คนเราทุกคนย่อมได้รับในสิ่งที่ตนสมควรได้รับเสมอ


มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาบนโลกนี้ ต่างก็มีกรรมเก่าที่ติดมาจากภพชาติก่อนๆ ในชีวิตที่มาเกิดใหม่นี้ เป็นโอกาสและทางเลือก ที่เราจะใช้ชีวิตของเราอย่างไร จะปล่อยไปตามเวรตามกรรมหรือจะเกิดมาเพื่อสร้างสมบารมี สร้างสมบุญกุศล อันนี้ก็สุดแล้วแต่เราจะเลือกเอาเอง

แต่....จำไว้เสมอว่า ทุกสิ่งที่เราคิด ทุกสิ่งที่เราพูด หรือ ทุกสิ่งที่เรากระทำไปนั้น นั่น คือ กรรม

กรรม (Karma = the sum of a person's actions in this and previous states of existence, viewed as deciding their fate in future existences.) มีผลส่งให้เกิด บาป บุญ คุณ โทษ แก่ชีวิตของเราเสมอ กรรมนั้นเป็นพลังที่ส่งผลต่อชะตาชีวิตของคนทุกคนให้แตกต่างกันไปตามกรรมที่แต่ละคนได้กระทำมา และส่งผลระยะยาว แม้เราตายไปแล้ว ก็ยังไม่อาจพ้นกรรมได้ กรรมก็ยังคงให้ผลต่อเนื่อง ติดตามเราไปอีกหลายภพหลายชาติ

แต่กรรมนั้น ไม่ใช่โชคชะตาที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเราเองว่าตั้งใจจะให้โชคชะตา เปลี่ยนแปลงหรือไม่ และเราเองเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดปลดปล่อยตัวเราให้พ้นกรรมนั้น

เราทุกคน ไม่มีใครเลยที่เป็นเหยื่อชะตากรรม ทุกอย่างที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตเรานั้น อยู่ในกำมือเรา คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยผ่านการกระทำที่เราต้องรับผิดชอบทั้งหมดด้วยตัวของเราเอง เหมือนการขว้างบูมเมอแรง สิ่งที่เรากระทำไปนั้น ย่อมย้อนกลับมาหาเราเสมอ

เมื่อเรารู้และเข้าใจเรื่องของกรรม ก็จะช่วยให้เราเข้าใจอดีต คิดคำนึงถึงปัจจุบันอย่างมีสติ และ กำหนดความเป็นไปในอนาตต

จงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนอย่างที่เราอยากให้เขาปฏิบัติต่อเรา (Treat people the way you want to be treated.) (Behandle andere so, wie du selbst behandelt werden möchtest.)

อย่าแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร สิ่งใดที่ไม่ใช่ของของเรา เราก็ไม่ควรแย่งเอามาเป็นของเรา ไม่ว่าจะเป็นคนรัก คู่ครอง งาน เงิน หรือ อะไรก็ตาม (Don't take things that don't belong to you i.e., spouss, jobs, money.)

อย่าทำร้ายผู้ใด พึงระลึกไว้เสมอว่า จิตวิญญาณของเรานั้นจะเก็บบันทึกการกระทำของเราทุกอย่างเอาไว้ ซึ่งเราไม่มีวันจะหนีพ้นกรรมไปได้เลย (Never seek vengeance. Remember that your soul records every action and you can't get away with anything.)

กรรม เป็น กฏสากลของเหตุ และ ผล (Karma is the universal law of cause and effect.)
ไม่ว่าบุคคลนั้นๆจะรู้หรือไม่รู้กฏแห่งกรรมก็ตาม แต่ เขาก็ต้องได้รับผลแห่งกรรมด้วยกันทั้งนั้น

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น (You reap what you sow.)
คนเราทุกคน ย่อมได้รับสิ่งที่ตนสมควรได้รับเสมอ (You get what you earn.)
เมื่อเราให้ความรักไป เราก็จะได้รับความรัก (If you give love, you get love.)
ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว (Revenge returns itself upon the avenger.)
ทุกสิงทุกอย่างที่เรากระทำไป จะย้อนกลับมาหาเราเสมอ (What goes around comes around.)

การทำดี คือ การสร้างกรรมดี (Good action equals good karma.)
การทำชั่ว คือ การสร้างกรรมชั่ว (Bad action equals bad karma.)

คนเราทุกคน ย่อมได้รับในสิ่งที่ตนกระทำไว้เสมอ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง การกระทำแต่ละอย่าง ย่อมก่อให้เกิด ผลที่ตามมาเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสมควรได้รับทั้งสิ้น (Each individual is solely responsible for his or her own behavior, and every deed will produce a reaction equal to it in every way.)

กรรมนั้นมีความยุติธรรมเสมอ ไม่มีรางวัล ไม่มีการลงโทษ ไม่มีความลำเอียงต่อผู้ใดทั้งสิ้น
ทุกสิงทีเราได้รับนั้น เราต้องสมควรได้รับเสมอ กรรมไม่ได้ให้อภิสิทธิ์แก่ใครเลย (Karma is justice. It does not reward or punish.)

