100 คำสอน สมเด็จพระสังฆราช


100 คำสอน สมเด็จพระสังฆราช  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 


  นำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจําวัน ในอันที่จะยังให้เกิดประโยชน์สุข


100 คำสอน สมเด็จพระสังฆราช


ตัวอย่างคำสอนพระสังฆราช


คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 1 ชีวิต

     มนุษย์ ที่ แปลอย่างหนึ่งว่า ผู้มีจิตใจสูง คือ มีความรู้สูง ดังจะเห็นได้ว่าคนเรามีพื้นปัญญาสูงกว่าสัตว์ดิรัจฉานมากมาย สามารถรู้จักเปรียบเทียบในความดี ความชั่ว ความควรทำไม่ควรทำ รู้จักละอาย รู้จักเกรง รู้จักปรับปรุงสร้างสรรค์ที่เรียกว่าวัฒนธรรม อารยธรรม ศาสนา เป็นต้น แสดงว่ามีความดีที่ได้สั่งสมมา โดยเฉพาะปัญญาเป็นรัตนะ ส่องสว่างนำทางแห่งชีวิต ถึงดังนั้นก็ยังมีความมืดที่มากำบังจิตใจให้เห็นผิดเป็นชอบ ความมืดที่สำคัญนั่นก็คือ กิเลสในจิตใจและกรรมเก่าทั้งหลาย

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 2

   คำว่า ชีวิต มิ ได้มีความหมายเพียงแค่ความเป็นอยู่แห่งร่างกาย แต่หมายถึงความสุข ความทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม ของบุคคลในทางต่างๆ ด้วยบางคนมีปัญหาว่า จะวาดภาพชีวิตของตนอย่างไรในอนาคต หรืออะไรควรจะเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต และจะไปถึงจุดหมายนั้นหรือที่นึกที่วาดภาพไว้นั้นด้วยอะไร ปัญหาที่ถามคลุมไปดังนี้ น่าจะตอบให้ตรงจุดเฉพาะบุคคลได้ยาก เพราะไม่รู้ว่าทางแห่งชีวิตของแต่ละบุคคลตามที่กรรมกำหนดไว้เป็นอย่างไร และถ้าวาดภาพของชีวิตอนาคตไว้เกินวิสัยของตนที่จะพึงถึง แบบที่เรียกว่าสร้างวิมานบนอากาศ ก็จะเกิดความสำเร็จขึ้นมาไม่ได้แน่ หรือแม้วาดภาพชีวิตไว้ในวิสัยที่พึงได้พึงถึง แต่ขาดเหตุที่จะอุปการะให้ไปถึงจุดหมายนั้น ก็ยากอีกเหมือนกันที่จะเกิดเป็นความจริงขึ้นมา

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 3

     เรา เกิดมาด้วยตัณหา ความอยากและกรรมเพื่อสนองตัณหาและกรรมของตนเอง ตัณหาและกรรมจึงเป็นตัวอำนาจหรือผู้สร้างให้เราเกิดมา ใครเล่าเป็นผู้สร้างอำนาจนี้ ตอบได้ว่าคือ ตัวเอง เพราะตนเองเป็นผู้อยากเองและเป็นผู้ทำกรรม ฉะนั้นตนนี้เองแหละเป็นผู้สร้างให้ตนเองเกิดมาอนุมาน ดูตามคำของผู้ตรัสรู้นี้ในกระแสปัจจุบัน สมมติว่าอยากเป็นผู้แทนราษฎร ก็สมัครรับเลือกตั้งและหาเสียง เมื่อชนะคะแนนก็เป็นผู้แทนราษฎร นี่คือความอยากเป็นเหตุให้ทำกรรม คือทำการต่างๆ ตั้งแต่การสมัคร การหาเสียง เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับผล คือ ได้เป็นผู้แทน

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 4

     ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต หรือของโลกเป็นทุกข์ประจำชีวิตหรือประจำโลกไม่เป็นเรื่องแปลกประหลาดอันใด เมื่อจะสรุปกล่าวให้สั้น ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสี่นี้ย่อลงเป็นสอง คือความเกิดและความดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่สกัดหน้าสกัดหลังของโลก ของชีวิตทุกชีวิตนี่เรียกคติธรรมดา แปลว่า ความเป็นไปตามธรรมดา ความไม่สบายใจ ทุกๆ อย่าง พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าเป็นทุกข์ ทุกคนคงเคยประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ปรารถนาไม่ได้สมหวัง เกิดทุกข์โศกต่างๆ นี่แหละพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเป็นทุกข์โลกหรือชีวิต ประกอบด้วยทุกข์ดังกล่าวมาแล้ว ฉะนั้น ทุกข์จึงเป็นความจริงที่โลกหรือทุกชีวิตต้องเผชิญ

