มรรค (กวีนิพนธ์)

มรรค (กวีนิพนธ์)


เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่ สัตว์นั้นสัตว์นั้นได้ กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน

ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้

เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้น ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว

ผู้ใด ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้

เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตราย ย่อมย่ำยี นรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น

โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัดบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น

ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาปวิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้ว ผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น

เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคล วิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น

นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ(กาย) เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็ หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายใน โลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย

สัตว์เหล่านั้นปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้ ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ

ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ

ธีรชนพึงจำกัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์

ทิฏฐิ ที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะ ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า

หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ(ปัญญา)ไซร้ นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์