกอิชาจะไม่แต่งฟันดำ หากยูโจจะแต่ง) เกอิชาจะยกชายกิโมโนด้วยมือซ้ายในขณะที่โอยรันและเจ้าสาวจะยกด้วยมือขวา จึงมีการเรียกเกอิชาอีกอย่าวว่า"ฮิดาริซึมะ"(左褄) ซึ่งจุดนี้เป็นการแสดงออกอีกอย่างของเกอิชาว่าขายเฉพาะศิลปะ ไม่ได้ขายตัว
เกอิชาแบ่งคร่าวๆได้สองประเภทคือ ทะจิคาตะ(立方)ซึ่งเป็นผู้รำ และจิคาตะ(地方)ซึ่งเป็นผู้ร้องกลอน เล่าเรื่อง หรือบรรเลงดนตรี จิคาตะต้องอาศัยประสบการณ์มากกว่า โดยทั่วไปแล้วเกอิชาจะเริ่มจากการเป็นทะจิคาตะก่อน แล้วจึงฝึกฝนขึ้นไปเป็นจิคาตะในภายหลัง ซึ่งเกอิชาจะต้องเรียนรู้ศิลปะต่างๆทั้งการรำ การร้อง พิธีชา ฯลฯ จึงจะนับเป็นเกอิชาเต็มตัวได้เกอิชาจะบันทึกชื่อของตนอยู่ในโอกิยะ (置屋) ซึ่งโอกิยะนี้ ไม่ใช่สถานที่สำหรับเที่ยวเกอิชา หากจะเป็นผู้ส่งเกอิชาไปยังร้านน้ำชาเรือรับรองหรือร้านอาหาร ตามแต่จะตกลงกับแขก (ในสมัยเอโดะแขกจะเรียกเกอิชาผ่านร้านน้ำชาแล้วไปพบเกอิชาที่อาเกยะ (揚屋 - สถานที่สำหรับเที่ยวเกอิชาหรือยูโจ)แต่ในภายหลังร้านน้ำชาและอาเกยะได้รวมเป็นร้านเดียวกัน จึงเปลี่ยนไปเป็นการเรียกจากโอกิยะโดยตรงแทน)
ค่าตอบแทนสำหรับเกอิชานี้ แถบคันไซจะเรียกว่าฮานะได (花代 - ค่าดอกไม้) ส่วนแถบคันโตจะเรียกว่าเกียกุได (玉代 - ค่าพลอย) หรือเซ็นโคได (線香代 - ค่าธูป เนื่องจากในสมัยก่อนจะใช้ธูปปักไว้ดูระยะเวลาที่เรียกเกอิชามาแทนนาฬิกา)
เขตที่มีร้านของเกอิชาและยูโจอยู่รวมกันจะเรียกว่าคะไก (花街 - บ้างก็เรียกฮานะมาจิ ถ้าเป็นเขตของยูโจจะเรียกว่ายูคักคุ (遊郭)) ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันและมีชื่อเสียงที่สุดนั้นได้แก่คะไกทั้งห้าของเกียวโต โดยเฉพาะกิองโคบุ ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดคิโยมิซึนั่นเอง
การจะเป็นเกอิชานั้น โดยพื้นฐานแล้วต้องเริ่มจากการเป็นไมโกะก่อน แต่ในปัจจุบัน คนที่เป็นเกอิชาเลยโดยไม่ต้องเป็นไมโกะ (舞妓) มาก่อนก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะไมโกะต้องมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ในขณะที่เกอิชานั้นสามารถเป็นได้ตลอดทั้งชีวิต โดยมากที่เลิกเป็นเกอิชาไป จะเพราะเกษียณไปแต่งงานเสียมากกว่าเนื่องจากชอบไมโกะมากเลยขอพูดถึงไมโกะด้วยค่ะ
ไมโกะ (เป็นชื่อเรียกในแถบเกียวโต) นั้น เรียกกันง่ายๆก็คือเกอิชาฝึกหัดนั่นเอง บางท้องที่จะเรียก"ฮันเกียกุ" (半玉) หรือโอชาคุ (おしゃく) แต่เดิมจะกำหนดอายุไว้ที่ 9-12 ปี ซึ่งภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงตามกฏหมายแรงงานเด็กว่าไมโกะจะต้องมีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป (จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น) ขั้นตอนการเป็นไมโกะจะพอแบ่งได้ดังนี้
ช่วงครึ่งปีถึง 2 ปีแรกจะเรียกว่าชิโคมิซัง (仕込みさん) ซึ่งไมโกะจะต้องเรียกรู้ธรรมเนียมและศิลปะต่างๆเพื่อเตรียมตัวไปเป็นเกอิชา (เฉพาะการเรียนภาษาเคียว (ภาษาของเกียวโต) ก็ต้องใช้เวลากว่า 1 ปีแล้ว)
- หลังจากนั้นไมโกะเข้าสู่ช่วงมินาไรซัง (見習いさん) ซึ่งจะต้องเข้าไปฝึกงานในร้านน้ำชากับเกอิชารุ่นพี่เป็นเวลา 1 เดือน
- และเมื่อได้รับคำอนุญาติจากนายหญิงของโอกิยะและสมาคมร้านน้ำขาแล้ว จึงจะนับเป็นไมโกะเต็มตัวที่สามารถออกรับแขกได้ (見世出し - มิเสะดาชิ) โอกิยะจะออกป้ายชื่อให้และเมื่อลงชื่ออย่างเป็นทางการกับสมาคมแล้ว งานแรกของไมโกะก็คือการแต่งกิโมโนสีดำที่มีตรา ผูกผ้าคาดเอวแบบดาราริโนะโอบิ แล้วไปทักทายทำความรู้จักกับร้านน้ำชาต่างๆ
* เมื่อพ้นวัยที่จะเป็นไมโกะ จะมีการเอริคาเอ (襟かえ - เปลี่ยนปกคอ) เพื่อไปเป็นเกอิชา
ปัจจุบัน ไมโกะเป็นที่นิยมมากกว่าเกอิชาเนื่องจากการแต่งกิโมโนและประดับทรงผมที่มีสีสันและลวดลายสดใสกว่า ซึ่งลักษณะการแต่งกายของไมโกะก็ยังแยกแยะออกไปอีกตามขนบธรรมเนียม นับได้ว่าไมโกะเป็นสีสันและหน้าตาของเกียวโตก็ว่าได้
ไมโกะต่างจากเกอิชาอีกข้อที่ว่า ผมของเกอิชาจะเป็นวิกผม ส่วนไมโกะจะต้องเกล้าด้วยผมจริงของตัวเองทั้งหมด ไมโกะหมาดๆจะเกล้าผมเป็นทรง"วาเรชิโนบุ" 2-3 ปีให้หลังจะเปลี่ยนเป็นทรง"โอฟุกุ" และ 1-4 สัปดาห์ก่อนจะเป็นเกอิชาจะเกล้าเป็นทรง"ซัคโค" ส่วนเวลามีงานเทศกาลเช่นเทศกาลกิองก็จะเกล้าเป็นทรง"คัทสึยามะ" กิโมโนจะเป็นแบบฟุริโซเดะ (振袖 - กิโมโนที่มีผ้าใต้แขนยาว) แต่ยกชายให้สูงกว่าปกติใส่เกี๊ยะแบบส้นสูงผ้าคาดเอวในช่วงมินาไรซังจะเป็นแบบฮันดาระ และเมื่อได้รับการบันทึกชื่อเป็นไมโกะเต็มตัวก็จะผูกแบบดาราริโนะโอบิ การแต่งหน้าจะทาแป้งขาวเหมือนเกอิชา แต่ในช่วงปีแรก ไมโกะจะทาชาดเฉพาะที่ริมฝีปากล่างเท่านั้น
* เครื่องแต่งกายเหล่านี้ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของไมโกะ หากเป็นของโอกิยะ