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 5

     ชีวิตคนเรา เติบโตขึ้นมาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความเมตตากรุณาจากผู้อื่นมาตั้งแต่เบื้อง ต้น คือ เมตตา กรุณา จากบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ญาติสนิท มิตรสหาย ถ้าไม่ได้รับความเมตตา ก็อาจจะสิ้นชีวิตไปแล้วเพราะถูกทิ้ง เมื่อเราเติบโตมาจากความเมตตากรุณา ก็ควรมีความเมตตากรุณาต่อชีวิตอื่นต่อไป
วิธีปลูกความเมตตากรุณา คือ ต้องตั้งใจปรารถนาให้เขาเป็นสุข ตั้งใจปรารถนาให้เขาปราศจากทุกข์ โดยเริ่มจากเมตตาตัวเองก่อน แล้วคิดไปถึงคนใกล้ชิด คนที่เรารัก จะทำให้เกิดความเมตตาได้ง่าย แล้วค่อยๆ คิดไปให้ความเมตตาต่อคนที่ห่างออกไปโดยลำดับ

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 6

     ตนรักชีวิตของตน สะดุ้งกลัวความตายฉันใด สัตว์อื่นก็รักชีวิตตนและสะดุ้งกลัวความตายฉันนั้น ฉะนั้น จึงไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ผู้อื่นฆ่า อนึ่ง ตนรักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด สัตว์อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น จึงไม่ควรสร้างความสุขให้ตนเองด้วยการก่อความทุกข์ให้แก่คนอื่น

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 7

     คติธรรมดาที่ไม่มีใครเกิดมาในโลกนี้ จะหนีไปให้พ้นได้ ก็คือ ความแก่ ความตาย แต่คนโดยมากพากันประมาทเหมือนอย่างว่าไม่แก่ ไม่ตาย น่าที่จะรีบทำความดี แต่ก็ไม่ทำ กลับไปทำความชั่ว ก่อความเดือดร้อนให้แก่กันและกัน ต่างต้องเผชิญทุกข์เพราะกรรมที่ต่างก่อให้แก่กันอีกด้วย ฉะนั้น ก็น่าจะนึกถึงความแก่ ความตายกันบ้าง เพื่อจะได้ลดความมัวเมา และทำความดี

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 8

    การฆ่าตัวตาย เป็น การแสดงความอับจนพ่ายแพ้หมดหนทางแก้ไข หมดทางออกอย่างอื่น สิ้นหนทางแล้ว เมื่อฆ่าตัวก็เป็นการทำลายตัว เมื่อทำลายตัวก็เป็นการทำลายประโยชน์ทุกอย่างที่พึงได้ในชีวิต ในบางกลุ่มบางหมู่เห็นว่าการฆ่าตัวตายในบางกรณีเป็นเกียรติสูง แต่ทางพระพุทธศาสนาแสดงว่าเป็นโมฆกรรม คือกรรมที่เปล่าประโยชน์ เรียกผู้ทำว่า คนเปล่า เท่ากับว่าตายเปล่าๆ ควรจะอยู่ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ ก็หมดโอกาส

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 9

     การแก้ปัญหาของคนเรา ถ้า ป้องกันไว้ก่อนแก้ไม่ทัน ก็แก้เมื่อปัญหายังเล็กน้อยจะง่ายกว่า เหมือนอย่างดับไฟกองเล็กง่ายกว่าดับไฟกองโต ถ้าเป็นผู้ที่สนใจธรรมะบ้าง ก็จะหาหนทางปฏิบัติได้ถูกต้อง ดังที่พระพุทธเจ้ายกขึ้นแสดงว่า ธรรมะพันเกี่ยวข้องกับตัวเราเอง ทุกๆ คนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าตั้งมั่นในการประพฤติธรรมให้พอเหมาะแก่ภาวะของตนเอง ก็จะทำให้พ้นจากความทุกข์ภัยพิบัติได้ ถ้าไม่ปฏิบัติก็อาจจะเผลอพลั้งพลาด และถ้าไม่รู้วิธีแก้ปัญหาด้วยธรรมะก็อาจจะทำให้หลุดพ้นจากบ่วงปัญหาได้ยาก ฉะนั้น ถ้าสนใจพระธรรมบ้างก็จะมีเครื่องป้องกันแก้ไขให้พ้นจากความทุกข์ ดังคำกล่าวที่ว่า พระธรรมคุ้มครอง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 10

     มารดา บิดา เป็นทิศเบื้องหน้า ครู อาจารย์ เป็นทิศเบื้องขวา บุตรภรรยา เป็นทิศเบื้องหลัง มิตรสหาย เป็นทิศเบื้องซ้าย คนรับใช้หรือผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน ถ้าทิศทั้งหลายดังกล่าวไม่ดีเสียโดยมาก ก็ยากที่จะให้ใครๆ ที่อยู่ระหว่างกลางดีอยู่ฝ่ายเดียว

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 11

     เมื่อมองไปเบื้องหน้า ไม่มีบิดา-มารดาเป็นที่ยึดเหนี่ยว มองไปเบื้องขวาก็ไม่พบครู-อาจารย์ที่จะอบรมแนะนำ มองไปเบื้องหลังก็ไม่พบญาติพี่น้องผู้หวังดี มองไปเบื้องซ้ายก็ไม่มีสหายที่เป็นกัลยาณมิตร มองไปเบื้องล่างก็ไม่พบผู้ที่รับใช้ให้ความช่วยเหลือ มองไปเบื้องบนก็ไม่พบสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี ซึ่งจะเป็นผู้ชี้ทางที่ถูกให้ ตรงกันข้าม มองไปทางทิศไหนก็พบแต่โรงหนัง โรงละคร สถานอบายมุขต่างๆ และบุคคลต่างๆ ที่ชักนำไปทางเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเป็นเหตุชักจูงกันไปในทางเสื่อมเสียต่างๆ แต่ถ้าทิศทั้งหลายดีอยู่โดยมากก็ยากจะเสื่อมเสียได้