กรรมนั้นไม่ได้กำหนดชะตาชีวิตให้ใคร แต่....เราเองต่างหากที่เป็นผู้สร้างเหตุ เป็นผู้กระทำกรรม แล้วกรรมนั้นก็ส่งผลที่สมควรให้กับการกระทำของเราอย่างเหมาะสม (Karma doesn't predestine anyone or anything. We create our own causes and karma adjusts the effects with perfect harmony.)

กรรมนั้นไม่ใช่สิ่งที่รอคอยอยู่กับที่ แต่เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว รุกไปข้างหน้า เราสามารถตัดสินใจได้ทันทีที่จะกำหนดอนาคตของเรา และปรับเปลี่ยนในส่วนที่ทำให้ชีวิตเราไม่มีความสุข (Karma is not passive, it is active. We can, in an instant, make decisions that shape our future and transform the parts of our lives that are causing us unhappiness.)

เราไม่จำเป็นต้องคอยให้กรรมดีส่งผลให้เรา แต่...เราสามารถทำกรรมดีได้เสียแต่วันนี้เลย ทุกขณะนั้นคือโอกาสที่เราสามารถกำหนดชีวิตเราได้ให้เป็นไปอย่างสมดุลย์ (We don't have to wait for good karma, we can make it now. Every moment is an opportunity to shape our lives into ones with greater karmic balance.)

ด้วยกฏแห่งกรรม จะทำให้เราเข้าใจชะตาชีวิตของเราซึ่งเป็นไปตามกฏแห่งธรรมชาติ ทำให้เราเข้าใจถึงการมาเกิดใหม่ กรรมเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถอธิบายเรื่องการเกิดใหม่ และความเป็นไปของชีวิตได้อย่างสมเหตุสมผล สำหรับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตเรานั้น ไม่มีใครเลยที่ตกเป็นเหยื่อชะตากรรม เราต่างก็ตกอยู่ในสถานการณ์ซึ่งเราเองเป็นคนก้าวเข้าไปเอง ไม่ใช่เพราะโชค ไม่ใช่เพราะเคราะห์ร้าย ไม่ใช่เพราะความบังเอิญ แต่เป็นเพราะเราทุกคนได้กระทำกรรมไว้และสมควรได้รับในสิ่งที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตของเราด้วยกันทั้งนั้น

เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะรู้เกี่ยวกับกรรมของเรา เพราะ...ไม่ว่าจะเป็นความเศร้าโศก ความเจ็บปวดสูญเสีย ความสุข หรือ ความพึงพอใจ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราสามารถค้นหาสาเหตุได้จากการกระทำของเราในปัจจุบัน และ ในอดีตชาติได้ (It is important to know about our personal karma because there is no sorrow or pain, joy or delight that can't be traced to our actions in this or a former life.)

ชีวิตที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้นั้น เป็นผลเนื่องมาจากการกระทำ ความคิด และความปรารถนาของเราในอดีต และการกระทำในปัจจุบันของเรานี้ ก็เป็นสิ่งที่กำหนดอนาคตของเรา (We are what we are because of our past deeds, thoughts, and desires. We are building our future through our present behavior.)

เรามีอำนาจ ที่จะกำหนดอนาคตของเราให้เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการ ด้วยการกำหนดการกระทำของเรา ถ้าเราทำดี สิ่งดีๆย่อมเกิดขึ้นแก่เราเสมอ ถ้าเราทำไม่ดีกับผู้อ่่ืนไว้ สิ่งที่ไม่ดีนั้น ย่อมย้อนกลับมาเกิดขึ้นแก่เราเช่นกัน ไม่ช้าก็เร็ว

ปัญหาหลายอย่างในชีวิตนั้น คนเราสามารถหลีกเลี่่ยงได้ ด้วยการไม่สร้างปัญหาให้เกิดขึ้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เราทำไป ย่อมเป็นสิ่งที่เราจะได้รับกลับมา เมื่อเรารู้จักการจัดการกับชีวิต ทำแต่กรรมดี มีความรัก รักษาสุขภาพ เราก็จะมีความสุข มีความสมหวัง มีความมั่นคง มีโชคลาภ ตรงกันข้าม ถ้าเราทำกรรมไม่ดี ชีวิตก็เราก็จะมีแต่ความทุกข์ยาก อุปสรรค ความผิดหวัง เคราะห์ร้าย

วิธีหนึ่งที่จะเปลี่ยนกรรมได้ คือ หาเวลาในแต่ละวัน ทำใจให้สงบ คิดทบทวนดูว่าสิ่งใดที่เราได้กระทำไปแล้วนั้น เป็นสาเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดีต่อชีวิตเรา (One way to change our personal karma is to start spending some time each day examining our behavior in an effort to determine what in our life is causing us to have a bad reaction as opposed to a good one.)

เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ แต่เราสามารถหยุดสร้างกรรมไม่ดีได้ ด้วยการทำความดีลบล้างความไม่ดีนั้นเสีย

สร้างกรรมดีไว้ ก็เป็นการสร้างอนาคตที่ดี ดูแลสุขภาพกายให้ดี รักษาสุขภาพจิตให้ดี ให้มีความสุขสงบ ก็จะเกิดความสมดุลย์ในชีวิต มีความสุข สงบ และ พึงพอใจแก่ชีวิต


กรรม คือ อะไร

กรรม 2 (action; deed)
คือ การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายหรือ ทางวาจา หรือทางใจ ล้วนแต่เป็นกรรมทั้งสิ้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

1. อกุศลกรรม (unwholesome action; evil deed; bad deed)
กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี การกระทำที่ไม่ฉลาด การกระทำที่ไม่เกิดจากปัญญา การกระทำท่ีเกิดจากความประมาท หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต ได้แก่ การกระทำที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ หรือ ความหลง (ความโง่)

2. กุศลกรรม (wholesome action; good deed)
กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี การกระทำที่ฉลาด การกระทำที่เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ ได้แก่ การกระทำที่เกิดจากความไม่โลภ ความไม่โกรธ หรือ ความไม่หลง (ความไม่โง่)

เมื่อเราได้พิจารณาการกระทำของเราทุกอย่างแล้ว ว่าเราทำแต่กุศลกรรม เราย่อมมั่นใจได้ว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิตของเรานั้น ย่อมเป็นส่ิ่งที่ดีเสมอ เราจะไม่มีความวิตกกังวล ไม่มีความหวาดกลัวว่า ชีวิตจะต้องเจอปัญหาและอุปสรรคใดๆ ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นแก่ชีวิตเรา เราจะไม่ละทิ้งการทำความดี เราจะไม่ขโมยของใคร แม้เราจะไม่มีเงิน เราจะไม่แย่งคู่ครองของใคร แม้ว่าเขาหรือเธอจะสวยมีเสน่ห์น่ารักน่าใคร่สักแค่ไหนก็ตาม ฯลฯ เราจะมีสติและทำแต่กุศลกรรมเสมอ

นอกจากนี้ เราต้องรู้ด้วยว่า รากเหง้าหรือต้นตอของกุศลกรรม และ อกุศลกรรมนั้นมีมาจากอะไรบ้าง ด้วยการทำความเข้าใจกับกุศลมูล และ อกุศลมูล

กุศลมูล 3 (roots of good actions)
รากเหง้าของกุศล, ต้นตอของความดี ได้แก่

1. อโลภะ (non-greed; generosity)
ความไม่โลภ, ความคิดเผื่อแผ่, ความมีใจกว้าง, ชอบเสียสละ ให้ทาน

2. อโทสะ (non-hatred; love)
ความไม่คิดประทุษร้าย, เมตตา, ความปรารถนาดี

3. อโมหะ (non-delusion; wisdom)
ความไม่หลง, ความฉลาด, ความมีปัญญา

หากบุคคลใดได้หมั่นพิจารณาการกระทำของตนอยู่เนืองๆ และเฝ้าดูจิตใจตนเองให้มีแต่กุศลมูล นอกจากจะเป็นผู้ที่มีสติปัญญา จิตใจสะอาดผ่องแผ้วแล้ว ยังจะดำรงชีวิตด้วยความมั่นคง ไม่หวาดกลัว ไม่วิตกกังวล ว่าชีวิตอาจจะต้องเจอปัญหาและอุปสรรคมากมาย หรือมีเคราะห์กรรมใดๆ


อกุศลมูล 3
(roots of bad actions)
รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว ได้แก่

1. โลภะ (greed)
ความอยากได้ทั้งหลายทั้งปวง อยากได้ชื่อเสียงเกียรติยศ อยากได้ทรัพย์สินเงินทอง อยากมีอำนาจวาสนาบารมี อยากมีบริวารล้อมหน้าล้อมหลัง ฯลฯ

2. โทสะ (hatred)
ความคิดประทุษร้าย ไม่ปรารถนาดีต่อผู้อื่น ความโกรธ ความเกลียดชัง ความขุ่นข้องหมองใจต่างๆ ฯลฯ

3. โมหะ (delusion)
ความหลง ความเชื่ออย่างงมงาย ไม่สมเหตุสมผล ความเชื่ออย่างผิดๆ ไม่ใช้ปัญญาในการพิจารณาไตร่ตรอง ความลุ่มหลงมัวเมา

เราควรเฝ้าดูจิตใจของเรา อย่าให้เกิดอกุศลมูลขึ้นในจิตใจของเรา ไม่ว่าเราจะทำอะไรลงไป ต้องพิจารณาอยู่เสมอว่า เราไม่ได้กระทำไปเพราะความอยากได้อยากมี หรือ กระทำไปเพราะมีเจตนาทำร้ายผู้อื่น หรือ กระทำไปเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา เพราะความลุ่มหลงงมงาย ฯลฯ เราควรเตือนสติตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา อย่าให้จิตใจของเรา มีอกุศลมูลเข้าครอบงำจิตใจได้ เพื่อความสุข ความสงบ ในชีวิตของเราเอง


คนเราทุกคนย่อมได้รับในสิ่งที่ตนสมควรได้รับเสมอ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์