การเลือกใส่กิโมโนเป็นไปตามประเพณีนิยมของเกอิชา
 สีดำ หมายถึง การเริ่มต้นปีใหม่ และโอกาสสำคัญต่างๆ
สีชมพู ปักลวดลายดอกไม้ สำหรับฤดูร้อน
สีส้ม ลายใบเมเปิ้ลญี่ปุ่น สำหรับฤดูใบไม้ร่วง
และสีเขียว สำหรับฤดูหนาว
เกอิชาจะไม่สวมชุดชั้นใน เพื่อป้องกันการเกี่ยวรั้งชุดไหมของเธอ และจะคาดโอบิเป็นผ้าไหมคาดเอว ให้ดูหลังตรง สง่า ต้องสวมเกี๊ยะไม้สูง เพื่อที่ชายกิโมโนจะได้ไม่ลากพื้น และฝึกก้าวเดินสั้นๆ นุ่มนวล ปลายเท้าต้องหันเข้าหากัน สำหรับค่าตอบแทน เกอิชาจะได้รับค่าตอบแทนถึงชั่วโมงละ 550 ดอลล่าร์ แต่ปัจจุบันอาจจะถึง1000 ดอลล่าร์
ถ้าคิดเป็นเงินบาทก็คือ 550X35=19


♣ เกอิชา GEISHA ♣


♣ เกอิชา GEISHA ♣


♣ เกอิชา GEISHA ♣


♣ เกอิชา GEISHA ♣


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์