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 12

     การเลี้ยงดูเด็กให้เติบโต ควร ทำความเข้าใจว่ามี 2 อย่าง คือเลี้ยงร่างกาย เลี้ยงดูจิตใจ เพราะความเติบโตของเด็กทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ จะมุ่งเลี้ยงร่างกายทอดทิ้งทางจิตใจ ย่อมเป็นความบกพร่องอย่างสำคัญ ไม่ควรถือตามคำปัดว่าเลี้ยงกันได้แต่กาย ใจเลี้ยงไม่ได้ ใจที่อาจเลี้ยงไม่ได้ คือใจที่แข็งหรือเติบโตเป็นตัวของตัวเองในทางที่ถูกหรือผิดเสียแล้ว แต่จิตใจที่ยังอ่อน ยังจะเติบโตต่อไป ถ้าผู้ปกครองบำรุงเลี้ยงให้อาหารใจที่ดีอยู่เสมอแล้ว ภาวะทางจิตใจของเด็กก็จะเติบโตขึ้นในทางที่ดี ทั้งนี้เกี่ยวแก่การอบรมดี ให้เด็กได้เสวนา คือซ่องเสพคบหา คุ้นเคยกับบุคคล และสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่ชอบ ถูกต้อง เมื่อเด็กได้รับการเลี้ยงดูให้มีร่างกายจิตใจเติบโตขึ้นสมดุลกันก็จะเติบโต ดีขึ้นเรื่อยๆ

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 13

     ในการแก้ปัญหาเยาวชน บุคคลที่เป็นทิศสำคัญๆ ทุกฝ่ายของเยาชน แต่ละคนจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันตั้งตนของตนเองไว้โดยชอบ ให้เป็นทิศที่ดีตามฐานะที่เกี่ยวข้อง และอันที่จริง ไม่ใช่แต่เยาวชนเท่านั้น ทุกๆ คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อทิศต่างๆ โดยรอบตนดีอยู่ก็ย่อมจะชักนำกันไปในทางที่ดีได้ แต่มีข้อแตกต่างต่างกันอยู่ว่า สำหรับเด็กหรือเยาวชนนั้น ยังเป็นผู้เยาว์สติปัญญาจำต้องอาศัยทิศรอบตนที่ดี ซึ่งผู้ใหญ่จำต้องทำตนให้เป็นทิศของเด็ก และช่วยสร้างทิศที่ดีให้แก่เด็ก

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 14

     คนวัยรุ่น กำลังเจริญด้วยพลัง กำลังทะยานกายทะยานใจ เหมือนน้ำตกแรง เมื่อไม่สมหวัง มักจะทำอะไรแรง จึงมักพลาดได้ง่าย และเมื่อพลาดลงไปในห้วงอะไรที่แรงๆ แล้ว ก็อันตรายมาก เหมือนอย่างไปเล่นสนุกกันที่น้ำตก อาจเผลอพลาดตกลงไปกับน้ำตกที่โจนลงไปจากหน้าผาสูงชัน

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 15

     ไม่ควรเชื่อใจตนเองเกินไป เพราะอาจไม่มีเหตุผล ถ้าใจนั้นถูกบังคับหรือท่วมทับเสียแล้ว ควรหารือกับท่านผู้สามารถให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ ทั้งเมื่อสนใจในพระธรรมอยู่ พระธรรมอาจให้เหตุผลแก่ตนได้กระจ่างพร้อมทั้งชี้ทางปฏิบัติได้ถูกต้อง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 16

     ผู้ที่มีความคิดน้อย ย่อมนิยมชมชื่นในปัญญาแห่งมนุษย์ในปัจจุบัน และเหยียดดูถูกบรรพชนของตนเอง แต่ผู้ที่มีวิจารณญาณย่อมพินิจนับถือบูรพชนหรือโบราณชนเป็นอย่างดี โดยฐานะที่เป็นผู้ร่วมก่อกำเนิดศิลปวิทยาและประดิษฐ์วัตถุหรือในศิลปวิทยา นั้นๆ ได้ มนุษย์อีกคนหนึ่งไม่สามารถคิดเช่นนั้นได้ เมื่อเห็นว่าเหมาะดีแล้วก็นำเอาไปใช้ศึกษาและปฏิบัติตาม กล่าวโดยเฉพาะศิลปวิทยา หมู่หรือคณะ หรือว่าบุคคลที่บรรลุความเจริญจำต้องนับถือความรู้ของกันและกัน จำต้องศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ของกันและกัน เพราะเหตุนี้ ผู้มุ่งความเจริญจึงพากันพยายามศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศตามกำลังความ สามารถ เหล่านี้เป็นข้อแสดงถึงความเอาอย่างหรือความตามกันในความรู้ แม้ในทางความประพฤติก็เช่นเดียวกัน

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 17

     คนเราทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้อง ทำต้องพูดอยู่ทุกๆ วัน เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีสติ เมื่อทำอะไรพูดอะไรไปแล้ว ก็ระลึกได้ว่าได้ทำอะไรหรือพูดอะไรผิดหรือถูกเรียบร้อยหรือไม่เรียบร้อย เป็นต้น จะทำจะพูดอะไรก็มีความระลึกนึกคิดก่อนว่าดีหรือไม่ดี อย่างโบราณสอนให้นับสิบก่อน คือ ให้นึกให้รอบคอบก่อนนั่นเอง ในขณะที่กำลังทำกำลังพูดก็รู้ตัวอยู่เสมอ ไม่หลงลืมตัวไม่เผลอตัว บางคนมีปัญญาความรู้ดีแต่ขาดสติ ทำพูดอะไรผิดพลาดได้ อย่างที่พูดกันฉลาดแต่ไม่เฉลียว จึงสมควรหัดให้มี สติรอบคอบ

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 18

     คนที่เมา ประมาทขาดสติ ขาดสัมปชัญญะ อาจผิดศีลได้ทุกข้อ อาจทำชั่วทำผิดได้ทุกอย่าง และเมื่อประมาทเสียแล้วก็เป็นคนหลงอย่างเต็มที่ ไม่รู้จักเหตุผลความควรไม่ควร ไม่รู้จักดีชั่ว ผิดถูก จะพูดชี้แจงอะไรกับคนเมาหาได้ไม่ คนเมาประมาทจึงเป็นผู้ที่ควรเมตตากรุณาหรือสงสาร เหมือนคนตกน้ำที่ทิ้งตัวเองลงไปช่วยตัวเองก็ไม่ได้ หรือเหมือนดื่มยาพิษฆ่าตัวเอง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 19

    คนที่ถือกำเนิดเป็นคนนั้น ยังไม่จัดเป็นคนโดยสมบูรณ์ เพราะเหตุเพียงเกิดมามีรูปร่างเป็นคน ต่อเมื่อมีการปฏิบัติ ประกอบด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีสมกับความเป็นคน จึงเรียกว่าเป็น คนโดยธรรม เมื่อมีธรรมของคนสมบูรณ์ จึงจะเชื่อว่าเป็นคนโดยสมบูรณ์ แม้คำในหิโตประเทศก็กล่าวว่าการกิน การนอน ความกลัวและการสืบพันธ์ของคนและดิรัจฉานเสมอกัน แต่ธรรมของคนและดิรัจฉานเหล่านั้นแปลกกว่ากัน เว้นจากธรรมเสีย คนก็เสมอกับดิรัจฉาน

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 20

     คนเราโดยมาก มีภายนอกและภายในไม่ตรงกัน เช่นภายนอกรักษามารยาทอันดีต่อกัน แต่ภายในคิดไม่ดีต่อกัน เช่นคิดทำร้ายประหัตประหารกัน หรือบางทีภายในใจไม่มีวัฒนธรรมเลย ทั้งที่ภายนอกแสดงว่ามีวัฒนธรรมต่อกัน เป็นการตีหน้าซื่อแต่ใจคด เรื่องเช่นนี้มีมานานแล้ว จนมีคำกล่าวมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ว่า สัตว์ดิรัจฉานอ่านง่าย ส่วนมนุษย์อ่านยาก เพราะมีชั้นเชิงมากนักเหมือนอย่างป่ารกชัฏ ไม่รู้ว่าสิงสาราสัตว์ซ่อนอยู่ที่ไหนบ้าง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 21

    คนที่มุ่งประโยชน์เฉพาะตน เท่านั้น ไม่เกื้อกูลใคร เป็นจำพวกเห็นแก่ตนโดยส่วนเดียว เป็นคนคับแคบ ไม่ประพฤติการเป็นคุณประโยชน์แก่ใคร อาจเจริญด้วยประโยชน์ปัจจุบัน มีทรัพย์เฉพาะตน แต่เป็นคนไม่มีประโยชน์แก่คนอื่นหรือแก่หมู่คณะ เรียกว่าเป็นคนมีความคิดแคบสั้น เพราะหลักของการอยู่ร่วมกัน เมื่อคนอื่นพากันเป็นทุกข์เดือดร้อนจะเป็นสุขอยู่ได้อย่างไร ฉะนั้น คนฉลาดจึงมีความคิดยาวและกว้างออกไป เมื่อตนเองได้ประโยชน์มีความสุข ความเจริญ ก็ทำการที่เป็นประโยชน์แผ่ความสุขให้แก่ผู้อื่น ตามที่เกี่ยวข้องและตามสามารถ อันจะเป็นประโยชน์ในภายหน้า

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 22

      โดยปกติคนเรา ย่อมมีหมู่คณะและถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน จึงต้องมีการปลูกไมตรี ผูกมิตรไว้ในคนดีๆ ด้วยกันทั้งหลาย เมื่อมีไมตรี มีมิตรก็เชื่อว่ามีผู้สนับสนุน ทำให้ได้รับความสะดวกในกิจที่พึงทำ ผู้ขาดไมตรี ขาดมิตร ก็เท่ากับขาดผู้สนับสนุน แม้จะมีทรัพย์ มีความรู้ความสามารถ แต่ก็คับแคบเหมือนอย่างมีแต่ตนผู้เดียว ยากที่จะได้รับความสะดวกในกิจการ อย่าว่าแต่บุคคลต่อบุคคลเลย แม้แต่ประเทศต่อประเทศก็จำต้องมีไมตรีต่อกัน

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 23

     คนที่ฉลาด ย่อมมีความคิดยาวออกไปถึงกาลข้างหน้า ทำในสิ่งที่ให้ประโยชน์สำหรับเด็กๆ โดยปกติ ย่อมมีอนาคตของชีวิตอยู่อีกมาก การศึกษาเล่าเรียนในบัดนี้ก็เพื่อสร้างอนาคตของชีวิตให้มีความสุขความเจริญ ถ้าทุกคนไม่มีอนาคตภายหน้า ก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาเล่าเรียน แต่เพราะทุกคนต่างมีอนาคตจึงต้องพากันศึกษาเล่าเรียนและทำให้กิจการต่างๆ เพื่อมีความสุขความเจริญในอนาคต

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 24

     คนหนึ่งๆ มีหน้าที่หลายอย่าง เมื่อเรารู้จักหน้าที่ของตนดีอยู่และปฏิบัติให้เหมาะแก่หน้าที่ ก็จะรักษาไว้ได้ ทั้งบ้าน ทั้งเมือง ทั้งศาสนา ทั้งตนเอง ทั้งผู้อื่น สามารถรักษาปกติภาพซึ่งเป็นศีลตามวัตถุประสงค์และรักษาปกติสุขซึ่งเป็น อานิสงส์ของศีล โดยสรุป ศีลนี้แหละเป็นมนุษยธรรม เพราะทำให้ผู้มีศีลได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์โดยธรรม คิดดูว่าคนไม่มีหิริโอตัปปะ ไม่รู้จักผิดชอบ ประพฤติต่ำทราม จะควรเรียกว่ามนุษย์ได้อย่างไร

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 25

    ไม่ควรมองออกไปแต่ภายนอก แต่ ควรมองเข้ามาดูภายในด้วย คือภายในครอบครัว เพราะเด็กต้องจำเจอยู่ในครอบครัว จึงเสวนากับบุคคลและสิ่งแวดล้อมในครอบครัวเป็นส่วนมาก ถ้ามีพี่เลี้ยงก็ควรเลือกพี่เลี้ยงที่ดี โดยเฉพาะพวกผู้ใหญ่ของเด็ก เช่น บิดามารดาต้องประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีของเด็ก เด็กย่อมเฝ้าผูกปัญหาสงสัยและคิดแก้ปัญหาในบุคคลและสิ่งรอบๆ ตัวอยู่เสมอ และคอยลอกเลียนดำเนินตามสิ่งที่ตนได้เห็นและผู้ใหญ่นั่นเองเป็นตัวอย่าง เมื่อประสงค์จะให้เด็กดีจึงจำต้องทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็กด้วย

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 26

    คนโดยมาก มักเข้าใจผิดในผลของความดี คือมักไปเข้าใจผลพลอยได้ว่าเป็นผลโดยตรง และมักมุ่งผลพลอยได้เป็นสำคัญ เมื่อไม่ได้ผลเป็นวัตถุจากการทำความดีก็จะบ่นว่าทำดีไม่เห็นจะได้อะไร รักษาศีลไม่เห็นร่ำรวยอะไร เป็นเพราะไม่เข้าใจว่า ผลของความดีคืออะไร ผลของความดี คือความหลุดพ้น
ผู้ทำความดี ย่อมแสดงถึงว่าเป็นผู้ที่มีจิตหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว มีจิตกว้างขวางออกไปโดยลำดับและเห็นว่าการให้สำคัญกว่าการรับ และย่อมบำเพ็ญความดีเพื่อความดี มิใช่เพื่อผลตอบแทนใดๆ เป็นสำคัญ

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 27

      ผู้ให้อภัยง่าย ก็คือ ไม่โกรธง่ายนั่นเอง ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาจะฝึกจิตให้ไม่โกรธง่าย จึงควรต้องฝึกตนให้เป็นผู้มีเหตุผล เคารพเหตุผล นั่นคือให้คิดหาเหตุผลเพื่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ตนอยากจะโกรธ เมื่อเห็นอกเห็นใจด้วยเหตุผลแล้วจะได้ไม่โกรธ จะได้อภัยให้ในความผิดพลาดหรือบกพร่องของเขา กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้คิดหาเหตุผลเพื่อให้เกิดเมตตาในผู้ที่ตนอยากจะโกรธนั่นเอง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 28  คนดี

    อันคนที่ทำงานที่เป็นคุณให้ เกิดประโยชน์ย่อมจะต้องประสบถ้อยคำถากถาง หรือการขัดขวางน้อยหรือมาก ผู้มีใจอ่อนแอก็จะเกิดความย่อท้อ ไม่อยากจะทำดีต่อไป แต่ผู้ที่มีกำลังใจย่อมจะไม่ท้อถอย ยิ่งถูกค่อนแคะก็ยิ่งจะเกิดกำลังใจมากขึ้น คำค่อนแคะกลายเป็นพาหนะที่มีเดชะแห่งการทำความดี แม้พระพุทธเจ้าก็ยังถูกคนที่ริษยามุ่งร้ายจ้างคนให้ตามด่าว่าในบางครั้ง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 29

     การที่จะให้ใครช่วยเหลือทำอะไร ต้องเลือกคนที่มีปัญญา ที่รู้จักผิดถูก ควรไม่ควร มิใช่ว่าถ้าเขามุ่งดีปรารถนาดีแล้ว เป็นมอบการงานให้ทำเรื่อยไป เพราะถ้าเป็นคนขาดปัญญา แม้จะทำด้วยความตั้งใจช่วยจริง แต่ก็อาจจะทำการที่เป็นโทษแม้อย่างอุกฤษฏ์ก็ได้

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 30

    คนเรานั้น นอกจากจะมีปัญญาแล้ว ยังต้องมีความคิดอีกด้วย จึงจะเอาตัวรอดได้จากอันตรายต่างๆ ในโลก วิสัยของบัณฑิตคือคนที่ฉลาดนั้น ย่อมไม่ยอมแพ้หรืออับจนต่อเหตุการณ์ทั้งหลายที่รัดรึงเข้ามา ย่อมใช้ความคิดคลี่คลายเอาตัวรอดปลอดภัยให้จงได้ และเป็นธรรมดาอยู่ที่คนฉลาดกว่า ย่อมเอาชนะคนที่ฉลาดน้อยกว่าได้

คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 31

     คนโง่นั้น เมื่อยังยอมอาศัยปัญญาของคนฉลาดอยู่ ก็ยังพอรักษาตนอยู่ได้ แต่เมื่อโง่เกิดอวดฉลาดขึ้นมาเมื่อใด ก็เกิดวิบัติเมื่อนั้น และเมื่อถึงคราวคับขันซึ่งจะต้องแสดงวิชาเอง คนโง่ก็จะต้องแสดงโง่ออกมาจนได้ ฉะนั้น ถึงอย่างไรก็สู้หาวิชาใส่ตนให้เป็นคนฉลาด ขึ้นเองไม่ได้ ทั้งคนดีมีวิชาถึงจะมีรูปร่างไม่ดี ก็จะต้องได้ดีในที่สุด

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 32

   คนที่อ่อนแอ ย่อมแพ้อุปสรรคง่ายๆ ส่วนคนที่เข้มแข็งย่อมไม่ยอมแพ้ เมื่อพบอุปสรรคก็แก้ไขไปรักษาการงานหรือสิ่งมุ่งจะทำไว้ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น ถืออุปสรรคเหมือนอย่างสัญญาณไฟแดงที่จะต้องพบเป็นระยะ ถ้ากลัวจะต้องพบสัญญาณไฟแดงตามถนนซึ่งจะต้องหยุดรถ ก็จะไปข้างไหนไม่ได้ แม้การดำเนินชีวิตก็ฉันนั้น ถ้ากลัวจะต้องพบอุปสรรค ก็ทำอะไรไม่ได้

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 33

     ธรรมดาผู้เป็นปุถุชน ความปรารถนาต้องการย่อมบังเกิดขึ้นได้เสมอ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องก็คือ เมื่อความปรารถนาต้องการเกิดขึ้นเมื่อใด ให้ทำสติพิจารณาใจตนเองอย่างผู้มีปัญญา อย่าคิดเอาเองว่าใจเป็นอย่างไร จะต้องพบความจริงแน่นอนว่า ใจเป็นทุกข์ ใจเร่าร้อน ด้วยอำนาจความปรารถนาต้องการที่เกิดขึ้นนั้น ใจจะไม่สงบเย็นด้วยอำนาจความปรารถนาต้องการที่เกิดขึ้นโดยเด็ดขาด

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 34

     วิธีดับความปรารถนาต้องการ ก็คือ หัดเป็นผู้ให้บ่อยๆ ให้เสมอๆ การให้กับการดับความปรารถนาต้องการ จะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ ถ้าการให้นั้นเป็นการให้เพื่อลดกิเลสคือความโลภในใจตน มิได้เป็นการให้เพื่อหวังผลตอบแทนที่ยิ่งกว่า

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 35

     มีคนไม่ใช่น้อยที่เรียนรู้มากมาย อะไรดีอะไรชั่ว รู้ทั้งนั้น แต่ไม่ทำดี หรือทำก็ทำสิ่งไม่ดี เรียกว่า ใช้ความรู้นั้นช่วยตนเองไม่ได้ ก็เพราะขาดความเคารพในธรรมที่รู้ คือไม่ปฏิบัติให้สมควรแก่ ความรู้นั่นเอง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 36

     พระพุทธศาสนา สอนให้คนเข้าใจในกรรมนั้นไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรมหรืออยู่ไต้อำนาจกรรม แต่สอนให้ รู้จักกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน กรรมคือการอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกวันทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือ ความจงใจ

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 37

     ทุกคนในโลกต่างต้องถ้อยทีต้องพึ่งอาศัยกันในทางใดทางหนึ่งทั้งนั้น จึงควรปฏิบัติตน ในทางที่จะชื่อว่ารักษาไว้ทั้งตนทั้งผู้อื่น คือด้วยวิธีที่แต่ละคนตั้งใจปฏิบัติกรณียะคือกิจของตน ควรทำ หน้าที่เป็นตนให้ดีและด้วยความมีน้ำใจที่อดทนไม่คิดเบียดเบียนใคร มีจิตเมตตา มีเอ็นดูอนุเคราะห์ เมื่อตั้งใจปฏิบ้ติกรณียะ กอปรด้วยน้ำใจดังกล่าว ก็ชื่อว่ารักษาทั้งตนทั้งผู้อื่นเป็นผู้รักษาไว้ได้ทั้งหมด

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 38

    หน้าที่ของคนเรา ที่จะพึงปฏิบัติต่อชีวิตร่างกาย คือบริหารรักษาให้ปราศจากโรค ให้มีสมรรถภาพและรีบประกอบประโยชน์ให้ เป็นชีวิตดี ชีวิตที่อุดม ไม่ให้เป็นชีวิตชั่ว ชีวิตเปล่าประโยชน์ (โมฆชีวิต)และในขณะเดียวกัน ก็ให้กำหนดรู้คติธรรมดาของชีวิต เพื่อ ความไม่ประมาท พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้ทำลายชีวิตร่างกาย ถ้าจะเกิดความอยาก ความโกรธ ความเกลียด ในอันที่จะทำลายชีวิต ร่างกายก็ให้ทำลายความอยาก ความโกรธความเกลียดนั้นเสีย

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 39

     คนที่มีบุญนั้น บุญย่อมคอยจ้องที่จะเข้าช่วยอยู่แล้ว เพียงแต่เปิดโอกาสให้เข้าช่วย คือเปิดใจรับนั่นเอง การเปิดใจรับก็คือเปิด อารมณ์ที่หุ้มห่อออกเสียแม้ชั่วขณะหนึ่ง ด้วยสติที่กำหนดทำใจตามวิธีของพระพุทธเจ้า เมื่อบุญได้โอกาสพรั่งพรูเข้ามาถึงใจ หรือ โผล่ขึ้นมาได้แล้ว จิตใจจะกลับมีความสุข อย่างยิ่ง อารมณ์ทั้งหลายที่เคยเห็นว่าดีหรือร้าย ก็จะกลับเป็นเรื่องธรรมดาโลก

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 40

     คนที่ทำดีไม่น้อย เป็นทุกข์เพราะการทำดีของตน ที่ไม่กล้าที่จะทำดีก็มี แต่คนทำดีที่ยังเป็นทุกข์ดังกล่าว ก็เพราะยังทำไม่ถึง ความดีแห่งจิตใจของตนเอง จิตใจจึงทำไม่ถึงความดีแห่งจิตใจของตนเองจิตใจจึงยังมีความยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ที่มากระทบ จากคนทั้งหลาย หากได้เล็งเห็นว่าเรื่องของคนทั้งหลายนั้นเป็นเรื่องของโลก ถ้าตนเองมีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหว ก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ เพราะเรื่องของคนอื่นการปฏิบัติทำจิตใจของตนให้มั่นคงดังนี้ เป็นการสร้างความดีให้แก่จิตใจ เป็นตัวความดีที่เป็นแก่นแท้ ของความดีทั้งหลาย ซึ่งจะป้องกันความทุกข์กระทบกระเทือนใจได้ทุกอย่าง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 41

     ความดีนั้น เกิดจากกรรม (การงาน) ที่ดี ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ความว่า คนเป็นคนดีเพราะกรรมเป็นคนถ่อยก็เพราะกรรม ฉะนั้น เมื่อละเลิกกรรมที่ชั่วผิด ทำกรรมที่ดีที่ชอบ ก็ได้เป็นคนดีแล้ว แต่คนที่ทำกรรมชั่วผิด แม้จะได้รับบัญญัติ (แต่งตั้ง) ว่าดีอย่างไร ก็หาชื่อว่าเป็นคนดีไม่ ผู้ที่รู้และค้านเป็นคนแรกก็คือตนนั่นเอง เว้น ไว้แต่จะมีตาใจบอดไปเสียแล้ว ด้วยความหลงตนไปอย่างยิ่งนั้นแหละ จึงจะไม่รู้

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 42

   อันความดีนั้นย่อมเป็นอาภรณ์ เป็นอิสริยยศ (ยศคือความเป็นใหญ่) ของคนดี เพราะคนดี ย่อมเห็นความดีนี้แหละเป็นยศอันยิ่งใหญ่ และย่อมพอใจประดับความดีเป็นอาภรณ์ จึงกล่าวได้ว่าความ ดีนั้นเป็นอิสริยาภรณ์ของคนดี

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 43

     กรรม แปลว่า กิจที่คนกระทำ คำว่า ทำ หมายถึงทั้งทำด้วยกาย อันเรียกว่ากายกรรม ทั้งด้วย วาจาคือพูด อันเรียกว่าวจีกรรม ทั้งด้วยใจคือคิด อันเรียกว่ามโนกรรม บางทีเมื่อพูดกันว่าทำก็หมายถึง ทำทางกายเท่านั้น ส่วนทางวาจาเรียกว่าพูด ทางใจเรียกว่าคิด แต่เรียกรวมได้ว่าเป็นการกระทำทุกอย่าง เพราะจะพูดก็ต้องทำคือทำการพูด จะคิดก็ต้องทำคือทำการคิด จึงควรเข้าใจว่าคำว่าทำใช้ได้ทุกทาง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 44

     ความเชื่อกรรม ถ้าเชื่อให้ถูกทาง ก็จะแก้ความเชื่อโชคลางต่างๆ ได้เป็นอันมาก และสำหรับ คนเรามีปัญญาสร้างกรรมใหม่ๆ ขึ้นได้ดีๆ มีพระธรรมของพระพุทธเจ้าปฏิบัติรักษาอยู่ ก็เป็นผู้มีสรณะ กำจัดทุกข์ภัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 45

     ทางพระพุทธศาสนาสอนให้ทุกๆ คนพิจารณาให้ทราบหลักกรรมเนืองๆ เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาทพยายามละกรรมชั่ว ประกอบแต่ กรรมดี เพราะทุกๆ คนสามารถละกรรมที่ชั่ว ประกอบแต่กรรมที่ดีได้การที่ยังปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้ ก็เพราะยังประมาท มิได้พิจารณา ให้รู้ตระหนักในหลักกรรม และไม่เชื่อกรรมไม่เชื่อผลของกรรม ไม่เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ต่อเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท และมีศรัทธา ความเชื่อดังกล่าวจึงจะละกรรมชั่ว ทำกรรมดีได้ตามสมควร

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 46

     ทุกๆ คนทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมให้ผลในปัจจุบันบ้าง ในภายหน้าบ้าง ในเวลาต่อๆ ไปบ้างตามแต่กรรมนั้นๆ จะหนักเบาอย่าง ไร ท่านเปรียบเหมือนอย่างยืนอยู่บนที่สูงและโยนสิ่งต่างๆ มีก้อนหิน ก้อนดิน กิ่งไม้ ใบหญ้าลงมา ของที่มีน้ำหนักมากย่อมตกลงสู่ พื้นดินก่อน ส่วนกรรมที่หนักน้อยกว่าหรือเบากว่าจะให้ผลตามหลัง

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 47

     คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าจะต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่ว แน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน เป็นต้น อันเป็นส่วนจิต และศีลอันหมายถึงตั้งเจตนา เว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ ควรทำในขอบเขตอันควร

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 48

    ผู้ที่ทำกรรมดีอยู่มากเสมอๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีตหากจะมี กุศลของตนก็จะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบต่อไป และถ้าได้แผ่เมตตาจิตอยู่เนืองๆ ก็จะระงับคู่เวรอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 49

     ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อกรรมของตนเองจะป้ายไปให้คนอื่นไม่ได้ คนทำดีจะเป็น เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตามก็เป็นคนดี เพราะกรรมของตน ใครจะรู้หรือชื่นชมหรือไม่ก็ตาม ตัวผู้ทำรู้สึกตัวเอง ว่าทำดี คนที่ทำไม่ดี เช่น ประพฤติตนเกะกะระรานเป็นคนหัวขโมย ก็เป็นคนชั่วเพราะกรรมของตน ใครจะรู้หรือไม่ก็ตาม ตัวผู้ทำเองก็รู้สึกว่าตัวทำชั่ว อาจจะป้ายความผิดให้ผู้อื่นด้วยการหลอกให้คนอื่น เข้าใจผิด แต่จะหลอกตัวเองไม่ได้ ตัวเองย่อมรู้สึกย่อมรู้สึกสำนึกตัวเองอย่างเต็มที่ ฉะนั้น เมื่อทำดี ทำชั่วแล้ว จึงปัดดีปัดชั่วออกไปให้พ้นตัวเองไม่ได้ เพราะรู้สึกตัวเองอยู่ทางจิคของตน ใครจะแย่งดี ไปจะใส่ชั่วให้ก็ไม่ได้นอกจากจะหลอกให้คนอื่นเข้าใจผิดเท่านั้น

คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 50

     พระพุทธศาสนาแสดงเรื่องกรรมไว้ เพื่อให้รู้ว่า กรรมเป็นเหตุวิบาก คือผลตั้งแต่ถือ กำเนิดเกิดมาและติดตามให้ผลต่างๆ ต่อชีวิต ทำนองลิขิตนั่นแหละแต่กระบวนของกรรมที่ทำไว้มี สลับซับซ้อนมาก ทั้งเกี่ยวกับเวลาที่กรรมให้ผล และข้อสำคัญที่สุดคือเกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติ ของแต่ละบุคคลในปัจจุบัน คือทางพระพุทธศาสนาสอนให้ไม่เป็นทาสของกรรมเก่า เช่น เดียวกับให้ไม่ เป็นทาสของตัณหา แต่ให้ละกรรมชั่วกระทำกรรมดี และชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์สะอาด ตามหลัก พระโอวาท ๓ หรือกล่าวโดยทั่วไป มีกิจอะไรก็ตามควรทำก็ทำ โดยไม่ต้องนั่งรอนอนรอผลของกรรม เก่าอะไร

คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 51

     คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้ แสดงว่าคนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกข์เพราะกรรม ผู้คนเลยหันมากลัวกรรม กรรมจึงคล้ายเป็น ผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว พระพุทธศาสนาไม่ได้สอน ให้คนกลัวกรรม ไม่ได้สอนให้ตกเป็นทาสของกรรมหรืออยู่ใต้อำนาจของกรรมแต่สอนให้รู้จั


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์